221 ปีปฏิวัติฝรั่งเศส บทเรียนสำหรับไทย
'เกิดขบถขึ้นรึ?'พระเจ้าหลุยส์ที่16ทรงถาม...'หามิได้พระเจ้าค่ะ มันคือการปฏิวัติ'มหาดเล็กตอบ
โดย Pegasusสรุป แล้วการปฏิวัติฝรั่งเศสตั้งแต่ ๑๗๘๙-๑๘๗๕ ใช้เวลาทำให้ประชาชนตัดสินใจได้ในการยกเลิกระบอบกษัตริย์โดยสิ้นเชิงใช้เวลา ทั้งหมด ๘๖ ปี และการล่มสลายของระบอบกษัตริย์ในฝรั่งเศส เกิดจากกลุ่มนิยมสถาบันกษัตริย์อย่างบ้าคลั่งที่แอบอิง และอาศัยประโยชน์จากสถาบันพระมหากษัตริย์นั่นเอง ไม่ใช่จากประชาชนหรือใครอื่นใดเลย ..ที่สำคัญคือเหตุการณ์ต่างๆช่างคล้ายคลึงกับประเทศไทยในปัจจุบัน
*หมายเหตุผู้เขียน:ที่ มาของเนื้อหาได้มาจากหลายแหล่ง ขออภัยที่ไม่สามารถระบุได้ครบถ้วนในคราวนี้ เป็นเพียงต้องการลำดับเรื่องเพื่อความเข้าใจในภาพสำคัญในการปฏิวัติฝรั่งเศส ที่อาจมีเหตุการณ์เกิดขึ้นในประเทศไทยคล้ายคลึงกัน เนื่องจากสถานการณ์ต่างๆได้พัฒนาไปในแนวทางเดียวกัน เพียงแต่ตัวละครจะเปลี่ยนจากระบอบกษัตริย์ เป็นระบอบอำมาตย์เท่านั้น จะเหมือนหรือแตกต่างอย่างไรอยู่ที่ท่านผู้อ่านแต่ละท่านจะนำไปคิดไตร่ตรอง ต่อไป ประการสำคัญคือเมื่อประชาชนเหลืออด การนำด้วยกลุ่มหัวรุนแรงจะเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แม้แต่ฝ่ายเป็นกลางก็จะถูกขจัดไปในที่สุด การหลีกเลี่ยงเหตุการณ์นี้คงอยู่ที่ฝ่ายอำมาตย์เท่านั้นที่หากมีโอกาสอ่าน เอกสารนี้ขอให้คิดใหม่ และยุติปัญหาต่างๆเสียเมื่อยังทำได้
การปฏิวัติฝรั่งเศส ค.ศ. 1789 มีผลต่อยุโรปโดยรวมอย่างมาก เพราะฝรั่งเศสเป็นประเทศมหาอำนาจของยุโรปในขณะนั้น (การปฏิวัติฝรั่งเศสแสดงให้เห็นว่ามนุษย์พร้อมที่จะกำหนดชะตาชีวิตและแสวงหา ความสุขของตนเองได้ด้วยการได้มาซึ่งเสรีภาพ และด้วยเสรีภาพนี้เองมนุษย์จะสร้างชุมชนที่อยู่ด้วยกันได้โดยสงบสุข สันติและเจริญรุ่งเรืองโดยไม่ต้องพึ่งพาอำนาจพิเศษจากสวรรค์หรือตัวแทนจาก สวรรค์ใดๆ...Pegasus)
พระเจ้าหลุยส์ที่16
สาเหตุของการปฏิวัติ
1. สถานการณ์ทางเศรษฐกิจ การที่ฝรั่งเศสพัวพันกับการทำสงครามหลายครั้งตั้งแต่พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 มาจนกระทั่งถึงสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 ก็แพ้สงคราม 7 ปีกับอังกฤษในอเมริกา และต่อมาสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ก็ส่งกองทัพไปแก้แค้นอังกฤษด้วยการส่งกองทัพไปช่วยชาวอเมริกันประกาศอิสรภาพ แต่ก็ทำให้เป็นหนี้จำนวนมหาศาล
ฝรั่งเศสกู้เงินเป็นจำนวนมากมาช่วย ชาวอาณานิคมอเมริกันทำสงครามต่อต้านอังกฤษ ทำให้ประชาชนชาวฝรั่งเศสมีแต่ความยากจนและหิวโหยไปทั่ว ในขณะที่จำนวนประชากรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่วนพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ไม่รู้สึกพระองค์ว่าพร้อมในการปกครองแม้ว่าจะได้รับการศึกษามาอย่างดีเนื่อง จากมีพระชนม์เพียง 20 ชันษา(ดูการกู้เงิน การล้มละลายของระบบเศรษฐกิจ และ ความไร้เดียงสาของผู้บริหารประเทศแล้วคล้ายคลึงกัน...Pegasus)
พระนางมารีอังตัวเน็ตต์
2. สถานการณ์ทางสังคมและการเมือง ใน ปีหนึ่งเกิดการเสียหายในผลผลิตทางการเกษตรทำให้เกิดการขาดแคลนอาหารโดยเฉพาะ อย่างยิ่งขนมปังที่เป็นอาหารหลักของชาวฝรั่งเศส ในขณะที่ในพระราชวังยังคงมีความหรูหราฟุ่มเฟือยกันอยู่
จนมีผู้ เสนอฎีกากล่าวหาว่า ความฟุ่มเฟือยของราชสำนักเป็นสาเหตุของความยากจนของประชาชนโดยมีการกล่าวว่า อาหารในวังเพียงหนึ่งวันก็สามารถเลี้ยงประชาชนได้เป็นพันคน
โรแบสปิแอร์
ผู้อยู่เบื้องหลังฎีกาฉบับนี้คือ แมกซิมิลเลียน โรแบสปิแอร์ ซึ่งจะมีบทบาทสำคัญในการปฏิวัติฝรั่งเศสต่อไป
ส่วน พระเจ้าหลุยส์ฯได้รับคำแนะนำที่ผิดให้สร้างฐานะความเข้มแข็งของฝรั่งเศสด้วย การขึ้นภาษีกับฐานันดรที่ 3 ได้แก่ประชาชนโดยที่ ฐานันดรอื่นไม่ได้รับผลกระทบอะไรเลย
นอกจากความโกรธแค้นนี้แล้ว ธรรมชาติก็ได้ลงโทษชาวฝรั่งเศสเหมือนจะเร่งให้เกิดการปฏิวัติเร็วขึ้นด้วย การทำให้เกิดฤดูหนาวยาวนานผิดปกติตามมาเป็นเหมือนเหตุร้ายต่อประเทศฝรั่งเศส
ต่อมาฤดูร้อน ค.ศ.1788 เกิดความแห้งแล้งขาดแคลนอาหารมากขึ้นอีก ขนมปังจึงมีราคาสูงขึ้นทำให้เกิดการกักตุนอาหาร คนต้องใช้รายได้ทั้งเดือนมาหาซื้อขนมปังในวันเดียว ทำให้เกิดจลาจลขึ้นทั่วไปเพื่อปล้นขนมปัง
ด้วยความจำเป็นฝรั่งเศสจึงได้จ้างรัฐมนตรีการคลังที่มีความสามารถมาบริหารกระทรวงการคลังชื่อว่าจ้าค เนกเกอร์
ตลอด ปี 1789 เนกเกอร์กล่าวว่าเป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะต้องหาขนมปังและข้าวสาลีมาให้ ประชาชนให้เพียงพอ ดังนั้นจึงได้เสนอให้มีการเรียกประชุมสภาฐานันดรเป็นครั้งแรกในรอบ 175 ปี ในวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 1789 ณ พระราชวังแวร์ซายส์
เนกเกอร์เสนอ ให้เก็บภาษีที่ดินจากพลเมืองทุกคน แต่ถูกฐานันดรที่ 1(พระ) และฐานันดรที่ 2 (ขุนนางทั่วไป) ต่อต้าน ฐานันดรที่ 3 (ประชาชนทั่วไปร้อยละ97 แต่มีจำนวนสมาชิกเพียงหนึ่งในสาม) จึงเรียกร้องให้เพิ่มจำนวนผู้แทนของตนขึ้นอีกเท่าตัวเพื่อจะได้มีจำนวนเท่า กับผู้แทนฐานันดรที่ 1 และ 2 รวมกัน
