http://downmerng.blogspot.com http://picasaweb.google.com/prainn999/14255302# ทัพผ่านฟ้าสู่ราชประสงค์ วันที่ 14 เมษายน 2553 http://www.112victims.org/ http://www.thaifreenews.org/ http://chirpcity.com/bangkok/3 http://www.radaroo.com/ http://factsforthais.blogspot.com/2009/05/7.html https://hotspotshield.com, https://redpower-sm-germany.com, https://konthaiuk.com,https://nonlaw.7forum.net https://www.redshirtinternational.org,

วันเสาร์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

"สมุดปกขาวของอัมเสตอร์ดัม" (ส่วนแรก)

ข่าวดีๆ จาก ประชาไท : อ่านที่นี่ คำแปลฉบับเต็ม “สมุดปกขาวของอัมเสตอร์ดัม” (ส่วนแรก)

เปิด รายงานครึ่งแรก ของโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม “การสังหารหมู่ที่กรุงเทพฯ : ข้อเรียกร้องหาการรับผิด ว่าด้วยพันธกรณีระหว่างประเทศ ที่ประเทศไทยมีภาระผูกพันในการนำตัวฆาตกรสู่กระบวนการยุติธรรม”

หมายเหตุ: คำแปลนี้เป็นครึ่งแรกของรายงานจำนวน 80 หน้า ซึ่งจัดทำโดย สำนักกฎหมาย Amsterdam & Peroff ติดตามอ่านฉบับสมบูรณ์ได้ที่ประชาไท

การสังหารหมู่ที่กรุงเทพฯ : ข้อเรียกร้องหาการรับผิด ว่าด้วยพันธกรณีระหว่างประเทศที่ประเทศไทยมีภาระผูกพันในการนำตัวฆาตกรสู่ กระบวนการยุติธรรม

สมุดปกขาวโดยสำนักกฎหมาย Amsterdam & Peroff

000

บทคัดย่อ

000

สารบัญ

1.  บทนำ

2.  เส้นทางไปสู่การปกครองระบอบประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญของประเทศไทย

3.  การขึ้นสู่อำนาจของพรรคไทยรักไทย

4.  ถนนสู่การปฏิวัติ 2549

5.  การฟื้นฟูระบอบอมาตยาธิปไตยอย่างผิดกฎหมาย

1.  การยึดอำนาจโดยทหาร

2.  ระเบียบรัฐธรรมนูญใหม่

3. การยุบพรรคไทยรักไทย

4.  การรัฐประหารทางศาลและเหตุการณ์ความวุ่นวายที่ถูกจัดตั้งขึ้น

6.  ฤดูร้อนสีดำของประเทศไทย: การสังหารหมู่คนเสื้อแดง

1.  คนเสื้อแดงต้องการอะไร

2.  มาตรการอันผิดกฎหมายของการรณรงค์ประหัตประหารและความรุนแรง

3.  บดขยี้คนเสื้อแดง

4.  มาตรฐานสากลว่าด้วยการใช้กำลัง

7.  ฤดูกาลใหม่ของการปกครองโดยทหาร

1.  พระราชบัญญัติความมั่นคงภายใน

2.  การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน

3.  การควบคุมข้อมูลข่าวสาร

4.  เสื้อแดงคือกลุ่มผู้ก่อการร้ายหรือ?

8.  ข้อเรียกร้องหาความยุติธรรม

1.  หน้าที่ในการสืบสวนและหาผู้กระทำความผิดของประเทศไทย

2.  การสังหารโดยพลการและตามอำเภอใจ: การละเมิดสิทธิมนุษยชนที่ร้ายแรงอื่นๆ

3.  การประหัตประหารทางการเมือง

4.  อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ

5.  หลักฐานเรื่องการพยายามปกปิด

6.  ความเป็นธรรมสำหรับผู้ถูกกล่าวหา

9.  บทสรุป : หนทางเดียวสู่ความปรองดอง

000

1. บทนำ

เป็นเวลากว่า 4 ปีที่ประชาชนชาวไทยตกเป็นเหยื่อของการละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานอย่างต่อเนื่อง และเป็นระบบ นั่นก็คือสิทธิในการกำหนดใจตนเองผ่านการเลือกตั้งอย่างแท้จริงที่ดำรงอยู่บน ฐานของเจตจำนงของประชาชน  การโจมตีระบอบประชาธิปไตยเริ่มขึ้นด้วยการวางแผนและลงมือกระทำการรัฐประหาร โดยทหารเมื่อปี 2549  ด้วยความร่วมมือกับสมาชิกองคมนตรี ผู้บัญชาการทหาร ของไทยล้มล้างรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยของนายก รัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร หัวหน้าพรรคไทยรักไทย ซึ่งชนะการเลือกตั้งมาถึง 3 สมัยติดต่อกัน ทั้งในปี 2544, 2548 และ 2549  ระบอบที่การรัฐประหารตั้งขึ้นได้เข้าควบคุมหน่วยงานต่างๆของรัฐบาล ยุบพรรคไทยรักไทย และตัดสิทธิทางการเมืองของแกนนำพรรคเป็นเวลา 5 ปี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในปัจจุบันก็เพียงเพราะพรรคการเมืองต่างๆที่ชนะ การเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยในสี่ครั้งที่ผ่านมาถูกยุบไป

การรัฐประหารในปี 2549 ถือเป็นการเริ่มต้นในการพยายามที่จะฟื้นฟูอำนาจนำของกลุ่มทุนเก่า นายทหาร ระดับสูง ข้าราชการระดับสูง และกลุ่มองคมนตรี ซึ่งเอกสารชิ้นนี้จะเรียกรวมๆว่าเป็น “กลุ่มอำนาจเก่า”  การฟื้นฟูระบอบเก่าของประเทศนั้นต้องทำลายพรรคไทยรักไทยเสียก่อนเป็นอันดับ แรก เพราะพรรคไทยรักไทยเป็นพลังทางการเลือกตั้งที่ได้กลายเป็นสิ่งท้าทายอำนาจ ของกลุ่มอำนาจเก่าอย่างสำคัญและเป็นประวัติการณ์  จากนั้นกลุ่มอำนาจเก่าจึงไม่อาจหยุดกวาดล้างขบวนการเรียกร้องประชาธิปไตย ที่เกิดขึ้นตามมา

พรรคไทยรักไทยเป็นพรรคการเมืองแรกในประวัติศาสตร์ไทยที่ได้รับความนิยม สูงสุดให้มาปกครองประเทศ อันเป็นการไปขัดขวางธรรมเนียมปฏิบัติอันยาวนานที่รัฐบาลผสมที่อ่อนแอจะได้ เข้ามารับใช้ตามอำเภอใจของกลุ่มอำนาจเก่า ด้วยการเสริมอำนาจของฐานเสียงที่ ถูกเบียดขับไปอยู่ชายขอบของชีวิตทางการเมืองของประเทศมายาวนาน พรรคไทยรักไทยได้รับการสนับสนุนจากประชาชนในระดับที่ไม่เคยมีมาก่อน ทำให้พรรคฯ รู้สึกว่าไม่จำเป็นต้องสยบยอมมอบอำนาจใดๆ ที่รัฐธรรมนูญได้มีให้รัฐบาลจากการเลือกตั้งแก่พวกกลุ่มอำนาจเก่า  การบริหารจัดการของพรรคฯ จึงเป็นไปเพื่อยืนยันการควบคุมกระบวนการกำหนดนโยบาย การให้ทหารอยู่ภายใต้การควบคุมของพลเรือน และการทำลายเครือข่ายระบบอุปถัมภ์ที่สมาชิกอันทรงอำนาจของคณะองคมนตรีได้ใช้ อิทธิพลของตนเหนือข้าราชการ ระบบตุลาการ และกองกำลังทหาร  ทั้งสองด้านของนโยบายเศรษฐกิจแบบคู่ขนาน (dual track) ที่รัฐบาลไทยรักไทยได้ดำเนินการอย่างรวดเร็วเนื่องจากมีเสียงข้างมากในสภา นั้น ยิ่งกันการสนับสนุนจากนักธุรกิจชั้นนำในกรุงเทพฯ ออกไป ในขณะที่นโยบายเปิดตลาดเสรีของพรรคไทยรักไทยได้ทำให้กลุ่มธุรกิจขนาด ใหญ่ต้องมีการแข่งขันมากขึ้น ความนิยมที่มีต่อโครงการต่างๆ ที่ตอบสนองต่อความจำเป็นของเกษตรกรในต่างจังหวัดและคนจนเมืองก็ทำให้รัฐบาล ยืนหยัดต่อแรงกดดันที่มาจากกลุ่มตัวละครหลักๆ ของกลุ่มอำนาจเก่าไว้ได้

เมื่อไม่สามารถจะขจัดหรือบั่นทอนรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งได้ด้วยวิธี ใดๆ ทหารจึงใช้ยุทธวิธีในการยกขบวนรถถังและกองกำลังพิเศษเข้ามาทวงประเทศคืน จากตัวแทนของประชาชน

หลังจากการรัฐประหารเป็นต้นมา พวกกลุ่มอำนาจเก่าก็ได้พยายามที่จะรวบรวมอำนาจทางการเมืองของตน ในขณะเดียวกันก็ถอยไปซ่อนตัวอยู่หลังฉากหน้าว่าเป็นประชาธิปไตยแบบมีรัฐ ธรรมนูญ  กลุ่มอำนาจเก่าได้ใช้การรณรงค์อย่างไม่หยุดหย่อนเพื่อกำจัดพรรคไทยรัก ไทยออกจากพื้นที่ทางการเมืองไทย เพื่อให้มั่นใจได้ว่าจะกลับไปสู่การมีรัฐบาลอ่อนแอที่ยอมรับใช้ผลประโยชน์ ของกลุ่มอำนาจเก่า  เมื่อแผนนี้ไม่สำเร็จ กลุ่มอำนาจเก่าจึงต้องหันไปพึ่งฝ่ายตุลาการที่ถูกทำให้เป็นการเมืองอย่างมาก และได้รับอำนาจตามรัฐธรรมนูญฉบับปีพ.ศ. 2550 ให้สามารถล้มผลการเลือกตั้งที่ดำเนินอย่างเสรีได้ เพื่อทำให้การกำจัดรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งนั้นดูถูกต้องตามกฎหมาย

ด้วยการควบคุมศาล ด้วยความสำเร็จบางส่วนในการทำให้ฝ่ายนิติบัญญัติในรัฐบาลผสมของทักษิณอ่อนแอ ลง และด้วยความวุ่นวายที่ก่อโดยปีกนอกรัฐสภาอย่างพันธมิตรประชาชนเพื่อ ประชาธิปไตย (พธม.) กลุ่มอำนาจเก่าก็สามารถทำให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีได้ ทว่าหลังจากนั้นรัฐบาลอภิสิทธิ์ก็ถูกกดดันให้ต้อง ใช้มาตรการกดขี่เพื่อรักษาฐานอำนาจอันไม่ชอบธรรมและปราบการเคลื่อนไหวเพื่อ ประชาธิปไตยที่ก่อตัวขึ้นเพื่อตอบโต้การรัฐประหารโดยทหารเมื่อปี 2549 และการรัฐประหารโดยศาลในปี 2551  หนึ่งในวิธีการกดขี่ก็คือการที่รัฐบาลได้บล็อกเวปไซท์ประมาณ 50,000 เวป ปิดสถานีโทรทัศน์ดาวเทียมของฝ่ายต่อต้านรัฐบาล และกักขังคนจำนวนหนึ่งภายใต้กฎหมายหมิ่นพระบรมราชานุภาพอันเลื่องชื่อของไทย และภายใต้พ.ร.บ.การกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์ที่โหดร้ายพอๆ กัน เมื่อเผชิญกับการชุมนุมประท้วงโดยมวลชนที่ท้าทายอำนาจของรัฐบาล รัฐบาลก็ได้เชื้อเชิญให้กองทัพเข้ามาจัดการ และได้ระงับเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญโดยการนำพ.ร.บ.ความมั่นคงในราชอาณาจักร พร้อมทั้งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินซึ่งเข้มงวดยิ่งกว่า มาใช้ ตั้งแต่วันที่ 7 เมษายน 2553 เป็นต้นมา รัฐบาลทหารชุดใหม่ของประเทศในนามของศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ได้เข้ามาปกครองประเทศโดยไม่มีมาตรการตรวจสอบความรับผิดใดๆ ภายใต้การประกาศ “สถานการณ์ฉุกเฉิน” ที่ถูกประกาศอย่างไม่เหมาะสม ถูกนำมาบังคับใช้อย่างไม่สอดคล้องกับความรุนแรงของสถานการณ์ และใช้อย่างต่อเนื่องไม่มีกำหนดเพื่อปิดปากการคัดค้านใดๆ ที่มีต่อรัฐบาลที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง นี่เป็นอีกครั้งที่กลุ่มอำนาจ เก่าไม่อาจปฏิเสธข้อเรียกร้องเพื่อการปกครองตนเองของประชาชนชาวไทยได้โดยไม่ ต้องหันไปหาระบอบเผด็จการทหาร

ในเดือนมีนาคม 2553 เกิดการประท้วงต่อต้านรัฐบาลครั้งใหญ่ในกรุงเทพฯ โดยกลุ่มคนเสื้อแดง หรือที่เรียกว่า “แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ” (นปช.) การชุมนุมของคนเสื้อแดงดำเนินมาจนถึงวันที่ 66 ในวันที่ 19 พฤษภาคม เมื่อรถหุ้มเกราะบดขยี้แนวกั้นที่ทำขึ้นชั่วคราวรอบสี่แยกราชประสงค์ใน กรุงเทพฯ และทะลวงค่ายประท้วงของคนเสื้อแดง  หลายสัปดาห์ก่อนหน้านั้น เมื่อวันที่ 10 เมษายน กองกำลังทหารพยายามสลายการชุมนุมของกลุ่มเสื้อแดงที่สะพานผ่านฟ้าแต่ล้มเหลว ยังผลให้มีผู้เสียชีวิต 27 ราย  และในการสลายการชุมนุมที่แยกราชประสงค์ระหว่างวันที่ 13 -19 พฤษภาคม มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 55 ราย  เมื่อต้องเผชิญกับความพ่ายแพ้ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แกนนำนปช. ได้ประกาศยุติการชุมนุมและยอมมอบตัวกับตำรวจ