ในครั้งนั้นโรแบสปิแอร์ได้นำ เหล่าฐานันดรที่ 3 เรียกร้องให้พระและขุนนางจ่ายภาษี พระเจ้าหลุยส์ฯรู้สึกว่าถูกคุกคามจากฐานันดรที่ 3หัวรุนแรง
สภา ฐานันดรแห่งชาติเปิดประชุมในวันที่ 5 พฤษภาคม ค.ศ. 1789 แต่ละฐานันดรถูกจัดให้แยกกันประชุม ฐานันดรที่ 3 เรียกร้องให้เปิดประชุมร่วมกัน แต่พอไปถึงพบประตูปิด เลยออกไปประกาศตนเป็นสมัชชาแห่งชาติ
ในวันที่ 20 มิ.ย. สมัชชาแห่งชาติได้จัดประชุมขึ้นบริเวณสนามเทนนิส (ที่จริงเป็นสนามแฮนด์บอลล์) ของพระราชวังแวร์ซายส์ และเรียกร้องว่าจะไม่หยุดประชุมกันจนกว่าจะได้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และประกาศตัวเองว่าเป็นตัวแทนของประชาชนฝรั่งเศสที่แท้จริงและเริ่มเห็น โอกาสที่จะท้าทายกษัตริย์ฝรั่งเศสได้แล้วในขณะนั้น แม้ว่าความเป็นจริงจะไม่ง่ายอย่างนั้น
เพราะในที่สุดตัวแทนเหล่านี้ก็ถูกทหารปราบปรามและกำจัดในที่สุด(ปัญหา ความอดอยาก การตกงาน ความแตกต่างทางชนชั้น หรือการครองชีพได้ปรากฏชัดขึ้นทุกขณะในสังคมไทย ฝ่ายที่มีเส้นครอบครองเศรษฐกิจสำคัญๆและผูกขาดไว้จำนวนมากอย่างไม่น่าเชื่อ ในขณะเดียวกันก็ทำให้ประชาชนยากจน เจ็บป่วยและพอใจให้ไร้การศึกษาเพื่อให้ยอมอยู่ใต้การปกครองตลอดไป ...Pegasus)
ดันตอง
3. พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 มีความผิดปกติทางสรีระบางประการทำให้ไม่สามารถมีเพศสัมพันธ์กับพระนางมารี อังตัวเนตได้ ก่อ ให้เกิดข่าวลือและการเหยียดหยามตลอดจนการว่าร้ายความฟอนเฟะในราชสำนักอย่าง แพร่หลาย แม้ว่าในภายหลังพระเจ้าหลุยส์ฯจะทรงได้รับการรักษาและทรงมีรัชทายาทได้แต่ ความเสียหายได้กระจายไปจนทั่วแล้ว(ระบอบอำมาตย์ของไทยและบริวารทั้งที่เป็นข้าราชการและนักการเมืองก็มีเรื่องให้เป็นข่าวลือมากมายสุดที่จะบรรยาย...Pegasus)
4. ความแพร่หลายของความคิดใหม่ในศตวรรษที่ 18 ที่ถือกันว่าเป็นยุคแห่งความรอบรู้และเหตุผล ซึ่งกระแสความคิดเช่นนี้เองท้าทายความเชื่อเดิมเรื่องอำนาจของศาสนจักรและกษัตริย์
จิต ใจของประชาชนเอนเอียงออกจากฐานันดรของฝ่ายปกครองมากขึ้นเรื่อยๆ ระบบคิดทางวิทยาศาสตร์ให้ความสำคัญกับการค้นคว้าหาเหตุผลด้วยตัวเองและไม่ เชื่อในสิ่งที่ผู้อื่นบอกเล่าเสมอไป
ประเพณีเดิมที่ส่งเสริมให้ เชื่อศาสนจักรและกษัตริย์จึงเริ่มถูกท้าทายขึ้นเรื่อยๆในความคิดของคนทั่วไป สิ่งนี้ถือได้ว่าเป็นการปฏิวัติที่เริ่มต้นจากความคิดนั่นเอง
การ ที่ทุกคนมีเหตุผลได้ การเรียกร้องความเท่าเทียมกัน การไม่เชื่อ ไม่นับถือสถานะพิเศษใดๆ จึงเกิดขึ้นอย่างกว้างขวางก่อนที่จะเกิดการปฏิวัติขึ้นจริงๆ และกลายเป็นอันตรายต่ออภิสิทธิชนในที่สุด
เพราะประชาชนเชื่อเสียแล้วว่ามนุษย์เกิดมาไม่แตกต่างกัน แนวความคิดของวอลแตร์ มองเตสกิเออร์ และสงครามประกาศอิสรภาพอเมริกันซึ่งอยู่ในสมัยปลายกรุงศรีอยุธยา กระตุ้นให้ชาวยุโรปตื่นตัวในเรื่องเสรีภาพ มาควิส เดอ ลา ฟาแยตต์นำความนิยมในระบอบประชาธิปไตยจากการประกาศอิสรภาพอเมริกันมาเผยแพร่
มองเตสกิเออร์
{ มองเตสกิเออร์(1689-1755) เจ้า ของแนวคิด การแบ่งและคานอำนาจระหว่าง นิติบัญญัติ บริหารและตุลาการ เพื่อมิให้ฝ่ายใดมีอำนาจกดขี่ได้ อำนาจทั้งสามไม่ควรอยู่ในมือคนๆเดียวหรือคณะเดียวแต่เป็นการถ่วงดุลระหว่าง กษัตริย์ ขุนนางและประชาชนโดย มองเตสกิเออร์เห็นว่าขุนนางควรมีอำนาจออกและยับยั้งกฎหมายร่วมกับสภาจาก ประชาชน รวมถึงการกำหนดงบประมาณแต่ไม่ควรเข้ามาทำงานด้านอำนาจบริหาร ส่วนกษัตริย์ไม่มีอำนาจออกกฎหมายมีแต่อำนาจยับยั้ง แต่สภาก็ยังตรวจสอบได้ว่าการใช้อำนาจบริหารเป็นอย่างไร กล่าวหาและเอาผิดที่ปรึกษาของกษัตริย์และเสนาบดีในฐานะฝ่ายบริหารแทน กษัตริย์ได้(แนวคิดนี้สหรัฐอเมริกาได้นำไปใช้มากเรียกว่าระบบถ่วงดุลอำนาจ...Pegasus)
ใน ส่วนของเสรีภาพนั้นเห็นว่าเสรีภาพคือการที่จะทำในสิ่งที่ต้องการและไม่ บังคับให้กระทำในสิ่งที่ไม่ต้องการ จะต้องมีกฎหมายมาเป็นคนกลางกำหนดว่า ประชาชนควรทำหรือไม่ควรทำอะไร เพื่อมิให้เสรีภาพของคนหนึ่งไปรบกวนเสรีภาพของคนอื่น และระบบกฎหมายนี้จะไม่เกิดกับระบอบทรราชที่ใช้กำลังอำนาจทำให้ประชาชนหวาด กลัว(แนวคิดนี้สหรัฐอเมริกาและบางประเทศในยุโรปถือว่า มนุษย์มีเสรีภาพจะทำอะไรก็ได้ ตราบเท่าที่ไม่ไปรบกวนเสรีภาพของผู้อื่น รัฐจะเข้ามายุ่งกับประชาชนให้น้อยที่สุดเท่าที่จำเป็น...Pegasus)
วอลแตร์
วอลแตร์ (1694-1778) เป็นนักเหตุผลนิยม และใช้วิทยาศาสตร์ในการวิจารณ์ประวัติศาสตร์ ชักชวนให้ประชาชนใช้หลักเหตุผลในการวิเคราะห์สิ่งต่างๆดังตัวอย่าง จดหมายจากอังกฤษ ดังนี้ จดหมายจากอังกฤษ (หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า จดหมายปรัชญา) ซึ่งเป็นผลงานชิ้นแรกที่สร้างชื่อให้วอลแตร์นั้น เขียนในรูปจดหมายสมมุติ ๒๕ ฉบับ เนื้อหาเล่าถึงสังคมอังกฤษผ่านสายตาของผู้เขียน โดยที่วอลแตร์ใช้สังคมดังกล่าว เป็นเครื่องกระตุ้นให้ผู้อ่านคิดเปรียบเทียบกับสังคมฝรั่งเศส จึงเป็นธรรมดาที่ดินแดนอังกฤษ ตามบทพรรณนาในจดหมาย จะเลอเลิศไปด้วยเสรีภาพในการนับถือศาสนา ความสมดุลของอำนาจทางการเมือง สภาพปลอดอภิสิทธิในที่ดิน ความเสมอภาคในการเสียภาษี ฯลฯ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนตรงกันข้ามกับสภาวะที่เป็นอยู่ในฝรั่งเศส (และแน่นอนว่า ผู้เขียนจดหมายย่อมมองข้ามข้อบกพร่องทั้งหลาย ของสังคมอังกฤษ เพื่อขับเน้นแต่ด้านที่เป็นอุดมคติ) วอลแตร์ได้สอดแทรกการโจมตีการเอารัดเอาเปรียบประชาชน ในระบอบศักดินาเอาไว้ไม่น้อย เราลองมาฟังตัวอย่างคารมของเขาดังต่อไปนี้
"สามัญชนอันเป็นคนจำนวนมากที่สุด มีคุณธรรมที่สุด และควรแก่การเคารพยกย่องที่สุด อันประกอบไปด้วยผู้ศึกษากฎหมาย และวิทยาศาสตร์ พ่อค้า ช่างฝีมือ และชาวนา ผู้ประกอบอาชีพอันสูงส่งแต่ไร้เกียรติ สามัญชนเหล่านี้ เคยได้รับการเหยียดหยามจากเจ้า และพระราวกับว่าเป็นสัตว์ (...) ต้องใช้เวลานับเป็นศตวรรษทีเดียว ที่จะสร้างความยุติธรรมให้แก่มนุษยชาติ ในอันที่จะทำให้ประจักษ์ว่า เป็นความสยดสยองยิ่ง ที่คนส่วนใหญ่เป็นผู้หว่านไถ แต่คนส่วนน้อย เป็นผู้ชุบมือเปิบเอาพืชผลนั้นไป" }(สังคมไทยปัจจุบัน ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างมากมาย แสวงหาข้อมูลและเหตุผลต่างๆอย่างเอาเป็นเอาตาย เกิดโรคตาสว่างระบาดโดยทั่วไป มีการค้นคว้าหาคำตอบจากอินเตอร์เนท การสื่อสารทางเลือก ดาวเทียม วิทยุชุมชนและจากการพบปะพูดคุยอย่างกว้างขวางและทุกหนทุกแห่ง ประชาชนไม่ยอมเชื่อฟังผู้ที่อ้างว่าตนเองมีคุณธรรมหรือมีบุญแบบพระและ กษัตริย์ในยุโรปอีกต่อไป...Pegasus)
มองเตสกิเออร์และวอลแตร์ เป็นสองผู้มีอิทธิพลต่อการปฏิวัติฝรั่งเศสเป็นอย่างมาก จากแนวคิดดังกล่าวส่งผลให้เกิดการเรียกร้องสิทธิของพลเมืองและการปฏิวัติตาม มา(แนวความคิดของ จอห์น ล๊อค ว่าด้วยเรื่อง ชีวิต เสรีภาพและทรัพย์สินและ จัง จาค รุสโซ ว่าด้วยสัญญาประชาคมก็มีความสำคัญไม่น้อย...Pegasus)
การปะทะกันเริ่มในเดือนกรกฎาคม ค.ศ.1789 หลังจากตัวแทนฐานันดรที่ 3 ได้เริ่มการปฏิวัติในที่ประชุมสภาฐานันดรแล้ว พระเจ้าหลุยส์ฯได้ส่งทหารจำนวน 3 หมื่นนายมาล้อมกรุงปารีสและไล่รัฐมนตรี จ้าค เนกเกอร์ออก(ของไทยกองกำลังทหารในแต่ละกองทัพ คำนวณจากแถลงการณ์ว่ามีขั้นต้น 33 กองร้อย รวมแล้วจึงควรมีกำลัง 100 กองร้อยๆละ ไม่เกิน 150 คนรวมเป็นกำลังติดอาวุธ 15,000 คน แต่อาวุธทันสมัยกว่าสมัยฝรั่งเศสมาก แต่ประชาชนที่จะแปรสภาพเป็นมวลชนของไทยมีมหาศาลกว่ามาก...Pegasus)
ข่าวลือเรื่องกษัตริย์จะใช้กำลังทหารสลายการประชุมสมัชชาแห่งชาติก็ทำให้ เกิดความโกลาหล เฉพาะในหมู่ชาวปารีสหัวรุนแรง ที่เรียกว่าพวกซองกูลอต (sans-culottes) ได้มีการปล้นปืนมาได้จำนวน 28,000 กระบอก แต่ขาดดินปืน
ในวันที่ 14 กรกฎาคม ค.ศ. 1789 จึงยกขบวนประมาณ 800 คนไปที่คุกบาสตีย์ (Bastille) ซึ่งใช้เป็นที่ขังนักโทษการเมือง เหตุการณ์การทลายคุกบาสตีย์ (Fall of the Bastille) นี้ซึ่งต่อมาถือเป็นวันเริ่มต้นเหตุการณ์ปฏิวัติฝรั่งเศสเป็นวันชาติ ฝรั่งเศสในปัจจุบัน พร้อมกับธงไตรรงค์คือสีแดง น้ำเงิน และขาว เข้าฆ่าทหารในคุกด้วยมีดและหอก และนำหัวของผู้คุมคุกมาเสียบประจานบนหอก
ความ รุนแรงนี้สมาชิกสภาฐานันดรที่ 3ที่เรียกว่าสมัชชาแห่งชาติไม่ได้ห้ามปราม แต่ได้ให้การสนับสนุนและการเพิกเฉยนี้จะทำให้เกิดผลตามมาอีกมากมายในภายหลัง
ในวันเดียวกันนั้นพระเจ้าหลุยส์ฯเสด็จกลับมาจากการล่าสัตว์ มหาดเล็กได้ไปกราบทูลว่าเกิดเหตุที่คุกบาสตีย์พระองค์ถามว่ามีกบฏใช่ไหม แต่มหาดเล็กทูลตอบว่าไม่ใช่ มันคือการปฏิวัติ
การ บุกคุกบาสตีย์ ทำให้การปฏิวัติไม่มีการหันหลังกลับ แต่เป็นการปลดปล่อยประชาชนออกจากอดีตและเป็นการโค่นล้มทรราช ประชาชนทำการพังคุกนี้ด้วยมือเปล่า ขนหินแต่ละก้อนออกมาเพื่อทำลายสัญลักษณ์แห่งการกดขี่ทั้งมวล(ความสยดสยองเช่นนี้ไม่ควรเกิดขึ้นในไทย หากฝ่ายอำมาตย์ยอมรามือ...Pegasus)
หลังจากนั้นไม่กี่วัน ได้มีกฎหมายชื่อว่า คำประกาศแห่งสิทธิของมวลมนุษย์ ซึ่งประกอบด้วยหลักการสำคัญ 3 ข้อที่เป็นอุดการณ์ของการปฏิวัติฝรั่งเศส คือ เสรีภาพ (liberty) เสมอภาค (equality) และภราดรภาพ (fraternity)
เพื่อ ยกเลิกการมีชนชั้นลง ประกาศนี้ระบุว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนทั้งชาติ และไม่มีการกล่าวถึงระบอบกษัตริย์อีก เท่ากับว่าสมัชชาแห่งชาติได้ยึดอำนาจไว้กับกลุ่มของตนได้ ประกาศดังกล่าวย้ำข้อเรียกร้องฐานันดรที่ 3 เช่น มนุษย์เกิดมาเป็นอิสระ และมีสิทธิเท่าเทียมกัน การจับกุมกล่าวหาและหน่วงเหนี่ยวบุคคลใดๆจะกระทำได้เฉพาะตามที่กฎหมายกำหนด และทุกคนต้องเสียภาษีตามสัดส่วนของรายได้ที่ได้รับ ชาวฝรั่งเศสต้องการให้กษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ มีการปกครองที่มีเหตุผล และมนุษย์มีเสรีภาพโดยเท่าเทียมกัน โดยเฉพาะเสรีภาพของสื่อมวลชนที่ถูกปิดปากมาโดยตลอด(เป็นความหวังของประชาชนไทยเมื่อประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ได้เกิดขึ้น...Pegasus)
ขณะนั้นนายแพทย์ที่ผิดหวังกับสังคม มีชื่อว่า ฌัง ปอล มารา ซึ่ง ต่อมาได้ทำหนังสือพิมพ์และเป็นนักปลุกระดมอารมณ์ร้าย 5 ตุลาคม 1789 ทำให้ผู้หญิงแม่ค้าขายปลาที่แข็งแรงมากม าชุมนุมด้วยความโกรธแค้นว่า ขาดแคลนขนมปัง ขณะที่ในวังมีการจัดงานเลี้ยงจึงได้มาที่วังพร้อมปืนและหอก เพื่อถวายข้อเรียกร้องต่อพระราชา โดยมีคนมาล้อม 2 หมื่นคนเรียกร้องให้กษัตริย์กลับไปกรุงปารีส และเมื่อไม่ได้สิ่งที่ต้องการ ผู้หญิงก็บุกเข้ามาเพื่อปลงพระชนม์พระนาง มารี อังตัวเนต เมื่อพบทหารก็ฆ่านำมาเสียบปลายหอก 6 ตุลาคม 1789 ฝูงชนหกหมื่นคนเข้ามาบังคับให้พระราชาและพระราชินีกลับมากรุงปารีสเพื่อแก้ ปัญหาเศรษฐกิจ พร้อมกับหัวของเหล่าทหารราชองครักษ์และข้าราชบริพาร ตามด้วยรถของพระราชา พระราชินี และกลายเป็นนักโทษในปารีสอย่างสิ้นเชิง และมีการปล้นเอาข้าวสาลีจำนวนมากออกจากพระราชวังแวร์ซายร์