พยานนับร้อยๆ คน และวิดีโอคลิปพันๆ คลิป ได้บันทึกการใช้กระสุนจริงอย่างเป็นระบบโดยกองกำลังฝ่ายความมั่นคงของไทยต่อ พลเรือนที่ไร้อาวุธ รวมถึงนักข่าวและเจ้าหน้าที่หน่วยแพทย์ฉุกเฉินในเดือนเมษายนและพฤษภาคม นับ ถึงเวลาที่บริเวณที่ชุมนุมได้ถูกเคลียร์เรียบร้อย อาคารพาณิชย์สำคัญๆ สองสามแห่งยังคงมีควันกรุ่น มีผู้เสียชีวิตไปมากกว่า 80 คน และผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นแกนนำการชุมนุมมากกว่า 50 คนอาจเผชิญกับโทษประหารชีวิตจากข้อหา “ก่อการร้าย”  ผู้ชุมนุมหลายร้อยคนยังคงถูกควบคุมตัวข้อหาฝ่าฝืนพ.ร.บ.การรักษาความมั่นคง ภายในราชอาณาจักรและพ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งรัฐไทยนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการทำให้การชุมนุมทางการเมืองที่ชอบธรรม เป็นเรื่องผิดกฎหมาย นอกจากนี้ยังมีการออกหมายจับอาจสูงถึงแปดร้อยหมาย และ ทางการยังได้แช่แข็งบัญชีของผู้ร่วมขบวนการและผู้สนับสนุนทางการเงินแก่นปช .อีกอย่างน้อย 83 ราย ที่น่าสลดใจก็คือ แกนนำคนเสื้อแดงในท้องถิ่นต่างๆ ได้ถูกฆ่าเสียชีวิตในชลบุรี นครราชสีมา และปทุมธานี

ท่ามกลางเหตุการณ์ที่น่าสลดอันเป็นสุดสูงสุดของโครงการสี่ปีในการโค่น เจตนารมย์ของประชาชนให้เป็นไปตามความต้องการของกลุ่มอำนาจเก่า สมุดปกขาวเล่มนี้มีวัตถุประสงค์ที่เกี่ยวเนื่องกันดังนี้

วัตถุประสงค์ข้อแรกคือเพื่อเน้นถึงพันธกรณีของประไทยตามกฎหมายระหว่าง ประเทศ และพันธกรณีตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights – ICCPR) ในการสืบสวนการละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นร้ายแรงทั้งหลายที่เกิดขึ้นระหว่างการ ชุมนุมของคนเสื้อแดง รวมถึงต้องดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่ทหารและพลเรือนซึ่ง อยู่ภายใต้สายการบังคับบัญชาสำหรับอาชญากรรมอย่างการสังหารพลเรือนกว่า 80 รายโดยพลการและตามอำเภอใจในกรุงเทพฯ ในช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคมด้วย  ข้อเท็จจริงต่างๆ ปรากฏอย่างชัดเจนว่ามีการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศด้วยการใช้กองกำลังทหาร อย่างเกินความจำเป็น การกักขังโดยพลการต่อเนื่องเป็นเวลานาน และการทำให้หายสาบสูญ และยังมีระบบการประหัตประหารทางการเมืองที่ปฏิเสธเสรีภาพในการมีส่วนร่วมทาง การเมืองและในการแสดงออกของพลเมือง รวมถึงกลุ่มคนเสื้อแดง  มีหลักฐานว่ามีการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรงเพียงพอที่จะดำเนินการสืบ สวนข้อเท็จจริงอย่างเป็นอิสระและเป็นกลาง เพื่อที่ผู้ที่กระทำความผิดกฎหมายอาญาระหว่างประเทศจะถูกนำตัวเข้าสู่กระบวน การยุติธรรม จากประวัติศาสตร์ความเป็นปรปักษ์ต่อการเคลื่อนไหวของกลุ่มคน เสื้อแดง ทำให้เป็นการสมเหตุสมผลที่จะยืนยันให้มีการตรวจสอบข้อเท็จจริงต่างๆ อย่างเหมาะสม ด้วยหน่วยงานที่เป็นกลางและเป็นอิสระ เพื่อที่ผู้ที่รับผิดชอบจะต้องรับผิดตามที่กำหนดโดยกฎหมายระหว่างประเทศ

เป้าหมายประการที่สองเกี่ยวข้องกับพันธกรณีของประเทศไทยในการสืบสวนการ ละเมิดสิทธิมนุษยชนที่อาจเกิดขึ้นในด้านสิทธิทางการเมือง  หลังจากการรัฐประหารในปี 2549 และในระหว่างที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ดำรงแหน่งนายกรัฐมนตรี รัฐบาลที่มีทหารหนุนหลังพยายามที่จะรวบรวมอำนาจของตนโดยการกดขี่ปราบปรามการ คัดค้านทางการเมืองของกลุ่มคนเสื้อแดง  มาตรการประการหนึ่งก็คือ การปราบปรามขบวนการเคลื่อนไหวนั้นมีการประทุษร้ายประชาชนพลเรือนที่ไร้อาวุธ อย่างเป็นระบบและอย่างเป็นวงกว้าง ซึ่งอาจเข้าข่ายอาชญากรรมต่อมนุษยชาติตามธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญา ระหว่างประเทศซึ่งกำหนดให้จัดตั้งศาลอาญาระหว่างประเทศในกรุงเฮกอีกด้วย  แม้ว่าประเทศไทยจะไม่ได้ให้สัตยาบันต่อธรรมนูญกรุงโรมฯ แต่การโจมตีเช่นนี้ก็อาจจะเป็นเหตุเพียงพอให้ได้รับการพิจารณาให้เข้าสู่การ พิจารณาของศาลอาญาระหว่างประเทศได้หากเป็นการดำเนินการโดยรู้ถึงการกระทำ นั้นภายใต้นโยบายที่ยอมให้เกิดหรือสนับสนุนให้เกิดความสูญเสียแก่ชีวิตโดย ไม่จำเป็น หรือเป็นนโยบายที่ออกแบบมาเพื่อโจมตีกลุ่มทางการเมืองที่เฉพาะเจาะจงกลุ่มใด กลุ่มหนึ่ง มีหลักฐานมากมายที่ชี้ว่าแผนต่อต้านคนเสื้อแดงที่ดำเนินมาเป็น ระยะเวลา 4 ปีนั้น กำลังดำเนินการอยู่ในปัจจุบันภายใต้นโยบายที่รับรองโดยรัฐบาลอภิสิทธิ์ และการสังหารหมู่คนเสื้อแดงที่เพิ่งผ่านมาก็เป็นเพียงการปฏิบัติตามนโยบาย ดังกล่าวครั้งล่าสุดเท่านั้น

สมุดปกขาวเล่มนี้ศึกษาการเกิดขึ้นของความรุนแรงในประเทศไทย รวมถึงการปฏิบัติการทางทหารในเดือนเมษายนและเดือนพฤษภาคม 2553 รวมทั้งการปราบปรามในเดือนเมษายนปี 2552 ที่มีประชาชนเสียชีวิตอย่างน้อย 2 คน จากแง่มุมของหลักประกันตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิ ทางการเมือง หลักฐานต่างๆ นั้นเพียงพอต่อการสืบสวนโดยหน่วยงานที่เป็นอิสระและเป็นกลางถึงนัยยะทางอาญา ของการประหัตประหารทางการเมืองเช่นนี้ตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ

วัตถุประสงค์ประการที่สามของสมุดปกขาวเล่มนี้คือเพื่อยืนยันถึงสิทธิตาม กฎหมายระหว่างประเทศของสมาชิกนปช.หลายร้อยคนที่กำลังเผชิญข้อหาทางอาญาจาก การเข้าร่วมการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง  กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองรับรองสิทธิใน การต่อสู้ดคีอย่างยุติธรรม รวมถึงสิทธิที่จะเลือกทนายของตนเอง เพื่อเตรียมการต่อสู้คดีโดยมีเวลาและสิ่งอำนวยความสะดวกอย่างเพียงพอ และสิทธิในการสามารถเข้าถึงหลักฐานได้อย่างเท่าเทียม[1] ผู้ถูกกล่าวหามีสิทธิในการตรวจสอบหลักฐานอย่างอิสระผ่านทางผู้เชี่ยวชาญหรือ ทนายของตนเอง ภายใต้เงื่อนไขเดียวกันกับรัฐบาล และมีสิทธิในการเรียกพยานหลักฐานฝ่ายตนเพื่อแก้ต่างให้ตนเองได้[2]

เพื่อเป็นการตอบสนองต่อข้อประท้วงของนานาชาติเกี่ยวกับความรุนแรงในเดือน เมษายนและพฤษภาคม นายอภิสิทธิ์ได้ประกาศโร้ดแมปเพื่อการปรองดองและได้ตั้งคณะกรรมการสืบสวนข้อ เท็จจริงขึ้นมาอย่างเป็นทางการ สิ่งที่หายไปจากโร้ดแมปของอภิสิทธิ์ก็คือ ความเป็นอิสระและความเป็นกลางอย่างแท้จริงในกระบวนการตรวจสอบตัวเอง  นายคณิต ณ นคร อดีตอัยการสูงสุด ที่ได้รบแต่งตั้งให้นำคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง ได้บอกกับสื่อมวลชนในเกือบจะในทันทีทันใดว่าเขาสนใจในการ “ส่งเสริมการให้อภัย” มากกว่าการเรียนรู้ข้อเท็จจริง[3] การละเลยเช่นนี้อาจจะสอดคล้องกับแนวความคิดเรื่องการปรองดองแบบเดิมๆ ของไทย ที่ให้นิรโทษกรรมแก่ผู้ที่สังหารผู้ชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตยในปี 2516, 2519 และ 2535 หลายร้อยคน แต่ไม่ทำอะไรกับการสืบหาข้อเท็จจริงหรือส่งเสริมการสมานฉันท์ที่แท้จริงเลย

ปัจจัยหลายอย่างได้ชี้ให้เห็นว่าจำเป็นที่จะต้องมีการเข้ามาเกี่ยวข้อง จากประชาคมโลก เพื่อรักษาการสืบสวนการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นทุกกรณีอย่างเป็นอิสระ และเป็นกลาง  ประการแรก รัฐบาลไม่มีทีท่าจะยอมอ่อนข้อในการยึดอำนาจทางการเมือง โดยการให้ผู้นำทหารและพลเรือนถูกดำเนินคดีอาชญากรรมระหว่างประเทศ ประการที่ สอง การกักขังตัวที่ยาวนานและการไม่สนใจในกระบวนการดำเนินคดีอย่างเป็นธรรมของคน เสื้อแดงหลายร้อยคนที่ถูกรัฐบาลตัดสินไปแล้วว่าเป็น “ผู้ก่อการร้าย” นั้นทำให้เกิดการตั้งคำถามถึงความเป็นธรรมของการสอบข้อเท็จจริงในกรณีนี้  ประการที่สาม คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงของอภิสิทธิ์ทำงานรับใช้ความต้องการของนายก รัฐมนตรี และไม่มีหน้าที่ที่ชัดเจนในการสืบสวนหรือดำเนินคดีกับรัฐบาล ส่วนความสามารถในการค้นหาข้อเท็จจริงของคณะกรรมการก็ถูกขัดขวางโดยกฎระเบียบ ต่างๆ ที่ออกภายใต้การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่ถูกเหมือนจะยังคงมีผลในช่วงเวลาส่วนใหญ่ของการดำเนินการของคณะ กรรมการ ประการสุดท้าย การวิเคราะห์หลักฐานของรัฐบาลไทยนั้นมีแนวโน้มจะโอนเอียงและเชื่อถือไม่ได้ ตามที่มักจะเป็นในทุกครั้งที่รัฐบาลต้องตรวจสอบตัวเอง การที่รัฐบาลยึดมั่น กับผู้สืบสวนที่เลือกมาจากฐานของการถือข้างมากกว่าจากฐานของความเชี่ยวชาญทำ ให้กระบวนการไต่สวนทั้งหมดมีมลทิน การสืบสวนข้อเท็จจริงที่มีอคติ ไม่เป็นกลาง และตอบสนองผลประโยชน์ของรัฐบาลทหารนั้นก็เท่ากับไม่มีการสืบสวนเลย

ไม่เป็นที่ถกเถียงเลยว่าประเทศไทยควรจะก้าวให้พ้นความรุนแรง และดำเนินการให้เกิดความปรองดอง  ทว่าความปรองดองนั้นจำเป็นต้องเริ่มด้วยการฟื้นคืนสิทธิขั้นพื้นฐานของ ประชาชนในการปกครองตนเอง ยิ่งไปกว่านั้นความปรองดองนี้ยังต้องการความรับผิดอย่างเต็มที่ต่อการละเมิด สิทธิมนุษยชนขั้นร้ายแรงที่กระทำไปเพื่อยับยั้งสิทธิในการปกครองตนเองนั้น  กฎหมายระหว่างประเทศกำหนดไว้ว่าไม่อาจยอมรับสิ่งที่น้อยไปกว่านี้ได้

000

บทที 2 เส้นทางไปสู่การปกครองระบอบประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญของประเทศไทย

ประเทศไทยปกครองด้วยระบอบ “ประชาธิปไตย” โดยทางการมาตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์มา เป็นระบอบภายใต้รัฐธรรมนูญเมื่อปีพ.ศ. 2475 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  ในความจริง นอกจากช่วงเวลาที่เป็นเผด็จการทหารอย่างรุนแรงในระหว่างปี พ.ศ. 2501- 2512 แล้ว ประเทศไทยมีการเลือกตั้งฝ่ายนิติบัญญัติเป็นประจำมาตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการ ปกครอง  ทว่า อำนาจมักจะถูกเปลี่ยนมือด้วยการรัฐประหารโดยทหารมากกว่าด้วยกระบวนการตามรัฐ ธรรมนูญที่ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล และนำรัฐธรรมนูญฉบับที่หนุนหลังโดยทหารและรัฐบาลที่แต่งตั้งโดยทหารเข้ามา แทนที่รัฐธรรมนูญและรัฐบาลของช่วงเวลานั้น รัฐธรรมนูญในช่วงหลังจากรัฐบาล มักจะถูกร่างขึ้นเพื่อรักษาการควบคุมของกลุ่มที่ก่อการรัฐประหาร ไม่ว่าผู้ก่อการจะตั้งใจใช้อำนาจโดยตรงหรือโดยอ้อมผ่านทางการให้ตัวแทนหรือ การเข้าควบคุมจัดการรัฐบาลพลเรือนที่อ่อนแอ การจัดการเช่นนี้จะยังคงมีผล บังคับใช้ไปจนกว่าจะมีกลุ่มทหารกลุ่มอื่นทำรัฐประหารครั้งใหม่ และนำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่ออกแบบมาเพื่อทำให้สมดุลย์อำนาจใหม่ได้รับการ รับรองในกฎหมายขึ้นมาใช้[4] วิธีปฏิบัติเช่นนี้ดำเนินเรื่อยมา ผ่านทางการรัฐประหารโดยทหารที่สำเร็จ 11 ครั้ง รัฐธรรมนูญ 14 ฉบับ และแผนการและปฏิบัติการล้มล้างรัฐบาลที่ไม่สำเร็จอีกหลายครั้ง ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2475 มาจนถึงเดือนพฤษภาคม 2535

ตลอดช่วงเวลาเหล่านี้ ประเทศไทยมีช่วง “ประชาธิปไตย” สั้นๆ เพียงสามครั้งที่หยั่งรากอยู่ในเสรีภาพในการแสดงความเห็นและการแข่งขันในการ เลือกตั้งอย่างแท้จริง  โดยครั้งแรกคือหลังจากการใช้รัฐธรรมนูญฉบับพ.ศ. 2507 และครั้งที่สองคือหลังจากการประท้วงใหญ่ในปี 2516  ครั้งที่สามคือหลังการเลือกตั้งที่ได้พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อปี 2531 ในทั้งสามครั้งนี้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งถูกล้มล้างด้วยกระบอกปืนของกอง กำลังทหาร และถูกแทนที่ด้วยระบอบที่เหมาะสมกับการคุ้มครองอำนาจของกลุ่มอำนาจเก่าและผล ประโยชน์ทางเศรษฐกิจขนาดใหญ่ของพวกเขามากกว่า

นอกจากช่วงเวลาสั้นๆ เหล่านั้นแล้ว ประเทศไทยตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นมาถูกปกครองโดยระบอบที่มีส่วนผสมของประชาธิปไตยและเผด็จการแตกต่าง กันไป สิ่งที่ทุกระบอบมีเหมือนกันก็คือ เครือข่ายของเจ้าหน้าที่รัฐในราชการพลเรือนและทหาร หรือที่เรียกว่ากลุ่มอำมาตย์ ที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของอำนาจทางการเมืองที่แท้จริง ไม่ใช่ผู้ที่ได้รับการเลือกตั้งขึ้นมา ผู้แทนของประชาชนมีอิสรภาพระดับหนึ่ง และมีมากขึ้นในช่วงสามทศวรรษที่ผ่านมา แต่ภายใต้ระบบอำมาตยาธิปไตย (คำที่ใช้เรียกระบบรัฐบาลที่ถูกควบคุมโดยกลุ่มอำมาตย์ มักจะใช้ในทางตรงข้ามกับ “ประชาธิปไตย”) รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งไม่เคยได้รับสิทธิในการกำหนดให้ทหารอยู่ภายใต้ การควบคุมของพลเรือน และเข้าควบคุมกระบวนการกำหนดนโยบายได้ ที่จริงแล้ว แนวคิดเรื่อง “ประชาธิปไตยแบบไทยๆ” ได้ถูกจัดขึ้นโดยรัฐไทยตั้งแต่ช่วงต้นทศวรรษที่ 2500 เป็นต้นมา โดยหมายถึงรูปแบบรัฐบาลที่มีการเลือกตั้งเกิดขึ้น แต่มีการกำหนดข้อจำกัดเข้มงวดเรื่องเสรีภาพของพลเมือง และเรื่องขอบเขตอำนาจที่เจ้าหน้าที่ที่มาจากการเลือกตั้งสามารถใช้ได้ ระบบ รัฐบาลแบบนี้ที่อยู่บนฐานของการยินยอมอย่างไม่ใยดีของประชากรไทยส่วนใหญ่ ได้รักษาอำนาจของทหาร ข้าราชการ นายทุนขนาดใหญ่ และกลุ่มองคมนตรี (หรือเรียกรวมๆว่า “กลุ่มอำนาจเก่า”) ในการกำหนดนโยบายระดับชาติส่วนใหญ่เอาไว้

เหตุการณ์ต่างๆ หลังจากการยึดอำนาจจากนายกรัฐมนตรีพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ โดยกองทัพที่นำโดยพลเอกสุจินดา คราประยูร เมื่อปีพ.ศ. 2533 ถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในเรื่องอำนาจนำของกลุ่มอำนาจเก่าที่ไม่ได้มาจากการ เลือกตั้งเหนือระบบการเมืองไทย การประท้วงโดยประชาชนจำนวนมากที่ต่อต้านการ ขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีของพลเอกสุจินดา หลังจากที่มีการเลือกตั้งที่มีเปลือกนอกว่าเป็น “ประชาธิปไตย” ในเดือนมีนาคม 2535 ได้นำไปสู่การปะทะรุนแรงเป็นประวัติการณ์ระหว่างพลเรือนกับทหารในช่วงวันที่ 17-20 พฤษภาคม ผู้ประท้วงหลายสิบคนที่เรียกร้องให้พลเอกสุจินดาลาออกและนำประเทศ กลับสู่ระบอบประชาธิปไตยถูกสังหารโดยโหดร้ายโดยทหารในช่วงระหว่างเหตุการณ์ “พฤษภาทมิฬ” ปี 2535 ในท้ายที่สุด พลเอกสุจินดา ได้ลาออกหลังจากที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้แทรกแซงต่อสาธารณะ และปูทางให้มีการเลือกตั้งครั้งใหม่ในเดือนกันยายน 2535

โศกนาฏกรรมพฤษภาทมิฬทำให้ประเทศเดินเข้าสู่หนทางการเป็น “ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” อย่างแท้จริง และมีกระบวนการปฏิรูปเป็นเวลานานห้าปี อันสิ้นสุดลงด้วยการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2540 ด้วยการมีส่วนร่วมอย่างสูงในกระบวนการที่นำไปสู่การออกรัฐธรรมนูญ รวมถึงการที่มีเนื้อหาเป็นประชาธิปไตยอย่างไม่กำกวม รัฐธรรมนูญฉบับพ.ศ. 2540 นี้จึงเป็นที่รู้จักกันในนาม “รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน”

รัฐธรรมนูญฉบับพ.ศ. 2540 นำมาซึ่งยุคใหม่แห่งการเมืองที่ไม่มีการกีดกันในไทย  เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ไทยที่ผู้แทนของประชาชนเป็นผู้ร่างและรับรอง รัฐธรรมนูญ ไม่ใช่เป็นการกำหนดมาจากเบื้องบนอย่างแต่เดิม นำไปสู่ยุคแห่งประชาธิปไตยที่แท้จริง ความโปร่งใส และการรับผิดตรวจสอบได้  รัฐธรรมนูญฉบับนี้รับรองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพของพลเมือง ซึ่งฉบับก่อนหน้านี้ไม่ได้รองรับ และยังกำหนดกลไกอีกบางประการ รวมถึงเรื่องการเลือกตั้งสภาทั้งสอง ระบบการเลือกตั้งแบบปาร์ตี้ลิสต์เพื่อมาใช้พร้อมกับระบบแบ่งเขตแบบเดิม และตั้งคณะกรรมการการเลือกตั้งที่ออกแบบมาเพื่อรับประกันว่าจะมีรัฐบาลตัว แทนอย่างเต็มที่ และเพื่อสร้างสนามเลือกตั้งที่เท่าเทียมกันสำหรับผู้สมัครรับเลือกตั้ง ในขณะที่ยังรักษาความเป็นธรรมและความซื่อสัตย์เอาไว้ให้ได้[5] ที่สำคัญก็คือ รัฐธรรมนูญพ.ศ. 2540 นี้ยังห้ามการใช้สิทธิหรือเสรีภาพในการล้มล้างการปกครองแบบประชาธิปไตย และยังห้ามความพยายามใดๆ ในการ “ให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทาง ที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับนี้”[6] และยังห้ามทำการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญยกเว้นแต่เป็นไปตามหลักการและวิธีการที่บัญญัติไว้[7]

รัฐธรรมนูญพ.ศ. 2540 ยังได้สร้างเสถียรภาพทางการเมืองอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน รัฐธรรมนูญ ฉบับนี้ได้รับการรับรองในช่วงที่มีวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจและทางการเงินอย่าง หนักในประเทศ การส่งออกลดลงและความกังวลเรื่องสถานการณ์ของภาคการเงินทำให้เกิดการไหลออก ของทุนขนาดใหญ่อย่างทันที จนเกิดวิกฤตอัตราแลกเปลี่ยนในช่วงปลายปีพ.ศ. 2540[8] ในสถานการณ์ที่ประชาชนต่างไม่พอใจรัฐบาลที่ไม่สามารกู้วิกฤติเศรษฐกิจของปะ เทศได้ จึงเป็นที่คาดกันว่าอาจจะเกิดการรัฐประหารครั้งที่ 12 อย่างแน่นอน  แต่ถึงกระนั้นวิกฤติเศรษฐกิจในปี 2540 ก็ไม่ได้นำไปสู่วิกฤตทางการเมือง  ข้อผูกพันมุ่งมั่นของประเทศที่จะเป็นประชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญอย่างแท้ จริงดูเหมือนจะยังคงถูกรักษาไว้ได้ในที่สุด[9]

รัฐธรรมนูญ 2540 ยังกำหนดยุทธศาสตร์ทางการเมืองแบบใหม่  ก่อนหน้านี้พรรคการเมืองที่อ่อนแอและแตกแยกต้องขึ้นอยู่กับผู้มีอิทธิพลใน ท้องถิ่นและเครือข่ายเส้นสายของระบบอุปถัมภ์ ในการระดมพลังสนับสนุนในพื้นที่การเลือกตั้งส่วนใหญ่ของประเทศ เนื่องจากพรรคเหล่านั้นมีเนื้อหาเชิงโครงการน้อยมาก และมีภาพลักษณ์ของพรรคไม่ชัดเจน  ด้วยระบบตรวจสอบและถ่วงดุลย์ การป้องกันการคอร์รัปชั่น และด้วยบทบัญญัติใหม่ๆ ที่เสริมอำนาจของฝ่ายบริหารโดยการทำให้นายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งมี ความเปราะบางต่อการแปรพรรคน้อยลง รัฐธรรมนูญพ.ศ. 2540 ได้เปิดช่องทางให้เกิดการเติบโตของผู้นำทางการเมืองใหม่ๆ ที่พยายามจะสร้างพรรคการเมืองระดับชาติที่เข้มแข็งที่อยู่บนฐานของวาระ นโยบายเชิงโครงการที่ชัดเจน ที่อาจจะเป็นที่สนใจของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั่วประเทศ นี่เป็นบริบทที่ทำให้ ทักษิณ ชินวัตร ตั้งพรรคไทยรักไทยและนำพรรคไปสู่ประสบความสำเร็จในการเลือกตั้งในปี 2544 และ 2548 อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ทำให้จินตนารของคนนับล้านๆเป็นจริง และได้มอบปากเสียงให้แก่พลังทางการเมืองที่ปัจจุบันนี้คัดค้านการบริหาร ปกครองของอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อย่างมั่นคง

000

บทที่ 3 การขึ้นสู่อำนาจของพรรคไทยรักไทย

ทักษิณ ชินวัตร เกิดเมื่อปีพ.ศ. 2492 เป็นคนจังหวัดเชียงใหม่ จบการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยตำรวจในปีพ.ศ. 2516 และรับราชการเป็นเวลา 14 ปี จนมียศพันตำรวจโท ซึ่งในระหว่างนั้นเขาได้ลาไปศึกษาต่อขั้นปริญญาโทและปริญญาเอกในสาขาอาชญา วิทยาที่มหาวิทยาลัย Eastern Kentucky และมหาวิทยาลัย Sam Houston ในเท็กซัส

ในปีพ.ศ. 2526 ขณะรับราชการตำรวจอยู่นั้น ทักษิณก่อตั้งบริษัทชินวัตร คอมพิวเตอร์แอนด์คอมมิวนิเคชั่นส์กรุ๊ป กับภรรยาและพี่ชายภรรยา หลังจากออกจากราชการตำรวจในปี 2530 และทุ่มเทความสนใจทั้งหมดให้กับธุรกิจ บริษัทของเขาก็เติบโตเป็นบริษัทชิน คอร์ป  ในช่วงทศวรรษ 1990s (2533-2542) บริษัทนี้เป็นผู้บุกเบิกธุรกิจโทรคมนาคมโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่กำลังเริ่มต้น ในประเทศไทย ในปี 2537 อันเป็นปีที่เขาเข้าสู่วงการการเมือง นิตยสาร Forbes ประเมินว่าเขามีทรัพย์สินประมาณ 1.6 พันล้านเหรียญ