เพื่อรักษาความสงบทั้งในเมืองและชนบทระหว่างที่ 5-11 สิงหาคม 1789 สภาร่างรัฐธรรมนูญแห่งชาติออกพระราชกฤษฎีกาหลายฉบับรวมเรียกว่า"พระราชกฤษฎีกาเดือนสิงหาคม" (August Decrees) ระบุถึงการยกเลิกระบบฟิวดัล ศาลต่างๆ มีการปรับปรุงกฎหมายอาญาโดยใช้หลักมนุษยธรรมมากขึ้นด้วยการยกเลิกการทรมานและตัดอวัยวะ
นับตั้งแต่เดือนมีนาคม ค.ศ. 1792 รัฐเริ่มนำเครื่องกิโยติน(guillotine) มาใช้เป็นเครื่องประหารเพื่อให้สิ้นชีวิตโดยเร็วและเจ็บปวดน้อยที่สุด สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญแห่งชาติต้องการให้คริสตจักรฝรั่งเศสพ้นจากการควบ คุมดูและของสำนักสันตะปาปาที่ปรุงโรม และประกาศใช้ พระราชบัญญัติธรรมนูญสงฆ์ในค.ศ. 1790 บังคับให้พระปฏิญาณว่าจะรับรองรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ของประเทศ(ใน ยุโรปศาสนาจักรเกี่ยวข้องกับการเมือง ของไทยก็เห็นชัดเจนว่าได้เกิดขึ้นแล้ว และจะเป็นสาเหตุสำคัญของการล่มสลายของศาสนาด้วยในที่สุด...Pegasus)
พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ทรงเป็นบุคคลที่ยึดมั่นในศาสนา จึงไม่สบายพระทัยที่ต้องยอมรับพระราชบัญญัติธรรมนูญสงฆ์ ทรงวางแผนเสด็จหนีในวันที่ 20 มิถุนายน ค.ศ. 1791 ด้วยการปลอมตัวเป็นคนใช้และหนีห่างจากปารีสไป 100 ไมล์เกือบจะถึงออสเตรียในอีกไม่กี่ไมล์ แต่ก็ถูกเจ้าหน้าที่จับได้เมื่อถึงเมืองวาแรน (Varennes) ก็ทรงถูกจับ และถูกส่งกลับกรุงปารีส เพราะไม่มีใครคอยช่วยอีกต่อไป และอำนาจของพระมหากษัตริย์ก็หมดไป โรแบสปิแอร์ได้เข้ามามีอำนาจแทน(จะ เห็นได้ว่าในการปฏิวัติทุกแห่งฝ่ายหัวรุนแรงจะได้รับการยอมรับ และมักจะนำมาซึ่งความพินาศเสมอ ของไทยก็เริ่มปรากฏร่องรอยแล้ว...Pegasus)
ฝรั่งเศสประกาศสงครามต่อออสเตรียซึ่งมีจักรพรรดิเป็นพระเชษฐาของสมเด็จพระ ราชินีมารี อังตัวเนต ในวันที่ 20 เมษายน ค.ศ. 1792 ในเดือนต่อมาปรัสเซียจึงประกาศสงครามต่อฝรั่งเศส นับเป็นการเริ่มต้น สงครามการปฏิวัติฝรั่งเศส (French Revolutionary Wars, ค.ศ. 1792 – 1799)
ในวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1792 ออสเตรีย-ปรัสเซียได้ออกแถลงการณ์บรันสวิก (Brunswick Manifesto) เพื่อขู่ฝรั่งเศสว่า ถ้ากษัตริย์ฝรั่งเศสตกอยู่ในภาวะอันตราย พันธมิตรจะโจมตีกรุงปารีสทันที
10 สิงหาคม ค.ศ. 1792 ฝูงชนจำนวนหนึ่งด้วยการถูกกระตุ้นดังกล่าว และกองกำลังป้องกันชาติแห่งกรุงปารีสได้พากันไปที่พระราชวังตุยเลอรี เกิดการปะทะกับทหารรับจ้างชาวสวิส มีผู้เสียชีวิต 800 คน ทหารรับจ้างชาวสวิสประมาณ 1,000 คน และพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ต้องเสด็จไปหลบภัยในสภาสมัชชาแห่งชาติ
แต่ระบอบกษัตริย์ได้จบสิ้น แล้วโดยพระเจ้าหลุยส์ฯได้ถูกถอดออกจากฐานันดรกษัตริย์อย่างเป็นทางการ ทหารรักษาพระองค์ที่เหลืออยู่ได้ถูกประหารด้วย กีโยตีนทั้งหมด พระราชวงศ์ถูกนำไปกักบริเวณที่เรือนจำเทมเปิล (Temple)
สภากงวองซิงยง (Convention) ซึ่งจัดตั้งขึ้นเพื่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เปิดประชุมครั้งแรกวันที่ 20 กันยายน ค.ศ. 1792 และในวันรุ่งขึ้นก็ประกาศล้มเลิกระบอบกษัตริย์ฝรั่งเศสจึงเข้าสู่สมัย สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 1 (First Republic of France) ชายฝรั่งเศสทุกคนที่อายุ 21 ปีขึ้นไปมีสิทธิออกเสียง
ในเดือน ธันวาคม ค.ศ. 1792 มีการพิจารณาไต่สวนความผิดของพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 พวกซองกูลอตถือว่าพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ต้องรับผิดชอบต่อการเสียชีวิตจำนวนมากของชาวฝรั่งเศสที่พระราชวังตุยเลอรี พระเจ้าหลุยส์สที่ 16 จึงถูกประหารด้วยกิโยตีนเมื่อวันที่ 21 ม.ค. 1793
(พวกจิโรแดงสายกลางไม่ต้องการให้ประหารชีวิตแพ้เสียงพวก จาโคแบงโดย โรแบส ปิแอร์ ฝ่ายหัวรุนแรง) และพระนางแมรี อังตัวเนทถูกประหารชีวิตด้วยกิโยตีน 16 ตุลาคม 1793 ด้วยข้อหาเป็นชู้กับพระโอรสซึ่งไม่มีใครเชื่อว่าเป็นความจริง)
สมัยแห่งความหวาดกลัว
สภากงวองซิยง (มี 12 ผู้ปกครอง) อ้างว่า สภาวะบ้านเมืองกำลังมีศึกทั้งภายนอกและภายใน จำต้องมีรัฐบาลปฎิวัติบริหารบ้านเมืองอย่างเฉียบขาด ซึ่งทำให้สังคมฝรั่งเศสปั่นป่วน และหวาดระแวงกันเองจนกลายเป็นช่วงเวลาของการมีชีวิตใน สมัยแห่งความน่าสะพรึงกลัว (Reign of Terror) ระหว่างมี.ค 1793 ถึงก.ค. 1794 มีประชาชนถูกประหารด้วย กีโยตีนนับพันคน
ช่วงเวลาแห่งความน่าสะพรึงกลัวสูงสุด (Great Terror) ของสมัยปฏิวัติฝรั่งเศสเกิดขึ้นเมื่อมีการออกกฎหมายเดือนมิ.ย. 1794 ระบุว่าศัตรูของประชาชนจะต้องถูกนำตัวขึ้นศาลปฏิวัติแห่งกรุงปารีส และถูกพิพากษาตามความพอใจของคณะลูกขุนมากกว่าหลักฐานอื่นใด จำเลยจะไม่ได้รับสิทธิของคำปรึกษา แก้คดีและคำตัดสินก็มีเพียงให้ปล่อยตัวหรือให้ประหารเท่านั้น(นักโทษ นักโทษการเมือง พระ ชนชั้นสูง)