ทักษิณเข้าสู่การเมืองโดยเข้าร่วมในรัฐบาลชวน หลีกภัย ในปี 2537 เมื่อเขาได้รับแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในฐานะสมาชิกพรรคพลังธรรมของพลตรีจำลองศรีเมือง จากนั้นเขาก็เป็นรองนายกรัฐมนตรีในช่วงเวลาสั้นๆ ในรัฐบาลบรรหาร ศิลปอาชา (2538-2539) และรัฐบาลชวลิต ยงใจยุทธ (2540)  ในวันที่ 14 กรกฏคม 2541 เขาก่อตั้งพรรคไทยรักไทยอย่างเป็นทางการร่วมกับสมาชิกพรรครุ่นก่อตั้ง 22 คน  ภายใต้การนำของทักษิณ ไม่นานพรรคก็ประสบความสำเร็จอย่างที่ไม่เคยมีพรรคการเมืองใดทำได้มาก่อนเลย ในประเทศไทย

ในความพยายามที่จะแก้ปัญหาวิกฤตการเงินในปี 2540 รัฐบาลไทยได้ขอความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF)  เงินกู้จำนวน 1.7 หมื่นล้านเหรียญนั้นต้องแลกมาด้วยกับการยอมรับเงื่อนไขของ IMF ที่จะต้องมีการปฏิรูประบบการเงิน การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ และมาตรการอื่นๆ เพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติ (foreign direct investment)[10] ในช่วงแรก การปฏิรูปเหล่านี้ก่อให้เกิดภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรง ค่าจ้างตกต่ำลง อัตราว่างงานเพิ่มขึ้น ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสภาพความเป็นอยู่ของเกษตรกรและแรงงาน[11] บรรดานักธุรกิจชั้นนำในกรุงเทพฯ ที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงได้เข้าร่วมขบวนการชาตินิยมที่กำลังขยายตัวต่อ ต้าน IMF และพรรคประชาธิปัตย์ที่เป็นรัฐบาลขณะนั้น  นายกฯ ชวน หลีกภัยถูกโจมตีจากหลายด้าน  ทั้งภาคธุรกิจขนาดใหญ่ นักวิชาการ องค์กรประชาสังคมก่นประนามเขาว่าทำลายเศรษฐกิจ รับนโยบายจากต่างประเทศ ปล่อยให้ต่างชาติเข้ามาฮุบทรัพย์สินของไทยในราคาถูก[12]

ในระหว่างการหาเสียงเลือกตั้งในเดือนมกราคม 2544 พรรคไทยรักไทยของทักษิณปราศรัยถึงประเด็นเหล่านี้อย่างดุเดือด พรรคมีนโยบาย ให้ความสำคัญกับเศรษฐกิจ สาธารณสุข การศึกษา และพลังงาน ในขณะเดียวกันนโยบายสวัสดิการสังคมของไทยรักไทยและการพัฒนาชนบทก็ได้รับความ นิยมอย่างมากจากชนชั้นแรงงานในเมืองและเกษตรกรในต่างจังหวัดที่ได้รับผล กระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจมากที่สุด

ด้วยมาตรฐานของประเทศที่คุ้นชินกับการมีรัฐบาลผสมที่เคยประกอบด้วยพรรค การเมืองมากถึง 16 พรรค พรรคไทยรักไทยชนะการเลือกตั้งทั่วไปในปี 2544 ซึ่งเป็นการเลือกตั้งครั้งแรกภายใต้รัฐธรรมนูญปี 2540 อย่างถล่มทลาย ได้ที่นั่งในสภาถึง 248 ที่นั่งจากทั้งหมด 500 และเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ไทย ที่พรรคการเมืองหนึ่งเกือบจะได้เสียงข้างมากในสภา และผลจากการเลือกตั้ง ทักษิณ ชินวัตรก็ได้รับเลือกให้เป็นนายกฯ คนที่ 23 ของไทย

ชัยชนะของพรรคไทยรักไทยที่หีบเลือกตั้งและการเพิ่มจำนวนสส.จากการรวมกับ พรรคอื่นในภายหลังนำไปสู่สภาพการณ์ชนิดที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนกลุ่มอำนาจ เก่าของไทย ซึ่งก็คือ องคมนตรี ผุ้นำกองทัพ ข้าราชการระดับสูง ศาลระดับสูง ผู้นำทางธุรกิจ ที่ได้สะสมความมั่งคั่งในระบบการเมืองก่อนที่จะมีทักษิณ ก็สนับสนุนการการขึ้นมาของทักษิณอย่างกระตือลือล้นในช่วงแรก แต่เมื่อความชอบธรรมจากการกุมเสียงส่วนใหญ่ในสภาทำให้นายกฯ อยู่ในฐานะที่สามารถผลักดันนโยบายของพรรคไทยรักไทยได้โดยไม่จำเป็นต้องต่อ รองหรือขอความเห็นชอบจากกลุ่มอำนาจเก่า ความเข้มแข็งที่ได้มาด้วยความนิยมชม ชอบของประชาชนในการเลือกตั้ง คุกคามอำนาจในการกำหนดนโยบายประเทศที่พวกอมาตย์ยึดกุมมาตลอดตั้งแต่ประเทศ ไทยดูคล้ายจะเป็นประชาธิปไตยมา

ก่อนหน้านี้กลุ่มอำนาจเก่ากุมอำนาจเหนือระบบการเมืองของประเทศและนักการ เมืองที่มาจากการเลือกตั้ง โดยอาศัยยุทธวิธีแบ่งแยกและปกครอง  ภาวะเบี้ยหัวแตกของระบบพรรคการเมืองของไทยได้ป้องกันการรวมตัวเป็นกลุ่ม ก้อนที่มีฐานจากการเลือกตั้งที่จะสามารถท้าทายอำนาจนอกรัฐธรรมนูญของกลุ่ม อำนาจเก่า การเลือกตั้งปี 2544 ทำให้ทักษิณมีฐานมวลชนสนับสนุนอย่างไม่เคยปรากฎมาก่อน ซึ่งเขาใช้ฐานสนับสนุนนั้นในการทำสิ่งที่เขาได้สัญญาไว้  ในช่วง 1 ปีแรก เขาดำเนินนโยบายตามที่ได้เสนอไว้ในการหาเสียง ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในประวัติศาสตร์การเมืองไทย[13] ทักษิณยังกลายเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกในประวัติศาสตร์ไทยที่ทำงานครบวาระ  พรรคไทยรักไทยหาเสียงในการเลือกตั้งปี 2548 ด้วยนโยบายต่อเนื่องภายใต้สโลแกน สี่ปีซ่อม สี่ปีสร้าง[14] และผลการเลือกตั้งในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2548 ก็เป็นชัยชนะที่ถล่มทลายยิ่งกว่าเดิม หลังจากการเลือกตั้งปี 2548 พรรคไทยรักไทยกุมเสียงข้างมากถึง 75 เปอร์เซ็นต์ของที่นั่งในสภา พรรคฝ่ายค้านที่ใหญ่ที่สุดคือประชาธิปัตย์สูญเสียที่นั่งกว่าหนึ่งในสี่ เหลือไม่ถึง 20 เปอร์เซ็นต์ของที่นั่งในสภา และถือเป็นครั้งแรกอีกเช่นเดียวกันที่ทักษิณได้รับเลือกตั้งให้เป็นนายกฯ อีกครั้ง

ในขณะที่หลายคนในกลุ่มอำนาจเก่าของไทยเคยมองทักษิณว่าเป็นคนที่อาจสามารถ ช่วยกอบกู้ให้พ้นจากวิกฤตเศรษฐกิจเอเชีย ที่ทำลายความมั่งคั่งของพวกเขาไปไม่น้อย พอเริ่มต้นวาระที่สอง ทักษิณก็ได้กลายเป็นภัยคุกคามร้ายแรงต่อผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและอำนาจทาง การเมืองของกลุ่มอำนาจเก่า  มาถึงปี 2548 นี้ ทักษิณไม่เพียงแต่ยึดกุมสนามการเลือกตั้งในประเทศไทยได้เท่านั้น การที่เขาได้รับความนิยมจากประชาชนอย่างไม่เคยปรากฎมาก่อนยังทำให้เขามี โอกาสขับเคลื่อนในทิศทางที่ดึงอำนาจตามรัฐธรรมออกมาจากกลุ่มอำนาจเก่า ชนิดที่ไม่มีนายกฯ พลเรือนคนไหนเคยทำได้มาก่อน ทั้งที่โดยข้อเท็จจริงแล้วรัฐธรรมนูญของประเทศ ไทยส่วนใหญ่ก็มอบอำนาจดังกล่าวไว้แก่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งอยู่แล้ว

รัฐบาลทักษิณมีลักษณะเป็นภัยคุกคามหลายประการต่อกลุ่มหลักๆ 4 กลุ่มที่ประกอบเป็นกลุ่มอำนาจเก่าของไทยอันได้แก่ 1) กลุ่มธุรกิจการเงินในกรุงเทพฯ 2) ผู้นำทางทหาร 3) ข้าราชการพลเรือนชั้นสูง 4) กลุ่มองคมนตรี

พวกนักธุรกิจชั้นนำในกรุงเทพฯ ที่ทักษิณเคยทอดสะพานให้ครั้งเขาลงชิงตำแหน่งนายกฯ ครั้งแรก กลับหันมาต่อต้านรัฐบาลพรรคไทยรักไทยเพราะดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจที่มุ่ง เน้นไปที่เกษตรกรและคนจนในเมือง ตลอดจนการเปิดเสรีทางการค้า โดยผู้ต่อต้านนั้นพูดอย่างชัดเจนว่า “เป้าประสงค์นั้นคือการต่อต้านนโยบายแบบทักษิโนมิคส์” [15]

น่าขำที่ทักษิณมักถูกโจมตีเรื่อง “ประชานิยม” (เมื่อเร็วๆนี้ พวกเสื้อแดงก็ถูกเรียกว่าเป็นพวก “มาร์กซิสต์”) การสนับสนุนการค้าเสรีของเขานั่นเองที่สร้างความระคายเคืองแก่คนรวยมากที่ สุด นักประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ Suehiro Akira อธิบายเศรษฐกิจประเทศไทยยุคหลังสงครามว่าถูกครอบงำโดยครอบครัวที่เป็น “client capitalist” ไม่กี่สิบครอบครัว ที่ยึดกุมและรักษาการผูกขาดเกือบโดยสิ้นเชิงเหนือภาคส่วนทางเศรษฐกิจขนาด ใหญ่จำนวนมาก ซึ่งเป็นผลจากเส้นสายความสัมพันธ์ที่พวกเขามีกับเจ้าหน้าที่ รัฐที่ทรงอิทธิพล  ในการแลกเปลี่ยนเพื่อความมั่งคั่งส่วนตัว เจ้าหน้าที่รัฐที่มีอำนาจในฝ่ายพลเรือนหรือนายทหารระดับสูงจะคอยดูแลให้ กลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ภายในประเทศต้องได้รับผลประโยชน์จากนโยบายต่างๆ ความอ่อนแอของกลุ่มผู้ใช้แรงงาน และการป้องกันการแข่งกันจากภายในและภายนอกประเทศของรัฐ[16]

วิกฤติการเงินเอเชียทำให้หลายครอบครัวในกลุ่มนี้ต้องมีหนี้สิน ทำให้พวกเขาต้องยอมขายกิจการให้กับต่างชาติ รัฐบาลไทยได้เข้ามาช่วยเหลือธุรกิจขนาดใหญ่เมื่อต้นปี 2544 โดยการจัดตั้งบรรษัทบริหารสินทรัพย์แห่งชาติ เพื่อซื้อหนี้เงินกู้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (non-performing loans)มูลค่า1.2 พันล้านเหรียญทั้งที่เกิดจากภาครัฐและเอกชน[17] ซึ่งหนี้เงินกู้เหล่านี้หลายตัวก็ยังคงไม่ก่อรายได้ (underperforming)อยู่จนถึงปี 2548 และบริษัทที่กู้เงินก็ยังมีหนี้ค้างชำระกับธนาคารจำนวนมาก[18] ภายใต้การบริหารงานของทักษิณ บรรดานักธุรกิจชั้นนำของกรุงเทพ ผู้ซึ่งแต่ไหนแต่ไรมาเคยอาศัยอิทธิพลทางการเมืองในการปกป้องผลประโยชน์ทาง ธุรกิจของตน เริ่มที่จะเสี่ยงต่อการสูญเสียอิทธิพลที่มีต่อรัฐบาลและสถาบันอื่นๆ ของรัฐ ทำให้พวกเขาตกอยู่ในฐานะที่อ่อนแอในการต่อรองกับธนาคารเกี่ยวกับหนี้ที่ยัง ค้างชำระ  นอกจากนี้ การที่นโยบายเศรษฐกิจของไทยรักไทยมุ่งเน้นสนับสนุนการค้าเสรีก็คุกคามกลุ่ม ธุรกิจภายในประเทศให้ต้องเผชิญกับการแข่งขันจริงๆ อีกด้วย ซึ่งเป็นสิ่งที่พวกเขาไม่คุ้นที่จะต้องเผชิญ[19] ครอบครัวที่ควบคุมอาณาจักรเศรษฐกิจขนาดใหญ่อย่าง ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกสิกรไทย ไทยเบเวอเรจ เจริญโภคภัณฑ์กรุ๊ป และทีพีไอ โพลีน กลายมาเป็นปฏิปักษ์ตัวฉกาจของทักษิณ

นอกจาก client capitalists เหล่านี้แล้ว นโยบายของทักษิณได้คุกคามเครือข่ายราชการ (หรืออำมาตยา) ที่ได้คอยดูแลให้ครอบครัวเหล่านี้มีอำนาจครอบงำเศรษฐกิจไทยมาโดยตลอด  ในด้านหนึ่ง การที่ทักษิณพยายามลดทอนอำนาจของทหาร ข้าราชการ และองคมนตรีในการกำหนดนโยบายประเทศนั้นยังได้ไปบ่อนเซาะเกราะคุ้มกันจากการ แข่งขันที่พวกนักธุรกิจชั้นนำเคยได้รับเสมอมาจากระบบอมาตยาอีกด้วย และในอีกทางหนึ่ง ความมุ่งมั่นของทักษิณที่จะลดบทบาทของสถาบันที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งให้ เหลือเพียงบทบาทที่ไม่เกี่ยวกับการเมืองตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญนั้น ก็เป็นภัยคุกคามต่ออิทธิพลและรายได้ของของกลุ่มอมาตย์

ข้าราชการอาชีพอาจเป็นกลุ่มหันมาต่อต้านรัฐบาลทักษิณเร็วที่สุด ตั้งแต่ แรกทีเดียว ทักษิณได้กำหนดตนเองเป็นตัวเปรียบเทียบกับคนที่อยู่ในระบบราชการและนักการ เมืองอาชีพ  ทันทีที่เข้ามาเป็นรัฐบาล การดำเนินนโยบายของไทยรักไทยทำให้รัฐบาลต้องเข้ามาดูแลกระบวนการกำหนดนโยบาย โดยตรง ซึ่งแต่ไหนแต่ไรมาอยู่ในมือของข้าราชการที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง ในการ พยายามที่จะทำให้รัฐบาลมีอำนาจควบคุมการออกแบบและดำเนินการนโยบายใหม่ๆ ทักษิณได้ทำให้ข้าราชการระดับสูงมีบทบาทลดน้อยถอยลง ทั้งโดยการให้อำนาจแก่ฝ่ายการเมืองและการปฏิรูประบบราชการที่ทำให้เกิด กระทรวงใหม่ขึ้นมาหกกระทรวงเพื่อให้ระบบราชการทำงานได้คล่องแคล่วขึ้น เพิ่มประสิทธิภาพและการสนองตอบต่อรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง[20]

ทักษิณพยายามอย่างหนักที่จะได้รับการสนับสนุนจากกองทัพ[21] ในช่วงเวลาที่ทักษิณเข้ารับตำแหน่ง กองทัพยังคงมีภาพพจน์ที่ไม่ดีที่ผู้นำกองทัพกระทำไว้จากเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ในปี 2535  อย่างไรก็ตาม ด้วยประวัติศาสตร์ของไทย บรรดานายพลก็ยังคงเป็นกลุ่มอำนาจที่รัฐบาลจากการเลือกตั้งไม่สามารถจะมอง ข้ามได้  งบประมาณของกองทัพที่ถูกหั่นลงอย่างมากหลังวิกฤติทางการเงินเอเชีย ค่อยๆ เพิ่มขึ้นในช่วงสมัยแรกของทักษิณ จาก 71.3 พันล้านบาทในปี 2543 เพิ่มขึ้นเป็น 86.7 ในปี 2549[22] ทว่าในเวลาเดียวกัน ทักษิณก็พยายามที่จะทำให้กองทัพอยู่ภายใต้การควบคุมของพลเรือนมากขึ้น ในทางหนึ่งเขาปฏิเสธที่จะเพิ่มค่าใช้จ่ายของกองทัพตามที่ขอมา (ที่กองทัพต้องการนั้นดูได้จากงบประมาณทหารที่เพิ่มขึ้นมา 35 เปอร์เซ็นต์ตามที่คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติอนุมัติหลังการรัฐประหาร)[23] ในอีกทางหนึ่ง ทักษิณใช้การโยกย้ายตำแหน่งเพื่อสร้างความพอใจให้กับผู้ที่ภักดีต่อรัฐบาล และตัวเขาเอง ซึ่งทำให้นายทหารชั้นสูงหลายคนไม่พอใจที่ถูกข้ามหัวหรือเห็นอนาคตตีบตัน[24]

การต่อต้านของเครือข่ายที่ปรึกษาของราชสำนักที่นำโดยประธานองคมนตรี พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ อาจเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการถูกถอดจากตำแหน่งของทักษิณ สำหรับพลเอกเปรมและพันธมิตรแล้ว ประเด็นขัดแย้งคือการบ่อนเซาะอำนาจทางการเมืองที่เป็นผลมาจากความพยายาม อย่างเป็นระบบของทักษิณที่จะขจัดระบบอุปถัมภ์อันเป็นช่องทางที่บรรดาผู้แวด ล้อมราชสำนักใช้อำนาจอิทธิพลในการบริหารราชการแผ่นดินแทบทุกแง่มุม[25] การที่ทักษิณพยายามทำให้กองทัพและราชการพลเรือนอยู่ภายใต้อำนาจของรัฐบาล ตลอดจนลดอิทธิพลของพล.อ.เปรมที่มีต่อศาลและองค์กรอิสระ เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดการต่อต้านจากองคมนตรี  ในปี 2549 หลังจากประสบความสำเร็จในการผลักดันให้พลเอกสนธิ บุญยรัตกลินได้ขึ้นมาเป็นผู้นำกองทัพ พลเอกเปรมก็เริ่มวางแผนการรัฐประหารอยู่หลังฉากและทำการรณรงค์ต่อต้านรัฐบาล อย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน โดยมุ่งหมายบ่อนทำลายความภักดีของกองทัพที่มีต่อรัฐบาลจากการเลือกตั้งเป็น การเฉพาะ[26]

กฎสำคัญข้อหนึ่งที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษรของการเมืองไทยหลังสงครามโลก ครั้งที่สองเป็นต้นมาก็คือ รัฐบาลพลเรือนจะเป็นที่อดรนทนได้ตราบใดที่เป็นรัฐบาลที่อ่อนแอ แตกแยกภายใน ต้องคล้อยตามระบบอมาตยาในกองทัพ ราชการ และองคมนตรี และรับใช้ผลประโยชน์ของนักธุรกิจชั้นนำในกรุงเทพฯ  รัฐบาลใดที่พยายามจะทำในสิ่งที่แตกต่าง ก็จะถูกบ่อนทำลายอย่างเป็นระบบ และหากบ่อนทำลายไม่สำเร็จ ก็จะถูกขจัดออกไปโดยกองทัพ ทักษิณไม่เพียงแต่ละเมิดกฎอันไม่เป็นทางการข้อ นี้ด้วยการทุ่มเทบริหารประเทศอย่างไม่บันยะบันยัง การอยู่ในตำแหน่งนายกฯ จนครบวาระและชัยชนะอย่างถล่มทลายในการเลือกตั้งสองครั้งซ้อนอันเนื่องมาจาก การสนับสนุนอย่างล้นหลามจากมวลชนที่พึงพอใจในนโยบาย เป็นการคุกคามที่จะเปลี่ยนทิวทัศน์ทางการเมืองของไทยโดยขจัดอำนาจนอกรัฐ ธรรมนูญที่มีมาอย่างยาวนานของกลุ่มอำนาจเก่าที่ไม่ได้มาจากการเลือก ตั้ง ด้วยสังขารที่ร่วงโรยของผู้นำที่มีบารมีสูงสุดบางคนของอมาตย์ กลุ่มอำนาจเดิมก็ตัดสินใจว่าจำเป็นต้องลงมืออย่างรวดเร็วและเด็ดขาดเพื่อ ทำลายล้างพรรคไทยรักไทยและการท้าทายอำนาจอย่างใหญ่หลวงที่สุดที่พวกเขาเคย ประสบในรอบหลายทศวรรษที่ผ่านมา

000

4. เส้นทางสู่การรัฐประหาร 2549

เพื่อเป็นการตอบโต้การยืนยันการคุมอำนาจของพรรคไทยรักไทยเหนือระบบการ เมืองของประเทศ กลุ่มก้อนต่างๆ ในกลุ่มอำนาจเก่าของไทยได้ออกมาตรการหลากหลายเพื่อกู้บทบาทของตนคืนมาก่อน ที่มันจะสายเกินไป  พวกเขาให้การสนับสนุนการชุมนุมประท้วงที่ถูกออกแบบมาเพื่อสร้างบรรยากาศสับ สนอลหม่านที่จะสร้างความชอบธรรมในการนำการปกครองโดยทหารกลับมาในประเทศอีก ครั้ง พวกเขายังบ่มสร้างข้อกล่าวหาเรื่องการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพมาใช้  เมื่อยุทธศาสตร์เหล่านี้ล้มเหลวพวกเขาก็อาศัยวิธีการเดิมๆ อย่างการรัฐประหาร

แผนการที่จะขับไล่ทักษิณและพรรคไทยรักไทยเริ่มต้นมาตั้งแต่หลังการเลือก ตั้งทั่วไปในปี 2548  หนึ่งในแกนนำคนสำคัญที่ต่อต้านทักษิณคือสนธิ ลิ้มทองกุล เจ้าพ่อธุรกิจสื่อผู้ล้มเหลวซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นผู้สนับสนุนที่สำคัญของ ทักษิณ  สนธิกล่าวหาว่ารัฐบาลทักษินนั้นเป็นเผด็จการและมีการใช้อำนาจในทางที่ผิด อย่างเป็นระบบ สนธิให้เหตุผลสนับสนุนข้อเรียกร้องให้ทักษิณลาออกว่าเพราะ เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการคุ้มครองพระมหากษัตริย์จากแผนการลับของทักษิณที่ ต้องการให้ประเทศปกครองด้วยระบบประธานาธิบดี

ในกฎหมายและสังคมไทย พระมหากษัตริย์เป็นดั่งสมมติเทพ และได้รับความเคารพนับถืออย่างสูงสุดจากประชาชน  รัฐธรรมนูญฉบับล่าสุดบัญญัติไว้ว่า “องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ”  การไม่แสดงความเคารพนับถือพระมหากษัตริย์โดยทางอ้อมนั้นอาจจะถูกดำเนินคดี ข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ซึ่งมีโทษจำคุกระหว่าง 3-15 ปีสำหรับแต่ละกรรมได้

ที่ร้ายไปกว่านั้น ข้อกล่าวหาที่ว่านายรัฐมนตรีนั้นเป็นภัยใกล้ตัวต่อเกียรติยศของสถาบัน กษัตริย์ หรือตัวองค์พระมหากษัตริย์เอง นั้นดูคล้ายจะเป็นข้ออ้างที่นำไปสู่การกำจัดและเนรเทศอดีตนายกรัฐมนตรีที่มี ชื่อเสียงหลายคนมาแล้ว ข้อกล่าวหาผิดๆ ว่าลอบปลงพระชนม์และเหยียดหยามพระมหากษัตริย์นั้นเป็นฐานของการทำลายชื่อ เสียงและการที่ต้องลี้ภัยอยู่ต่างประเทศอย่างถาวะของนายปรีดี พนมยงค์ หนึ่งในแกนนำของการปฏิวัติในปี 2475 และเป็นวีรบุรุษของขบวนการใต้ดินเสรีไทยที่ต่อต้านญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลก ครั้งที่สอง  พลตำรวจเอกเผ่า สียานนท์ อดีตอธิบดีกรมตำรวจ และจอมพลป. พิบูลสงคราม ก็ถูกโค่นจากอำนาจและเนรเทศออกจากประเทศโดยหนึ่งในสมาชิกสามทรราชย์ในยุค เผด็จการจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ด้วยข้อหาที่ว่าพวกเขาเป็นอันตรายต่อการอยู่รอดของสถาบันฯ ในปี 2534 ก็มีข้อกล่าวหาคล้ายๆ กันต่อพลเอกชาติชาย ชุณหะวัน นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ที่ว่าพลเอกชาติชายได้พยายามที่จะสร้าง “เผด็จการรัฐสภา” อย่างถาวร อันเป็นสิ่งอันตรายยิ่งที่ทำให้นายพลต่างๆ ของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ต้องก่อการรัฐประหาร ในประเทศไทยข้อกล่าวหาว่าไม่จงรักภักดีต่อระบอบ กษัตริย์เป็นเรื่องที่มักจะถูกนำมาใช้ในการพยายามทำลายชื่อเสียง กักขัง เนรเทศ และสังหาร ผู้ที่มีแนวคิดทางการเมืองที่เป็นภัยคุกคามต่ออำนาจที่ถือมั่นอยู่

ครั้งแล้วครั้งเล่า อย่างน้อยตั้งแต่การรัฐประหารของจอมพลสฤษดิ์เมื่อปี 2500 ข้อกล่าวหาว่าด้วยการเป็นภัยต่อสถาบันกษัตริย์นั้นมักถูกใช้เป็นข้ออ้างให้ ความชอบธรรมแก่การทำการรัฐประหารโดยทหาร และการปกครองประเทศโดยทหารเป็นเวลานาน  นี่เป็นฐานของการ “ปฏิวัติ” ปี 2501 ของจอมพลสฤษดิ์  การรัฐประหารตนเองของจอมพลถนอม กิตติขจร เมื่อปีพ.ศ. 2514 เหตุการณ์การสังหารอยู่ของเผด็จการในปี 2516 และการขับไล่พลเอกชาติชายให้ออกจากตำแห่งเมื่อปี 2534  ตั้งแต่การเข้ามามีอำนาจในปีพ.ศ. 2500 หรือ 25 ปีหลังจากที่ระบบการปกครองโดยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ได้สิ้นสุดลง จอมพลสฤษดิ์เป็นเผด็จการทหารคนแรกที่อ้างเหตุผลส่วนตนบนฐานของความชอบธรรม ทางการเมืองในความจำเป็นที่จะต้องปกป้องสถาบันกษัตริย์ และบนการอุทิศตนให้แก่การฟื้นเกียรติ การไม่อาจละเมิดได้ และความเคารพศรัทธาของสาธารณะต่อสถาบันฯ อีกด้วย  ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา กลุ่มอำมาตย์ได้เปลี่ยนรูปความจำเป็นที่จะต้องปกป้องสถาบันกษัตริย์ทั้งจาก ภัยคุกคามที่เป็นจริงและที่เป็นจินตนาการไปสู่ข้อโต้แย้งที่ไม่สามารถเถียง ได้ ซึ่งถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้ความชอบธรรมแก่การใช้อำนาจที่ไม่เคยมีรัฐธรรมนูญ ใดให้ไว้ เพื่อเป้าหมายที่แทบไม่เกี่ยวข้องกับการปกป้องสถาบันจริงๆ เลย  หลังจากนั้นเป็นต้นมา ใครก็ตามที่ปฏิเสธอำนาจนอกรัฐธรรมนูญของกลุ่มอำมาตย์ก็ถูกตีตราเป็นสัตว์ ร้ายและป้ายสีว่าเป็นศัตรูของสถาบันกษัตริย์