ภายใน 9 สัปดาห์ที่ใช้กฎหมายนี้จำนวนพลเมืองที่ถูกศาลปฏิวัติตัดสินประหารมีจำนวน 1,600 คนสตรีถูกข่มขืนอย่างทารุณ การกระทำนี้ถูกประณามไปทั่วยุโรป
ความตายของมารา
ต่อ มาเมื่อ ฝ่ายจิโรแดงซึ่งมีตัวแทนพื้นเพมาจากรากหญ้าชนบทเห็นว่าการปฏิวัติจะนำไปสู่ ความรุนแรงมากเกินไป นายแพทย์นักหนังสือพิมพ์หัวรุนแรงคือ ฌัง ปอล มารา ได้โจมตีฝ่ายจิโรแดงอย่างรุนแรง เนื่องจากอิทธิพลในการใช้สื่อนำให้มีการประหารด้วยกีโยตีนมาไม่น้อยกว่าสอง รัอยศพ แล้วยังต้องการให้มีการประหารต่อไปด้วยข้อหาภัยต่อการปฏิวัติ ชาลอตต์ กอเดย์ หญิงสาวชาวชนบทได้รับทราบข่าวว่า เป็นหนังสือพิมพ์ชี้นำให้ฆ่าคนไม่เลิก เธอได้มาที่ปารีสพร้อมรายชื่อที่อ้างว่าผู้ทรยศ มาราหลงเชื่อจึงถูก ชาลอตต์ฯ แทงเสียชีวิตในอ่างอาบน้ำ และกล่าวโทษว่าหนังสือพิมพ์นี้เป็นต้นเหตุของการฆ่าคนบริสุทธิ์
ในการพิจารณาคดี เธอไม่ยอมสำนึกผิด โดยอ้างว่าต้องการสันติภาพ แต่เธอกลับทำให้มารากลายเป็นนักบุญ และสันติภาพไม่เคยได้มาอีกเลย
ชน ชั้นกษัตริย์ยังถูกประหารต่อไป แม้สมาชิกในสมัชชาฯก็ถูกประหารชีวิตคนแล้วคนเล่าและเกิดกบฏต่อต้านการ ปฏิวัติและการโจมตีจากประเทศในยุโรป คณะปฏิวัติยกเลิกสิทธิของประชาชน มีตำรวจลับทั่วไปโดยใช้กฎหมายพิเศษเมื่อ 17 กันยายน 1793 ทำให้มีการประหารชีวิต การปิดปากสื่อ มีการปรักปรำ และศพเกลื่อนกลาด แม้แต่คำพูดที่ดูเป็นการวิจารณ์ใดๆก็ตาม(กฎหมายความมั่นคง และกฎหมายหมิ่นฯของไทยน่าจะคล้ายคลึงกัน...Pegasus)
ด้วย ศาลคณะปฏิวัติ โดยคณะกรรมาธิการเพื่อความปลอดภัยของสาธารณชนจำนวน 12 คน (กงวองซิยง) ดังกล่าวมาแล้ว นำโดยโรแบสปิแอร์ ศาสนจักร รูปนักบุญถูกทำลายและแทนที่ด้วยรูปปั้นของมารา ปฏิทินยกเลิกปฏิทินของศาสนาคริสต์ และต่อต้านศาสนาคริสต์ มีการสังหารหมู่กบฏและพระนับร้อยคนด้วยวิธีการต่างๆ
นโปเลียน
ต่อมากองทัพฝรั่งเศสนำโดยนายทหารชื่อ นโปเลียน โบนาปาร์ต ขับไล่อังกฤษออกไปได้ ทำให้สงครามสงบลง 5 กุมภาพันธ์ 1794 โรเบสปิแอร์ได้กล่าวว่าความกลัวและความดีงามขาดกันและกันไม่ได้ ดังตอง เพื่อนของโรเบสปิแอร์ และคนสนิทผู้นำในการต่อสู้ป้องกันประเทศถูกจับกุมและถูกประหารเป็นพันคน
ดัง ตองก่อนตายกล่าวว่า เสียใจที่ไปก่อนโรเบสปิแอร์ หลังจากนั้น ในหน้าร้อนเมื่อ 11 มิถุนายน 1794 เริ่มการปราบปรามใหญ่มีการประหารเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณถึง เดือนละกว่า 800 ครั้งในปารีส
มิถุนายน 1794 ได้มีพิธีแห่งความดีเลิศด้วยการใช้เหตุผล ทำให้สมาชิกสมัชชาเริ่มคิดว่า โรเบสปิแอร์เสียสติ ในวันที่ 27 มิถุนายน โรเบสปีแอร์ ได้ปราศรัยถึงภัยคุกคามว่า มีรายชื่อศัตรูใหม่ของการปฏิวัติ โดยจะนำมาเปิดเผยในวันรุ่งขึ้น ดังนั้นด้วยความกลัวว่าตัวเองจะมีชื่อ วันรุ่งขึ้น โรเบสปิแอร์จึงถูกจับ ในที่สุดแมกซิมิเลียน โรแบสปิแอร์ (Maximillen Robespierre) ผู้นำการปฏิวัติคนสำคัญถูกสภาประกาศให้เป็นบุคคลนอกกฎหมาย
หลังจาก พยายามฆ่าตัวตายจนบาดเจ็บสาหัส ต่อมาจึงถูกประหารด้วยเครื่องกิโยตินในวันที่ 28 ก.ค. 1794 ก็นับเป็นการสิ้นสุดสมัยแห่งความน่าสะพรึงกลัว
หลังจากนั้นอีก 5 ปีอำนาจได้ตกมาสู่นโปเลียน โบนาปาร์ต การปฏิวัติจึงสิ้นสุดลง(หวัง ว่าประเทศไทยคงไม่เกิดเหตุการณ์เช่นเดียวกัน ถ้าฝ่ายประชาธิปไตยจะระมัดระวังด้วยเสียงของมวลชนจำนวนมหาศาลไม่ยอมให้ฝ่าย ซ้ายหรือฝ่ายหัวรุนแรงหรือขวาปฏิกิริยาเผด็จการทำลายล้างกระบวนการ ประชาธิปไตยได้ ไทยก็จะได้ประชาธิปไตยที่สมบูรณ์และน่าชื่นชม ไม่ต้องเสียเวลาทอดยาวออกไปอีก...Pegasus)
เนื้อหาต่อไปปรับปรุงจากบทความของปิยบุตร แสงกนกกุล เรื่อง Ultra-royalisteกับการฟื้นฟูและล่มสลายของกษัตริย์ฝรั่งเศส โดยนำมาเสนอเฉพาะเหตุการณ์สำคัญเพื่อให้เห็นการต่อสู้ระหว่างฝ่ายขวาจัดนิยม เจ้ากับฝ่ายประชาธิปไตยที่ต้องมีต่อมาอีกยาวนาน
คณะราษฎร์ ปฏิวัติ พ.ศ.2475
Ultra-royaliste หรือที่ท่านปรีดี พนมยงค์ แปลว่า "ผู้เกินกว่าราชา" คือ กลุ่มการเมืองที่มีแนวคิดนิยมเจ้าอย่างสุดโต่งในฝรั่งเศสมุ่งหมายจะรื้อฟื้น สถาบันกษัตริย์กลับมาใหม่ ต้องการให้กษัตริย์มีอำนาจมาก ทั้งในทางความเป็นจริงและในทางสัญลักษณ์ มุ่งให้อภิสิทธิ์แก่พวกขุนนางรายล้อมกษัตริย์ มองประชาชนเป็นเพียง "ข้าแผ่นดิน" (Sujet) มากกว่าเป็น "พลเมือง" (Citoyen) หลายกรณี พวก Ultra-royaliste เรียกร้องอำนาจและอภิสิทธิ์ให้กษัตริย์มากกว่าที่กษัตริย์ต้องการเสียอีก
(เสื้อเหลืองที่คุ้มคลั่งน่าจะจัดเป็นกลุ่มนี้ได้...Pegasus)
ภายหลังการล่มสลายของระบอบโบนาปาร์ต ฝรั่งเศสเข้าสู่ช่วงฟื้นฟูกษัตริย์ หลุยส์ที่ ๑๘ ขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๑๘๑๕ ในยุคนี้ คือ อำนาจอธิปไตยเป็นของกษัตริย์ กษัตริย์มีอำนาจการบริหารประเทศอย่างแท้จริงโดยทรงแต่งตั้งรัฐมนตรีเอง มี ๒ สภา คือ สภาขุนนางมาจากการแต่งตั้งของกษัตริย์ดำรงตำแหน่งตลอดชีพและสืบทอดตำแหน่ง ทางสายเลือด ส่วนสภาล่างมาจากการเลือกตั้งที่กำหนดให้เฉพาะผู้เสียภาษีมากๆเท่านั้นจึงจะ มีสิทธิเลือกตั้ง ประเมินกันว่าผู้มีสิทธิเลือกตั้งเป็นจำนวนเพียง ๑ ใน ๒๐๐ ของประชาชนทั้งประเทศ(สรุปคือชนชั้นนำ ชนชั้นสูงที่เป็นมิตรกับระบอบกษัตริย์ ของไทยก็คงเป็นกลุ่มข้าราชการเก่า หรือชนชั้นนำ ทุนผูกขาดต่างๆที่อิงแอบกับอำมาตย์ โดยสังเกตง่ายๆจากกลุ่มสนับสนุนเหลือง และต่อต้านการถวายฎีกา...Pegasus)