ในเดือนเมษายน 2548 หลังจากได้รับเลือกตั้งอีกครั้ง ทักษิณเป็นประธานในพิธีทำบุญที่จัดขึ้นในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งปกติแล้วจะเป็นพระมหากษัตริย์ที่เป็นองค์ประธาน (แต่ไม่ได้จำกัดไว้ว่าต้องเป็นพระมหากษัตริย์เท่านั้น)  เหตุการณ์นี้ทำให้เกิดความกราดเกรี้ยวในประเทศไทย  ถึงแม้ทักษิณจะไม่ได้ถูกกล่าวหาอย่างเป็นทางการ แต่เรื่องนี้ก็ช่วยให้พวกกลุ่มอำนาจเก่าได้เสนอว่าตนเป็นผู้ทักษ์พระมหา กษัตริย์ขึ้นอีกครั้ง

อย่างไรก็ตาม หตุการณ์ที่กระตุ้นการต่อต้านทักษิณและพรรคไทยรักไทยมากที่สุดคือการขายหุ้น บริษัทชิน คอร์ปอเรชั่น ในวันที่ 3 มกราคม 2549 ก่อนหน้านั้นทักษิณได้โอนหุ้นในบริษัทชินคอร์ปของเขาไปแล้วก่อนจะเข้า มาเล่นการเมืองตามที่กำหนดไว้โดยกฎหมาย โดยการโอนการถือหุ้นของตนไปให้ลูกคนโตสองคน เพื่อเป็นการตอบกับข้อกล่าวหา เรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน ครอบครัวของทักษิณตัดสินใจขายหุ้น 49.6 เปอร์เซ็นต์ในบริษัทให้แก่กองทุนเทมาเส็ก โฮลดิ้ง ของสิงคโปร์  หลังจากการขายหุ้น ผู้ที่วิพากษ์วิจารณ์ทักษิณร้องเรียนว่าทักษิณได้ขายสมบัติสำคัญของชาติให้ แก่ต่างชาติ และยังมีข้อกล่าวหาด้วยว่าลูกๆ ของเขานั้นใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ของกฎหมายภาษีของไทยโดยการขายหุ้นผ่านทาง บัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศเพื่อจะได้ไม่ต้องเสีย ภาษี  ข้อกล่าวหาว่า “ขายชาติ” และหลบเลี่ยงภาษีกลายมาเป็นเหตุแห่งสงครามที่ฝ่ายตรงข้ามหยิบยกมาใช้

ช่วงเวลาที่ขายหุ้นบริษัทชินคอร์ปนั้นบังเอิญตรงกับช่วงที่สอดรับกับเป้า หมายของฝายตรงข้าม นั่นคือเกิดขึ้นก่อนการเดินขบวนต่อต้านทักษิณที่มีการกำหนดไว้ในวันที่ 4-5 กุมภาพันธ์ 2549 ณ ท้องสนามหลวง  ประเด็นนี้ทำให้กลุ่มผู้จัดการประท้วงได้พลังสนับสนุน เป้าหมาย และพลังงานสำหรับการประท้วง ที่สำคัญกว่านั้นคือ มันทำให้ฝ่ายที่ต่อต้านทักษิณทั้งปัญญาชน นักพัฒนาองค์กรเอกชน นักธุรกิจชั้นนำ ชนชั้นกลางระดับสูง ข้าราชการ ลูกจ้างรัฐวิสาหกิจ นักเคลื่อนไหวพรรคประชาธิปัตย์ และผู้สนับสนุนนักระดมมวลชนอย่างสนธิ ลิ้มทองกุล และพลตรีจำลอง ศรีเมือง อดีตที่ปรึกษาของทักษิณ เริ่มก่อตัวชัดขึ้นในนามพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยซึ่งจัดตั้งขึ้นไม่ กี่วันหลังจากนั้น ผู้ประท้วงกว่าห้าหมื่นคนนำโดยสนธิและจำลองเรียกร้องให้ ทักษิณลาออกในวันที่ 4-5 กุมภาพันธ์ 2549  สนธิ ลิ้มทองกุล ได้ถวายฎีกาผ่านทางองคมนตรีพลเอกเปรม ติณสูนานนท์ ให้พระมหากษัตริย์ใช้อำนาจผ่านทางมาตรา 7 ของรัฐธรรมนูญปี 2540 ในการถอดถอนทักษิณและแต่งตั้งนากยกรัฐมนตรีขึ้นมาใหม่[27] วิธีการของสนธิซึ่งตั้งอยู่บนการอ่านรัฐธรรมนูญที่ค่อนข้างจะน่าสงสัยนั้น ได้เลี่ยงวิธีการตามรัฐธรรมนูญประชาธิปไตยที่ให้มีการเลือกตั้งรัฐสภาเพื่อ ให้มีการเลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่

ทักษิณตอบโต้การประท้วงที่ขยายตัวขึ้นด้วยการประกาศยุบสภาไม่นานหลังการ เดินขบวนประท้วงที่สนามหลวง และกำหนดให้มีการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 2 เมษายน 2549  พรรคการเมืองฝ่ายค้านหลักๆ ทั้งหมดคว่ำบาตรการเลือกตั้งครั้งนี้  ทำให้พรรคไทยรักไทยชนะการเลือกตั้งอย่างง่ายดายตามอย่างที่คาดการณ์ และได้ที่นั่งในสภามากกว่าร้อยละ 90  ฝ่ายค้านออกมาบอกว่าการเลือกตั้งที่ผ่านไปมีความผิดปกติในทันที   ในหลายเขตของกรุงเทพฯ และในภาคใต้ของประเทศ ผู้สมัครพรรคไทยรักไทยได้รับเลือกมาด้วยคะแนนเสียงที่น้อยกว่าเสียง “ไม่ลงคะแนน” ในบางพื้นที่ภาคใต้ ผู้สมัครพรรคไทยรักไทยที่ลงสมัครโดยไม่มีคู่แข่งสอบตกการเลือกตั้งเนื่องจาก ได้รับคะแนนเสียงไม่ถึงร้อยละ 20 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งตามที่กำหนดไว้ ทำให้ผลกรเลือกตั้งในพื้นที่นั้นเป็นโมฆะ  กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยยื่นฟ้องต่อศาลปกครองเรียกร้องให้การ เลือกตั้งเป็นโมฆะทั้งหมด  พธม. กล่าวโทษคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าละเมิดความเป็นส่วนตัวของผู้ลงคะแนนเสียง และกล่าวหาว่าพรรคไทยรักไทยทุจริตการเลือกตั้ง[28] สองวันหลังจากการเลือกตั้ง ทักษิณประกาศลาออกและดำรงตำแหน่งรักษาการนายกรัฐมนตรี

ในวันที่ 26 เมษายน 2549 พระบาทสมเด็จพระอยู่หัวฯ มีพระราชดำรัสต่อสาธารณะเกี่ยวกับการเลือกตั้ง  โดยได้ตรัสต่อศาลปกครองโดยตรงว่า

ให้การเลือกตั้งนี้เป็นโมฆะหรือเป็นอะไร ซึ่งท่านจะมีสิทธิที่จะบอกว่า อะไรที่ควร ที่ไม่ควร ไม่ได้บอกว่ารัฐบาลไม่ดี แต่ว่าเท่าที่ฟังดูมันเป็นไปไม่ได้ คือการเลือกตั้งแบบประชาธิปไตย เลือกตั้งพรรคเดียว คนเดียว ไม่ใช่ทั่วไป แต่ในแห่งหนึ่งมีคนที่สมัครเลือกตั้งคนเดียว มันเป็นไปไม่ได้ ไม่ใช่เรื่องของประชาธิปไตย เมื่อไม่เป็นประชาธิปไตย ท่านก็พูดกันเองว่า ท่านต้องดูเกี่ยวข้องกับเรื่องของการปกครองให้ดี อย่างดีที่สุดถ้าเกิดท่านจะทำได้ ท่านลาออก ท่านเอง ไม่ใช่รัฐบาลลาออก ท่านเองต้องลาออก ถ้าทำไม่ได้ รับหน้าที่ไม่ได้ ตะกี้ที่ปฏิญาณไป ดูดีๆ จะเป็นการไม่ได้ทำตามที่ปฏิญาณ[29]

ไม่นานหลังจากนั้น ศาลปกครองยกเลิกการเลือกตั้งใหม่ที่กำหนดเป็นการเลือกตั้งซ่อมในเขตที่มีผล การเลือกตังค์แบบตัดสินไม่ได้ ในวันที่ 8 พฤษภาคม 2549 ศาลรัฐธรรมนูญมีคำพิพากษาว่าการเลือกตั้งในเดือนเมษายนเป็นโมฆะทั้งหมดและ ประกาศให้มีการเลือกตั้งใหม่ในเดือนตุลาคม  ผู้พิพากษาศาลรัฐธรรมนูญได้เรียกร้องต่อสาธารณะให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง ลาออก  เมื่อคณะกรรมการการเลือกตั้งปฏิเสธที่จะลาออก ศาลอาญามีคำพิพากษาให้จำคุกพวกเขา 4 ปี ในข้อหาผิดวินัยร้ายแรง ทำให้พวกเขาไม่มีสิทธิในการลงคะแนนเลือกตั้งและต้องออกจากตำแหน่ง[30]

หลังจากพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เกี่ยวกับการเลือกตั้งในเดือนเมษายน ศูนย์กลางของผู้ที่ต่อต้านทักษิณได้ย้ายจากกลุ่มพธม. ไปสู่พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีผู้ทรงอำนาจ  พลเอกเปรมเกิดเมื่อปีพ.ศ. 2463 เขาเป็นบุคคลที่โดดเด่นที่สุดคนหนึ่งประวัติศาสตร์สมัยใหม่ของไทย  จุดเริ่มต้นของการก้าวขึ้นมาสู่ตำแหน่งที่มีอิทธิพลทางการเมืองอย่างไม่อาจ เปรียบได้ของเขาสามารถย้อนกลับไปได้ถึงปี 2484 ในขณะที่ยังเป็นทหารสังกัดเหล่าทหารม้า เปรมได้ร่วมรบต่อต้านสัมพันธมิตรเคียงข้างกองทัพญี่ปุ่นภายใต้อนาคตจอมเผด็จ การสฤษดิ์ ธนะรัชต์[31] การขึ้นมามีอำนาจของเปรมในเวลาต่อมานั้นเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับสฤษดิ์ ซึ่งเป็นที่รู้กันอย่างกว้างขวางว่าเขาเป็นคนที่โหดร้ายและเป็นนายทหารที่ ทุจริตที่สุดคนหนึ่งในประเทศไทย  จอมพลสฤษดิ์เลื่อนยศให้เปรมให้ขึ้นเป็นพันเอก และแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญที่ควบคุมโดยทหารในปี 2502  เปรมยังมีความเกี่ยวพันใกล้ชิดจอมพลถนอม กิตติขจรและจอมพลประภาส จารุเสถียร ผู้นำทหารที่ชื่อเสียงชั่วร้ายผู้เลื่อนยศให้เขาเป็นพลตรีในปี 2514  และเขายังเป็นเพื่อนสนิทกับพลตรีสุดสาย หัสดิน ผู้นำกองกำลังกระทิงแดงที่เป็นผู้รับผิดชอบสำหรับการสังหารหมู่ที่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในปี 2519 อีกด้วย

ในเดือนกันยายน ปี 2521 เปรมได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (2520-2522) และเป็นผู้บัญชาการกองทัพบก  ไม่นานหลังจากนั้นในเดือนมีนาคม 2522 สภาผู้แทนราษฎรได้แต่งตั้งให้เขาเป็นนายกรัฐมนตรี  แม้ว่าเปรมจะไม่เคยลงสมัครรับเลือกตั้งเลย แต่ก็ได้เป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศไทยในช่วงระหว่างปี 2522-2531 ซึ่งในช่วงเวลานั้นเขารอดพ้นจากความพยายามที่จะก่อการรัฐประหารโดยทหารถึง สองครั้ง (คือในปี 2524 และ 2528) และได้รับการรับรองในสภาฯ ถึงสองครั้งหลังการเลือกตั้งในปี 2526 และ 2528  บางทีจุดสูงสุดของอำนาจของเปรมคือหลังจากที่เขาลาออกจากการเป็นนายก รัฐมนตรีเมื่อเขาได้รับการโปรดเกล้าฯ ให้เป็นองคมนตรี และเป็นประธานองคมนตรีตั้งแต่ปี 2541  กว่า 70 ปีในหน้าที่การงาน เปรมสร้างเครือข่ายอิทธิพลและอำนาจแผ่ขยายลึกสู่ทหาร ข้าราชการ และตุลาการ รวมถึงกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ของประเทศไทย  นอกจากนั้นพลเอกเปรมยังเป็นประธานกรรมการของธนาคารกรุงเทพ และดำรงตำแหน่งประธานที่ปรึกษาของกลุ่มบริษัทซีพีซึ่งเป็นหนึ่งในผู้สนับ สนุนหลักของพรรคประชาธิปัตย์จนกระทั่งไม่นานมานี้

หลังจากที่ศาลมีคำตัดสินว่าผลของการเลือกตั้งเมื่อเดือนเมษายนเป็นโมฆะ พลเอกเปรมได้กล่าวบรรยายเป็นการวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของทักษิณหลายครั้ง[32] ด้วยสถานะและอำนาจของพลเอกเปรม การรณรงค์ต่อสาธารณะของเขาส่อให้เห็นถึงการขจัดทักษิณออกจากอำนาจ มีการแข่ง ขันกันควบคุมกองทัพและรัฐ และมีรายงานสาธารณะถึงความเป็นไปได้ที่จะมีการรัฐประหารปรากฏขึ้น เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน ในการกล่าวกับข้าราชการกลุ่มหนึ่ง ทักษิณได้อ้างอิงถึงพลเอกเปรม และกล่าว่าตนปฏิเสธความพยายามที่กำลังดำเนินอยู่โดย “ผู้มีบารมีเหนือรัฐธรรมนูญ” และการไม่ “เคารพหลักนิติธรรม” เพื่อบั่นทอนรัฐบาล นักวิจารณ์สังคมที่มีชื่อเสียงต่างๆ กล่าวหาทักษิณโดยทันทีว่าล่วงละเมิดพระมหากษัตริย์[33] พลเอกเปรมพร้อมด้วยองคมนตรีและพลเอกสุรยุทธ์ จุลนานนท์ อดีตผู้บัญชาการกองทัพบก ได้ปรึกษากับนายทหารผู้ใหญ่หลายคนและเดินทางเข้าเยี่ยมหน่วยทหารต่างๆ ในวัน ที่ 14 กรกฎาคม เขาได้กล่าวเตือนบรรดาเจ้าหน้าที่ทั้งหลายว่าความจงรักภักดีนั้นไม่ควรมีให้ กับรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง แต่ต้องมีต่อพระมหากษัตริย์[34]

โพลสำรวจความคิดเห็นหลายโพลที่ทำในช่วงก่อนจะมีการเลือกตั้งในเดือน ตุลาคมชี้ว่าทักษิณจะชนะการเลือกตั้งอีกครั้งโดยเสียงส่วนมาก  เหตุการณ์ตึงเครียดสูงสุดในเดือนสิงหาคม 2549 เมื่อมีรถยนต์บรรจุระเบิดหนัก 70 กิโลกรัมถูกพบไม่ไกลไปจากที่พักของทักษิณ  เจ้าหน้าที่ทหาร 5 นายถูกจับแต่ก็ได้รับการปล่อยตัวออกมาในไม่ช้าเพราะขาดพยานหลักฐาน  ผู้ที่วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลทักษิณรีบออกมาให้ข่าวว่าคาร์บอมบ์นี้เป็นฝีมือ ของรัฐบาลเองที่มีเป้าหมายเพื่อทำลายชื่อเสียงของฝ่ายตรงข้ามและเพื่อระดม การสนับสนุนรัฐบาล

000

อ้างอิง:

  1. กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) ข้อ 14 วรรค 3(ข) และ 3(จ)
  2. ICCPR ข้อ 14 วรรค 3(จ)
  3. “Deaths Probe ‘Won’t Cast Blame’,” Bangkok Post, 12 มิถุนายน 2553
  4. Pinai Nanakorn, “Re-Making of the Constitution in Thailand,” Singapore Journal of International & Comparative Law, 6(2002): 90-115, p. 93.
  5. เพิ่งหน้า, หน้า 107-09.
  6. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 (จากนี้เรียก รัฐธรรมนูญฉบับ 2540), ข้อ 63
  7. เพิ่งอ้าง, ข้อ 313.
  8. Pansak Vinyaratn, 21st Century Thailand, Facing the Challenge, Economic Policy & Strategy (Hong Kong: CLSA Books, 2004), p. 1.
  9. Chaturon Chaisang, Thai Democracy In Crisis: 27 Truths (Bangkok: A.R. Information & Publication Co. Ltd., 2009), p.37.
  10. Pasuk Phongpaichit and Chris Baker, Thailand’s Crisis (Chiang Mai: Silkworm, 2000).
  11. Kevin Hewinson, “Thailand: Class Matters,” in East Asian Capitalism: Conflicts, Growth and Crisis, Annali della Fondazione Giangiacomo Feltrinelli, no. XXXVI, ed. L. Tomba (Milan: Feltrinelli, 2002), 287-321.
  12. Pasuk Phongpaichit and Chris Baker, Thailand’s Boom and Bust (Chiang Mai: Silkworm, 1998), Ch. 12.
  13. Chaturon, อ้างแล้ว, fn. 12, p.17.
  14. เพิ่งอ้าง, หน้า 3.
  15. “New Parties Sprouting Already,” The Nation, May 17, 2006.http://nationmultimedia.com/2006/05/17/headlines/headlines_30004216.php
  16. Suehiro Akira, Capital Accumulation in Thailand, 1855-1985 (Chiang Mai: Silkworm Books, 1996), p. 170.
  17. ดู Cynthia Pornavalai, “Thailand: Thai Asset Management Corporation,” Mondaq Banking and Financial, March 6, 2002. http://www.mondaq.com/article.asp?articleid=15878
  18. ดู Pachorn Vichyanond, “Crucial Transitions in Thailand’s Financial System After the 1997 Crisis,” Brookings Institution Asian Economic Panel 2007.
  19. George Wehrfritz, “All Politics Isn’t Local: The Real Enemy of Demonstrators Threatening to Shut Down the Country is Globalization,” Newsweek, September 6, 2008. http://www.newsweek.com/2008/09/05/all-politics-isn-t-local.html
  20. Pasuk Phongpaichit and Chris Baker, Thaksin (Chiangmai: Silkworm, 2009), pp. 184-188.
  21. เพิ่งอ้าง, หน้า 176-184.
  22. SIPRI, “The SIPRI Military Expenditure Database 2010.” http://milexdata.sipri.org/result.php4
  23. “Junta at Risk of a Backlash over Lucrative Benefits,” The Nation, April 5, 2007.http://nationmultimedia.com/2007/04/05/politics/politics_30031147.php.
  24. Pasuk and Baker, op. cit., fn. 23, p. 183.
  25. ดู Duncan McCargo, “Network Monarchy and Legitimacy Crises in Thailand,” Pacific Review, 18(2005): 499-519.
  26. “Military ‘Must Back King’,” The Nation, July 15, 2006.
  27. Oliver Pye and Wolfram Schaffar, “The 2006 Anti-Thaksin Movement in Thailand: An Analysis,” Journal of Contemporary Asia, 38(2008): pp. 38-61.
  28. Simon Montlake, “Election Further Clouds Thai Leader’s Future,” The Christian Science Monitor, April 4, 2006. http://www.csmonitor.com/2006/0404/p06s02-woap.html
  29. “His Majesty the King’s April 26 Speeches,” The Nation, April 27, 2006,http://www.nationmultimedia.com/2006/04/27/headlines/headlines_30002592.php
  30. James Vander Meer, “Thaksin in the Dock,” Asia Sentinel, August 9, 2006.http://www.asiasentinel.com/index.php?option=com_content&task=view&id=82&Itemid=31
  31. Paul Chambers, “The Challenges for Thailand’s Arch-Royalist Military,” New Mandala, June 9, 2010.http://asiapacific.anu.edu.au/newmandala/2010/06/09/the-challenges-for-thailand’s-arch-royalist-military/
  32. ดูกำหนดการได้ในเวปไซท์ของพลเอกเปรมเอง ที่http://www.generalprem.com/news.html.
  33. “LEGAL WARNING: Thaksin Is `Violating the Constitution’,” The Nation, July 5, 2006.http://www.nationmultimedia.com/option/print.php?newsid=30008036
  34. Prem Tinsulanonda, “A Special Lecture to CRMA Cadets at Chulachomklao Royal Military Academy,” July 14, 2006. http://www.crma.ac.th/speech/speech.html

--
http://www.prachataiboard1.info/board/id/50088
http://hotspotshield.com
http://99it.blogspot.com/p/blog-page_21.html
http://www.redshirtinternational.org
http://norporchorusa.com/html/media/npcusa_radios.html
http://www.unblockanything.com
http://www.youtube.com/watch?v=Dyw-L8JSE2U
http://sanamluang.tv
http://thaitvnews2.blogspot.com
http://112victims.org
http://nonlaw.7forum.net/forum-f1/topic-t1169.htm

วันพฤหัสบดีที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

แฉรัฐฯ ใช้อำนาจ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ไล่บี้ปิด-ขึ้นบัญชีดำ "วิทยุชุมชน" กว่าร้อยสถานี


banner-peace-network-org

แฉรัฐฯ ใช้อำนาจ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ไล่บี้ปิด-ขึ้นบัญชีดำ “วิทยุชุมชน” กว่าร้อยสถานี

คปส.เผย นักจัดรายการถูกดำเนินคดีถึง 35 ราย วิทยุชุมชนเจอส่งทหารหลายร้อยเข้ายึดสถานีเหตุวิจารณ์การเมือง ด้านวิทยุชุมชนยังย้ำ “การชุมนุมทางการเมือง” เป็น “สิทธิ” ของประชาชน “หมอนิรันดร์” ชี้ธุรกิจการเมือง-เกมส์ชิงอำนาจ-เผด็จการภายใต้กฎหมายและนโยบาย อุปสรรค์ของวิทยุชุมชน

 
 
วันนี้ (14 ก.ค.53) คณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ ร่วมกับศูนย์สิทธิมนุษยชนศึกษาและการพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ศูนย์ศึกษานโยบายสื่อ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สหพันธ์วิทยุชุมชนแห่งชาติ และมูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม จัดสัมมนา “การปิดสถานีวิทยุชุมชนภายใต้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน” ณ ศศนิเวศน์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
 
 
คปส.เปิดข้อมูลรัฐใช้อำนาจ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ไล่บี้ปิด-ขึ้นบัญชีดำ “วิทยุชุมชน” กว่าร้อยสถานี
 
นายสุเทพ วิไลเลิศ เลขาธิการคณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ (คปส.) แถลงผลการศึกษา กรณีการจับกุมดำเนินคดีและสั่งปิดสถานีวิทยุชุมชนภายใต้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ จัดทำโดยโครงการเฝ้าระวังการแทรกแซงวิทยุชุมชน (Community Radio Watch) โดยการสนับสนุนของมูลนิธิไฮริค เบิร์ล ซึ่งทำการศึกษาตั้งแต่วันที่ 7 เมษายน - 7 กรกฎาคม 2553 ว่า จากจำนวนวิทยุชุมชนที่ขึ้นทะเบียนกับคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) และได้รับสิทธิทดลองออกอากาศกว่า 6,625 แห่งทั่วประเทศ และอีกกว่า 1,000 แห่งที่ไม่ได้อยู่ในกระบวนการออกใบอนุญาต ในช่วงสถานการณ์การชุมนุมทางการเมืองที่ผ่านมามีสถานีวิทยุชุมชนที่ถูกปิด ภายใต้อำนาจตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ) จำนวน 26 แห่ง ในพื้นที่ 9 จังหวัด ยุติการออกอากาศ 6 แห่ง
 
นอกจากนั้น ยังปรากฏรายชื่อในข่ายว่ากระทำความผิด (ขึ้นบัญชีดำ) 84 แห่ง ในพื้นที่ 12 จังหวัด และมีหัวหน้าสถานี กรรมการ และผู้จัดรายการถูกตั้งข้อหาและดำเนินคดีทั้งหมด 35 ราย โดยรูปแบบการเข้าไปปิดสถานีวิทยุในส่วนกลางจะเริ่มจากการออกหนังสือเตือน จากอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ โดยแนบคำสั่งศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) 3 ครั้ง ขณะเดียวกัน รัฐบาล และ ศอฉ.จะเรียกแกนนำเครือข่ายวิทยุชุมชนและสถานีวิทยุชุมชนเข้าฟังสถานการณ์ โดยย้ำว่าการวิพากษ์วิจารณ์การเมืองต่อต้านรัฐบาลจะมีผลกับการออกใบอนุญาต ทั้งยังให้เผยแพร่เนื้อหาของรัฐบาล 3 ครั้ง 
 
ส่วนวิธีการเข้าไปควบคุมแทรกแซงสถานีวิทยุชุมชนในระดับจังหวัด ผู้ว่าราชการจังหวัดจะเรียกผู้จัดการรายการสถานีวิทยุไปเซ็นสัญญาที่ทาง จังหวัดจัดร่างขึ้นฝ่ายเดียวว่าจะไม่มีการเชื่อมสัญญาณใดๆ เข้ากับระบบอินเทอร์เน็ต ซึ่งไม่เพียงเรื่องของการเมืองเท่านั้น หากรวมไปถึงข่าวด้านอื่นๆ ด้วย และให้ถ่ายทอดสัญญาณจากสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย อีกทั้งให้เข้าร่วมเวทีชี้แจงการปฏิบัติตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ 
 
นายสุเทพกล่าวว่า การเก็บข้อมูลครั้งนี้มุ่งไปที่มิติทางการเมืองเป็นสำคัญ ซึ่งในสถานการณ์ความขัดแย่งที่ผ่านมาวิทยุชุมชนตกอยู่ในฐานช่องทางโฆษณาชวน เชื่อเพื่อตอบสนองอุดมการณ์ทางการเมืองของทุกกลุ่ม ไม่เฉพาะสีใดสีหนึ่ง และบรรยากาศดังกล่าวสร้างความหวาดกลัวในการนำเสนอข่าวสารที่อาจถูกจัดวางใน ฝั่งใดฝั่งหนึ่งของคู่ความขัดแย้ง เพราะตอนนี้วิทยุชุมชนยังไม่มีใบอนุญาตแม้แต่สถานีเดียว ทั้งนี้ ต้องตั้งคำถามว่าความปรองดองจะเกิดขึ้นได้อย่างไรถ้าประชาชนปฏิเสธเรื่องราว เหล่านี้
 