กลุ่ม Ultra-royaliste ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในยุค Restauration ผ่านทางสภานิติบัญญัติซึ่งประกอบไปด้วยกลุ่มการเมืองนิยมเจ้าทั้งสิ้น(เปรียบเทียบเหมือนไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2490-94 ที่ได้มีการยึดอำนาจและเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญในสาระสำคัญใหม่หมดมาจนปัจจุบัน...Pegasus)
กลุ่ม Ultra-royaliste ออกกฎหมายลิดรอนเสรีภาพทางการเมืองและปราบปรามขั้วตรงข้ามทางการเมืองของตน(ใช่กฎหมายหมิ่นฯ กฎหมายขององค์กรอิสระหรือไม่...Pegasus)
โดยเฉพาะการออกมาตรการความน่าสะพรึงกลัวสีขาว หรือ "Terreur blanche" (สีขาวเป็นสีของกษัตริย์ฝรั่งเศส) เพื่อทำลายกลุ่มนิยมสาธารณรัฐ กลุ่มนิยมระบอบโบนาปาร์ต และกลุ่มนิยมนิกายโปรเตสแตนท์(ของไทยก็คงเป็นความน่าสะพรึงกลัวสีเหลืองที่ทำผิดร้ายแรงได้โดยไม่ต้องกลัวกฎหมาย...Pegasus)
มาตรการ Terreur blanche นำมาซึ่งการลอบสังหารนักการเมืองฝ่ายตรงข้าม
(คาร์บอมบ์...Pegasus)
การปิดสื่อ การจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลและเรียกร้องให้กษัตริย์มีอำนาจมากขึ้นภายใต้การ "อำนวยการ" ของกลุ่ม Ultra-royaliste(การเมืองใหม่ทั้งระบบใช่เลยอย่าลืมว่าผู้นำเป็นนักประวัติศาสตร์...Pegasus)
๑ ปีผ่านไป หลุยส์ที่ ๑๘ จำเป็นต้องยุบสภาเพื่อลดความขัดแย้งทางการเมือง ผลจากความล้มเหลวของมาตรการ Terreur blanche ทำให้กลุ่ม Ultra-royaliste เสียที่นั่งในสภาให้กับกลุ่ม Royaliste libérale(เปรียบเทียบได้กับไทยรักไทยเดิมหรือไม่...Pegasus)
เมื่อกลุ่ม Royaliste libérale เข้ามาเป็นรัฐบาล ก็รีบยกเลิกมาตรการ Terreur blanche ทันที และเร่งรัดออกกฎหมายปฏิรูปหลายฉบับ ต่อมา ๑๓ กุมภาพันธ์ ๑๘๒๐ Duc de Berry หลานของหลุยส์ที่ ๑๘ ถูกลอบสังหารหน้าโรงละครโอเปร่า พวกนิยมเจ้าเชื่อว่าการลอบสังหารนี้เป็นผลต่อเนื่องมาจากนโยบายของกลุ่ม Royaliste libérale ที่เอียงไปทางเสรีนิยมมากเกินไป จนทำให้ผู้นิยมสาธารณรัฐมีโอกาสตีโต้กลับ
ผลพวงของการตายของ Duc de Berry ทำให้กลุ่ม Ultra-royaliste กลับมาเป็นเสียงข้างมากในสภาอีกครั้ง และจัดการยกเลิกนโยบายเสรีนิยมทั้งหมด หันกลับไปออกกฎหมายเซ็นเซอร์สิ่งพิมพ์และกฎหมายจำกัดเสรีภาพของประชาชน กลุ่ม Ultra-royaliste ยังต้องการขจัดเสียงของกลุ่ม Royaliste libérale จึงออกกฎหมายอนุญาตให้ผู้เสียภาษีมากมีสิทธิเลือกตั้ง ๒ รอบ(ของไทยคงใช้องค์กรอิสระดูจะได้ผลกว่า...Pegasus)
รอบแรกเลือกสมาชิกสภา ๒๕๘ คน จากนั้นผู้เสียภาษีมากที่สุดจำนวน ๑ ใน ๔ ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งเลือกอีก ๑๗๒ คนในรอบที่สองที่ทำเช่นนี้ก็เพราะว่าผู้มีสิทธิเลือกตั้งกลุ่มนี้สนับสนุน กลุ่ม Ultra-royaliste นั่นเอง(เทียบได้กับ สว.ลากตั้งใช่หรือไม่...Pegasus)
๑๖ กันยายน ๑๘๒๔ หลุยส์ที่ ๑๘ เสียชีวิต กลุ่ม Ultra-royaliste ได้ผลักดันน้องชายของหลุยส์ที่ ๑๘ ขึ้นครองราชย์แทนในนามชาร์ลส์ที่ ๑๐ กลุ่ม Ultra-royaliste และชาร์ลส์ที่ ๑๐ ร่วมมือกันสร้างความชอบธรรมให้กับระบอบเก่าด้วยการรื้อฟื้นสัญลักษณ์ของ สถาบันกษัตริย์ก่อนปฏิวัติ ๑๗๘๙ กลับมาใหม่ ไม่ว่าจะเป็นพิธีราชาภิเษก การก่อสร้างอนุสาวรีย์พระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๖ ซึ่งโดนคณะปฏิวัติประหารด้วยเครื่องกีโยติน การออกกฎหมายชดเชยค่าเสียหายให้แก่เจ้าและขุนนางที่ได้รับผลกระทบจากการ ปฏิวัติฝรั่งเศส ๑๗๘๙ ซึ่งคำนวณกันว่าต้องใช้งบประมาณถึง ๖๓๐ ล้านฟรังค์ ตลอดจนการออกกฎหมายกำหนดโทษแก่ผู้หลบหลู่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ โดยเฉพาะผู้ที่ขโมยหรือทำลายสิ่งศักดิ์สิทธิ์จะมีโทษถึงประหารชีวิต นอกจากนี้ยังเพิ่มความเข้มงวดการเซ็นเซอร์สื่อและการจำกัดเสรีภาพการพิมพ์ อีกด้วย(ยุคแห่งความกลัวฝ่ายกษัตริย์กลับมาอีกครั้ง...Peasus)
ด้วยปัญหาทางเศรษฐกิจบีบบังคับให้ชาร์ลส์ที่ ๑๐ ต้องยุบสภา (ปกครองด้วยวิธีการเผด็จการและขวาจัดมักจัดการบริหารไม่ได้เนื่องจากไม่สอด คล้องกับระบบอุตสาหกรรมสมัยนั้น) ผลการเลือกตั้งทำให้ได้สภาที่มีสมาชิกสายปฏิรูปมากขึ้น ชาร์ลส์ที่ ๑๐ จึงจำใจต้องตั้ง Martignac นักการเมืองนิยมเจ้าสายปฏิรูป เป็นหัวหน้ารัฐบาล การดำเนินนโยบายของรัฐบาลไม่เป็นที่สบอารมณ์ของชาร์ลส์ที่ ๑๐ และกลุ่ม Ultra-royaliste ที่เห็นว่ารัฐบาลโน้มเอียงไปทางเสรีนิยม
ในขณะที่ กลุ่มเสรีนิยมก็มองว่ารัฐบาลดำเนินนโยบายปฏิรูปแบบกระมิดกระเมี้ยน ในที่สุด Martignac จึงลาออกจากตำแหน่ง ชาร์ลส์ที่ ๑๐ ตัดสินใจตั้ง Prince de Polignac นักการเมืองกลุ่ม Ultra-royaliste ขึ้นเป็นหัวหน้ารัฐบาลแทน แต่ด้วยนโยบายแข็งกร้าว ทำให้อยู่ได้ไม่นานชาร์ลส์ที่ ๑๐ ก็ต้องยุบสภา
ผลการเลือกตั้งปรากฏว่าฝ่ายค้านได้สมาชิกสภาเพิ่มเป็น ๒๗๐ ที่นั่งจากเดิม ๒๒๑ ที่นั่ง ในขณะที่รัฐบาลเก่าได้เสียงลดลงเหลือ ๑๔๕ ที่นั่งจากเดิม ๑๘๑ ที่นั่ง ชาร์ลส์ที่ ๑๐ จึงตัดสินใจออกประกาศ ๔ ฉบับทันที ได้แก่ ประกาศยุบสภา (ห่างจากยุบสภาครั้งก่อนครั้งก่อนเพียง๗๐ วันและหลังเลือกตั้งไม่ถึงเดือน) ประกาศยกเลิกเสรีภาพการพิมพ์ ประกาศจำกัดผู้มีสิทธิเลือกตั้งให้เฉพาะคนที่เสียภาษีเกิน ๓๐๐ ฟรังค์และประกาศให้มีการเลือกตั้งใหม่ในเดือนกันยายน
กล่าวกันว่า ประกาศทั้ง ๔ ฉบับเสมือนเป็นการรัฐประหารโดยชาร์ลส์ที่ ๑๐ และกลุ่ม Ultra-royaliste ซึ่งสร้างความไม่พอใจแก่ประชาชนจำนวนมาก ในที่สุดนักหนังสือพิมพ์ กรรมกร ชนชั้นกฎุมพี จึงรวมตัวกันล้มล้างการปกครองของชาร์ลส์ที่ ๑๐ โดยใช้เวลาเพียง ๓ วัน ตั้งแต่ ๒๗ – ๒๙ กรกฎาคม ๑๘๓๐
เมื่อพระเจ้าชาร์ลส์ที่ ๑๐ ถูกเนรเทศ กลุ่มการเมืองนิยมเจ้าสายปฏิรูปยืนยันให้มีกษัตริย์ต่อไป แต่ต้องการกษัตริย์ประนีประนอม ไม่เอนเอียงไปกับกลุ่ม Ultra-royaliste เพื่อปูทางปฏิรูปประชาธิปไตย จึงตัดสินใจเอาเจ้าสายราชวงศ์ออร์เลอองอย่างหลุยส์ ฟิลิปป์ขึ้น เป็นกษัตริย์พร้อมกับออก Charte ลงวันที่ ๑๘๓๐ ใช้เป็นธรรมนูญการปกครองแทน โดยลดอำนาจของกษัตริย์ไม่ให้มีอำนาจในการเสนอกฎหมาย และให้อำนาจอธิปไตยเป็นของชาติ
เราเรียกยุคนี้ว่า " Monarchie de Juillet" เพราะเหตุการณ์ที่ประชาชนร่วมกันขับไล่พระเจ้าชาร์ลส์ที่ ๑๐ เกิดขึ้นในเดือนกรกฎาคม (Juillet) นั่นเอง(เป็นการ ตัดสินใจนำอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนกลับมาอีกครั้งหนึ่ง หลังจากพลาดท่าเพราะมีการปฏิวัติที่หวาดกลัวสมัย แมกซิมิลเลียน โรแบสปิแอร์...Pegasus)
รัฐบาลเริ่มนโยบายก้าวหน้าขึ้น ตั้งแต่การยกเลิกระบบสืบทอดตำแหน่งสภาขุนนางทางสายเลือด(ของไทยเปรียบเทียบเป็นระบบลากตั้ง หรือข้าราชการ หรือกลุ่มอนุรักษ์ กลุ่มจารีต ทุนผูกขาด...Pegasus)
การ ขยายสิทธิเลือกตั้งและสมัครรับเลือกตั้งออกไป (ผู้มีสิทธิเลือกตั้งต้องเป็นผู้ชายอายุ ๒๕ ปีขึ้นไปและเสียภาษีเกิน ๒๐๐ ฟรังค์ จากเดิมที่ให้เฉพาะผู้ชายอายุ ๓๐ ปีขึ้นไปและเสียภาษีเกิน ๓๐๐ ฟรังค์ ส่วนผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งก็เปลี่ยนเป็นผู้ชายอายุ ๓๐ ปีขึ้นไปและเสียภาษีเกิน ๕๐๐ ฟรังค์ จากเดิมต้องเป็นผู้ชายอายุ ๔๐ ปีขึ้นไปและเสียภาษีเกิน ๑๐๐๐ ฟรังค์)
การยกเลิกการปิดกั้นเสรีภาพ ในการพิมพ์ ศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิกไม่เป็นศาสนาประจำชาติอีกต่อไป ตลอดจนการนำธงไตรรงค์ "น้ำเงิน ขาว แดง" จากเดิมที่มีแต่สีขาว มาใช้เป็นธงประจำชาติแม้หลุยส์ ฟิลิปป์จะได้การยอมรับจากประชาชนมากถึงขนาดที่ชาวฝรั่งเศสขนานนามว่าเป็น "กษัตริย์ของพลเมือง" แต่การดำเนินนโยบายของรัฐบาล Guizot ก็ยังโน้มเอียงไปทางอนุรักษ์นิยมอยู่มาก
ประกอบ กับวิกฤติเศรษฐกิจในช่วงปี ๑๘๔๖ ถึง ๑๘๔๘ และอุดมการณ์ประชาธิปไตยตลบอบอวล ยิ่งกระตุ้นให้กลุ่มนิยมสาธารณรัฐเริ่มรวมตัวจัดตั้งองค์กรปฏิวัติกษัตริย์ ด้วยการจัดงานเลี้ยงตามหัวเมืองใหญ่ๆเพื่อรณรงค์ทางการเมือง เช่น การเรียกร้องให้ขยายสิทธิเลือกตั้งออกไปให้ทั่วถึงไม่ใช่จำกัดเฉพาะผู้เสีย ภาษีมาก
การชุมนุมทางการเมืองเริ่มขยายตัวกว้างขวางขึ้น รัฐบาล Guizot ไม่สนองตอบต่อข้อเรียกร้อง ตรงกันข้ามกลับปราบปรามการชุมนุม ยิ่งทำให้คะแนนนิยมตกต่ำลง
กว่าหลุยส์ ฟิลิปป์จะตัดสินใจเปลี่ยนหัวหน้ารัฐบาลและสัญญาว่าจะดำเนินการปฏิรูปให้เข้ม ขึ้นก็สายเกินไปเสียแล้ว ในที่สุด กลุ่มนิยมสาธารณรัฐได้โอกาสเข้ายึดอำนาจจากหลุยส์ ฟิลิปป์ และประกาศให้ฝรั่งเศสเป็นสาธารณรัฐเมื่อวันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๑๘๔๘
ฝรั่งเศสเข้าสู่สาธารณรัฐที่ ๒ ได้ไม่นาน หลุยส์ นโปเลียน หลานของนโปเลียน โบนาปาร์ตขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี และจัดการรวบอำนาจไว้กับตนเอง เปลี่ยนกลับไปปกครองแบบจักรวรรดิเหมือนโปเลียน
(สมัยปัจจุบัน ระบอบนโปเลียนฯ อาจถือได้ว่าเป็นรูปแบบของเผด็จการทหารได้...Pegasus)
พร้อม กับตั้งตนเป็นจักรพรรดิตลอดชีพในนาม นโปเลียนที่ ๓ จักรวรรดินี้ดำรงอยู่ได้ ๑๘ ปี จนกระทั่งเกิดสงครามกับปรัสเซีย นโปเลียนที่ ๓ และจักรววรดิที่ ๒ ก็ล่มสลายไป
หลังนโปเลียนที่ ๓ พ่ายแพ้สงครามกับปรัสเซีย ฝรั่งเศสเปลี่ยนมาปกครองแบบสาธารณรัฐ ฝ่ายนิยมเจ้าเรียกร้องให้เพิ่มคำว่า "ชั่วคราว" ต่อท้ายคำว่า "สาธารณรัฐ" ในขณะที่ฝ่ายนิยมสาธารณรัฐก็เกรงว่าหากให้พวก Ultra-royaliste ปกครองประเทศก็หนีไม่พ้นการจำกัดเสรีภาพของประชาชนและเข้าข้างอภิสิทธิ์ชน ดังที่เคยเป็นมา
การต่อสู้ทางการเมืองระหว่างกลุ่มนิยมเจ้ากับกลุ่มนิยมสาธารณรัฐดำเนินไปอย่างเข้มข้น(การ ต่อสู้ของไทยระหว่างกลุ่มนิยมเจ้า กับกลุ่มประชาธิปไตยก็เทียบเคียงได้โดยเปรียบเทียบได้ตั้งแต่ การยึดอำนาจครั้งแรกของฝ่ายนิยมเจ้าด้วยพรรคการเมืองและทหารในปี พ.ศ. 2490 และการยึดอำนาจทุกครั้งอำนาจของฝ่ายนิยมเจ้าจะเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ ...Pegasus)
อยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อว่าจะเลือกปกครองในระบอบใดระหว่างสาธารณรัฐหรือประชาธิปไตยที่มีกษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ(ประเทศไทยอยู่ที่ว่าจะเป็นระบอบประชาธิปไตยแบบแอบแฝงเผด็จการหรือประชาธิปไตยเต็มใบ...Pegasus)
จนกระทั่งเกิดกรณี "ธงขาว" ซึ่งเริ่มจาก Comte de Chambord ออกมาเรียกร้องให้ฝรั่งเศสนำธงสีขาวที่มีดอกไม้สัญลักษณ์ประจำราชวงศ์บู ร์บ็อง (Fleur de lys) กลับมาใช้เป็นธงชาติแทนที่ธงไตรรงค์ ข้อเรียกร้องดังกล่าวเป็นสัญลักษณ์ปลุกให้กลุ่ม Ultra-royaliste กลับมาร่วมมือกันรื้อฟื้นสถาบันกษัตริย์อีกครั้ง(ยัง ไม่มีการเรียกร้องให้ใช้ธงเหลืองแทนธงไตรรงค์ในไทย นับว่าปราณีอยู่มาก อย่างไรก็ตามกรณีธงขาว อาจเทียบได้กับกรณี สงกรานต์เลือดที่ฝ่ายใช้เสื้อเหลือง เสื้อฟ้า สร้างสถานการณ์และทำร้ายประชาชนโดยมีทหารคอยป้องกันไม่ให้หนีก็น่าคิดเช่น กัน...Pegasus)
ความจริงแล้ว แนวโน้มที่ฝรั่งเศสจะปกครองแบบประชาธิปไตยที่มีกษัตริย์เป็นประมุขก็ยังพอมี อยู่บ้าง ประชาชนบางส่วนยังคงถวิลหาให้กษัตริย์เป็นประมุขเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของ ประเทศและแสดงถึงความเป็น มาทางประวัติศาสตร์ ประธานาธิบดีแม็คมานเองก็มีแนวโน้มจะช่วยฟื้นฟูให้กษัตริย์กลับมาเป็นประมุข ของรัฐอีกครั้ง แต่ด้วยความแข็งกร้าวของ Ultra-royaliste โดยเฉพาะกรณี "ธงขาว" ซึ่งแสดงให้ เห็นว่าแม้เพียงเรื่องเท่านี้ พวก Ultra-royaliste ยังไม่ยอมประนีประนอม(ของไทยเปรียบเทียบได้กับการค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตยยิ่งขึ้นอย่างหัวชนฝา...Pegasus)
หากปล่อยให้ Ultra-royaliste ครองอำนาจเห็นทีคงหนีไม่พ้นการปกครองแบบระบอบเก่าเป็นแน่ ดังนั้น Henri Wallon นักการ เมืองนิยมสาธารณรัฐจึงชิงตัดหน้าด้วยการเสนอร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ กำหนดว่า "ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐมาจากการเลือกโดยเสียงข้างมากเด็ดขาด(เสียงเกินกึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกไม่ใช่องค์ประชุม...Pegasus)
ของวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร มีวาระ ๗ ปี และสามารถถูกเลือกได้อีกครั้ง"
ผลการลงมติเมื่อวันที่ ๓๐ มกราคม ๑๘๗๕ ปรากฏว่า ฝ่ายที่เห็นควรให้ฝรั่งเศสเป็นสาธารณรัฐเฉือนชนะไปอย่างหวุดหวิดด้วยคะแนน เสียง๓๕๓ ต่อ ๓๕๒ จากนั้นความนิยมในสถาบันกษัตริย์ก็ลดน้อยถอยลงตามลำดับ จนกลุ่มนิยมกษัตริย์ไม่มีโอกาสกลับมามีบทบาททางการ เมืองอีกต่อไป(ถือ ว่าเป็นโชคดีของชาวฝรั่งเศส จะเห็นได้ว่าการเฉลิมฉลองวันปฏิวัติของฝรั่งเศสนั้น ชาวฝรั่งเศสจะแสดงออกถึงการรังเกียจกลุ่มหัวรุนแรงนิยมเจ้าอย่างรุนแรงเพราะ ประวัติศาสตร์ของฝรั่งเศสขมขื่นอย่างมาก...Pegasus)
เป็นอันว่าฝรั่งเศสเป็นสาธารณรัฐโดยเด็ดขาด และกลุ่ม Ultra-royaliste ก็ปลาสนาการไปจากเวทีการเมืองพร้อมๆกับสถาบันกษัตริย์(ประเทศ ไทยคงจะหวังให้ได้ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข หวังว่าเหตุการณ์เสื้อเหลืองจะไม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเหมือนประเทศ ฝรั่งเศสในที่สุด สำหรับผู้ที่กล่าวถึงระบอบประธานาธิบดีบ่อยๆในทำนองใส่ร้ายป้ายสีฝ่าย ประชาธิปไตย ควรระวังว่าจะทำให้สาธารณชนสนใจศึกษาระบอบนี้มากขึ้น และจะนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงไปเป็นระบอบที่พูดถึงได้ในที่สุด การไม่พูดถึงเลยและพยายามรักษาสถาบันด้วยการกล่าวถึงแต่เพียงระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตรยิ์ทรงเป็นประมุขจะเหมาะสมกว่า...Pegasus)
การปฏิวัติฝรั่งเศส ค.ศ. 1789 ได้ปลุกกระแสการสร้างสำนึกทางสังคมและการเมืองให้แก่ชาวยุโรปในคริสต์ศตวรรษ ที่ 19 การปฏิวัติฝรั่งเศสมีอิทธิพลอย่างมากต่อการปฏิวัติในหลายประเทศ การปฏิวัติฝรั่งเศสเป็นการทำลายความอยุติธรรม และทดแทนด้วยความยุติธรรมที่ทุกคนคิดว่าดีกว่าและยังมีการแสวงหามาจน ปัจจุบัน การทดลองระบอบประชาธิปไตยของฝรั่งเศสได้ก่อให้เกิดระบอบประชาธิปไตยไปทั่ว โลกเพื่อเรียกร้องหา เสรีภาพ เสมอภาค และภราดรภาพด้วยการปฏิวัติ
สรุปแล้วการปฏิวัติฝรั่งเศสตั้งแต่ ๑๗๘๙-๑๘๗๕ ใช้เวลาทำให้ประชาชนตัดสินใจได้ในการยกเลิกระบอบกษัตริย์โดยสิ้นเชิงใช้เวลา ทั้งหมด ๘๖ ปี และการล่มสลายของระบอบกษัตริย์ในฝรั่งเศส เกิดจากกลุ่มนิยมสถาบันกษัตริย์อย่างบ้าคลั่งที่แอบอิง และอาศัยประโยชน์จากสถาบันพระมหากษัตริย์นั่นเอง ไม่ใช่จากประชาชนหรือใครอื่นใดเลย
ที่ สำคัญคือเหตุการณ์ต่างๆช่างคล้ายคลึงกับประเทศไทยในปัจจุบันจนเกือบเชื่อว่า ทุกอย่างจะลงเอยเช่นเดียวกัน สิ่งนี้ไม่เป็นที่พึงปรารถนาแต่ประการใด
--
http://www.prachataiboard1.info/board/id/50088
http://hotspotshield.com
http://99it.blogspot.com/p/blog-page_21.html
http://www.redshirtinternational.org
http://norporchorusa.com/html/media/npcusa_radios.html
http://www.unblockanything.com
http://www.youtube.com/watch?v=Dyw-L8JSE2U
http://sanamluang.tv
http://thaitvnews2.blogspot.com
http://112victims.org
http://nonlaw.7forum.net/forum-f1/topic-t1169.htm
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น