“จากการเข้าไปแทรกแซงสถานีวิทยุและคำสั่งห้ามวิจารณ์การเมือง ทำให้สถานีวิทยุหลายแห่งต้องยุติการออกอากาศ รวมไปถึงการแขวนป้ายหน้าสถานีไม่วิพากษ์วิจารณ์การเมือง เพื่อจะได้ไม่มีปัญหา” นายสุเทพกล่าว
 
นายสุเทพระบุด้วยว่า การเข้าปิดสถานีมีการนำกำลังทหารจำนวนตั้งแต่ 50-500 นาย เข้าดำเนินการเข้าไปยึดเครื่องส่งสัญญาณ สายส่ง อุปกรณ์การจัดรายการ ไมโครโฟน เทป รื้อถอนเสาอากาศ บางรายมีการยึดเครื่องปรับอากาศ และมอเตอร์ไซค์ด้วย หลายสถานีมีการใช้กำลังเข้าไปข่มขู่ อีกทั้งพบว่ามีวิทยุชุมชนประมาณ 5-7 ที่สถานีมีการใช้กำลังเจ้าหน้าที่พร้อมอาวุธครบมือ โดยอาวุธที่ใช้มีทั้งปืนเอ็มสิบหก ปืนกล กระบอง โล่ ซึ่งการกระทำดังกล่าวถือว่าเป็นละเมิดสิทธิเสรีภาพ
 
“สิ่งที่พบจากการสั่งปิดสถานีตามอำนาจ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน คือ ขาดหลักเกณฑ์การพิจารณาความผิดด้านเนื้อหาที่ชัดเจน มีเพียงกรอบกว้างๆ ที่กำหนดว่าเกินขีดความมั่นคง การเข้าปิดสถานีไม่มีขั้นตอน ไม่คำนึงถึงสิทธิการสื่อสารของประชาชน ปฏิบัติการรุนแรงต่อทรัพย์สินของวิทยุชุมชน และละเมิดสิทธิด้านอื่น ทั้งๆ ที่เนื้อหาที่ออกอากาศไม่พบความผิดชัดเจน” นายสุเทพกล่าว 
 
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตามเอกสารที่เผยแพร่ประกอบการประชุม ในส่วนความคิดเห็นของผู้ฟังและผู้ดำเนินรายการวิทยุชุมชนมีการตั้งคำถามถึง การปิดทั้งสถานี ทำไมไม่ปิดเป็นรายการหากมีความผิดจริง เพราะยังมีรายการอื่นๆ ในแต่ละสถานีไม่ได้พูดแต่เรื่องการเมืองอย่างเดียว และแต่ละครั้งที่เข้าปิดสถานนีวิทยุไม่มีขั้นตอนที่เปิดเผยสู่สาธารณะ อีกทั้งระบุว่าดำเนินการของเจ้าหน้าที่ส่งผลกระทบต่อทรัพย์สิน และอาคารสถานที่ด้วย
 
 
วิทยุชุมชนยังย้ำ “การชุมนุมทางการเมือง” เป็น “สิทธิ” ของประชาชน
 
ด้านวิชาญ อุ่นอก เลขาธิการสหพันธ์วิทยุชุมชนแห่งชาติ แสดง ความเห็นในการสัมมนาโต๊ะกลม “ชะตากรรมวิทยุชุมชนภายใต้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน กับกระแสการปฏิรูปสื่อ” ว่า การที่ในปัจจุบันวิทยุชุมชนมีจำนวนมากถึงกว่า กว่า 7,000 แห่งเป็นตัวชี้วัดหนึ่งของการเข้าถึงประชาชน ทั้งนี้ ที่ผ่านมาประชาชนถูกปิดกั้นการสื่อสารมายาวนาน เมื่อลุกขึ้นมาทำสื่อชุมชนจึงมีการแสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่ ด้วยถ่อยคำภาษาในแบบชาวบ้าน โดยเฉพาะเรื่องการเมือง แต่คนส่วนหนึ่งยังติดเรื่องท่าทีและตัดสินวิทยุชุมชนเร็วเกินไปว่าไม่ควรทำ สื่อ อีกทั้งในช่วงสถานการณ์ทางการเมืองที่ผ่านมาพบว่าสถานีวิทยุชุมชนหลายสถานี โดนปิด ขณะที่อีกหลายแห่งเซ็นเซอร์ตัวเองเรื่องการเมือง 
 
วิชาญ ยกตัวอย่างกรณีวิทยุชุมชนแปลงยาว อ.แปลงยาว จ.ฉะเชิงเทรา ถูกเจ้าหน้าที่แจ้งข้อหาออกอากาศข้อมูลไม่เหมาะสม แต่เมื่อนำกำลังกว่า 200 นายไปลงพื้นที่ พบว่าไม่มีสิ่งที่ระบุถึงความผิด จึงเข้าจับกุมโดยยัดข้อหาครอบครองเครื่องส่งฯ ผิดกฎหมาย ให้ปิดสถานีและยึดเครื่องส่งฯ ซึ่งความจริงข้อหาดังกล่าวสามารถนำไปใช้กับวิทยุชุมชนทั่วไปที่ออกอากาศอยู่ ในปัจจุบันได้ เพราะต่างก็ยังไม่มีการรับรองตามกฎหมาย  
 
ในกรณีวิทยุชุมชนกับการเมือง วิชาญแสดงความเห็นว่า การชุมนุมทางการเมืองเป็นสิทธิของประชาชน แต่ปัจจุบันหากใช้วิทยุชุมชนเป็นเรื่องเชิญชวนให้คนไปชุมนุมก็ถูกบอกว่า วิทยุชุมชนกลายเป็นเครื่องมือทางการเมือง เมื่อไปวิจารณ์ทางการเมืองก็ถูกชะลอสิทธิ์ ทั้งนี้ จะทำอย่างไรให้สื่อชุมุชนสามารถพูดและวิจารณ์ทางการเมืองได้ โดยไม่ถูกจับ จนทำให้สื่อชุมชนต้องเซ็นเซอร์ตัวเองอย่างที่เป็นอยู่ ไม่เช่นนั้นสื่อชุมชนกว่า 7,000 แห่งจะมีไว้เพื่ออะไร 
 
ส่วนเจริญ ถิ่นเกาะแก้ว นายกสมาคมผู้ประกอบวิชาชีพวิทยุท้องถิ่นไทย ออก ตัวว่าเป็นนักจัดรายการท้องถิ่น ซึ่งเดิมเป็นกลุ่มที่ซื้อเวลาจากวิทยุคลื่นหลักซึ่งได้รับสัมปทานจากหน่วย งานรัฐ จนเมื่อราวปี 2547 กรมประชาสัมพันธ์เปิดให้วิทยุชุมชนมีการโฆษณาได้ ทั้งที่วิทยุท้องถิ่นที่ทำอยู่ซื้อเวลาด้วยเงินหลักแสน อีกทั้งยอมรับว่ามีการเสนอขายเครื่องส่งฯ จากเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเอง จึงได้เข้ามาทำวิทยุชุมชน จนทำให้เกิดความสับสนระหว่างทางกลุ่มกับวิทยุชุมชนตามหลักการเดิม อย่างไรก็ตาม จากเป้าหมายของการปฏิรูปคืนคลื่นความถี่จากหน่วยงานต่างๆ เพื่อจัดสรรใหม่ ทางกลุ่มซึ่งอยู่ในส่วนวิทยุธุรกิจขนาดเล็กก็เฝ้ารอพื้นที่ตรงนี้เช่นเดียว กัน โดยพยายามเข้ามาเกาะเกี่ยวในขบวนของการปฏิรูปสื่อ เพื่อขอที่ยืนให้กับวิทยุท้องถิ่นด้วย 
 
ต่อกรณี ศอฉ.ขึ้นบัญชีดำวิทยุชุมชน ในข้อหาถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง เจริญยกตัวอย่างกรณีที่มีประชาชนซึ่งได้รับผลกระทบจากหน่วยงานรัฐ แต่หากประกาศผ่านวิทยุกลับถูกมองว่าเป็นเครื่องมือทางการเมือง ซึ่งในเรื่องนี้ควรประกาศแยกให้ชัดไม่เช่นนั้นจะทำให้วิทยุโดยทั่วไปถูกขึ้น บัญชีทั้งที่ไม่ได้มีการแสดงออกทางการเมืองในฝักฝ่ายใด
 
“อยากให้กำหนดระยะเวลาที่ชัดเจน และแบ่งเครื่องมือทางการเมืองกับการเรียกร้องจากผลกระทบทางนโยบายให้ชัดเจน” เจริญกล่าวถึงข้อเสนอ
 
 
ชี้ธุรกิจการเมือง-เกมส์ชิงอำนาจ-เผด็จการภายใต้กฎหมายและนโยบาย อุปสรรค์ของวิทยุชุมชน
 
นพ.นิรันดร์  พิทักษ์วัชระ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าว ว่าจากประสบการณ์ของวิทยุชุมชนที่ผ่านการทุบและทำลายโดยระบบทุนและการเมือง ทำให้มองเห็นปัญหาของระบอบประชาธิปไตยเสรีที่ไร้ขอบเขตที่ทำให้เกิดการยึด และผูกขาดสื่อ ถึงวันนี้ที่เผชิญการละเมิดสิทธิเสรีภาพสื่อโดยอำนาจเผด็จการที่แฝงมากับ กฎหมายและนโยบาย ถือเป็นช่วงเวลาที่จะเปลี่ยนวิกฤติให้เป็นโอกาสที่จะสังคายนาปัญหาจากทุน ธุรกิจการเมืองและอำนาจเผด็จการที่มาทำร้ายเรา
 
นพ.นิรันดร์ แสดงความเห็นต่อมาว่า วิทยุชุมชนภายใต้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ไม่ได้ยิ่งใหญ่ไปกว่ารัฐธรรมนูญ กฎหมายฉบับนี้ไม่ได้เปิดให้รัฐบาลใช้อำนาจแบบเหมาโหล ครอบจักรวาล แต่ระบุไว้ว่าต้องใช้ในสถานการณ์ฉุกเฉิน คับขันที่บ่งชี้ถึงภาวการณ์สงคราม โดยชี้จำกัดพื้นที่ เวลา และการกระทำด้วย เหล่านี้ไม่ได้เป็นเรื่องความชอบธรรมของการที่จะอ้าง พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ในการที่จะมาละเมิดสิทธิเสรีภาพของสื่อ โดยเฉพาะของวิทยุชุมชน ที่ตามมาตรา 45-46 ของรัฐธรรมนูญได้ระบุรับรองสิทธิเสรีภาพเอาไว้ ต้องยืนหลักให้ชัดเจน และเมื่อสถานการเข้าสภาวะสู่ปกติ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ควรยกเลิก
 
“เราต้องออกมาส่งเสียงและแสดงให้เห็นว่า ไม่ว่ากฎหมายใดก็ตามไม่ควรอยู่เหนือรัฐธรรมนูญ ไม่เช่นนั้นแล้วก็เท่ากับว่ารัฐบาลก็ต้องยอมรับว่าขณะนี้ได้ฉีกรัฐธรรมนูญ ทิ้งแล้ว ก็จะสามารถยึดอำนาจในการที่จะใช้กฎหมายของอำนาจในการปฏิวัติรัฐประหารได้ แม้จะเป็นรัฐประหารเงียบก็ตาม” นพ.นิรันดร์กล่าว
 
ในเรื่องการบังคับใช้กฎหมายแบบครอบจักรวาล นพ.นิรันดร์ กล่าวถึงการเดินทางไปลงพื้นที่คุมขังผู้ต้องหาในหลายจังหวัดทางภาคอีสาน พบการใช้กฎหมายไปละเมิดและทำร้ายคนโดยไม่สมควร ยกตัวอย่างกรณีวิทยุชุมชนที่ถูกปิดโดยไม่มีข้อหา ซึ่งหากมองเรื่องเนื้อหา ควรระบุว่าเป็นรายการอะไร ใครเป็นคนทำ และมีข้อความอะไรที่ผ่าฝืนเรื่องการกระจายเสียง ไม่ควรเหมารวมแล้วปิดทั้งสถานีซึ่งส่วนตัวมองว่าเป็นการใช้อำนาจโดยไม่ชอบ เป็นการกระทำที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน และใช้กฎหมายในการปราบปรามและทำลายสิทธิของสื่อสารมวลชน ทั้งนี้ ในส่วนพฤติกรรมที่ส่อความรุนแรงหรือละเมิดสิทธิ เป็นอนาธิปไตย หรือกระทบต่อสิทธิส่วนบุคคล สามารถใช้กฎหมายต่างๆ ที่มีอยู่ไปดำเนินการได้ 
 
อย่างไรก็ตาม การละเมิดสิทธิฯ เกิดขึ้นได้ในทุกพื้นที่ที่มีการประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เพราะง่ายในการจัดการซึ่งส่งผลให้รัฐเสพติดในการใช้อำนาจ และรัฐเองมีแนวโน้มการใช้อำนาจที่เกินเลยอยู่แล้ว จึงต้องมีคนตรวจสอบ และสังคมไม่ควรนิ่งเฉยต่อสิ่งที่เกิดขึ้น ร่วมถึงคนที่ทำงานในส่วนภาคประชาชนเองควรลุกขึ้นมาต่อสู้เรียกร้อง
 
นพ.นิรันดร์ กล่าวด้วยว่า การใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ในการปิดสถานีวิทยุชุมชนเป็นการทำลายนโยบายในการปรองดอง และกระแสในเรื่องการปฏิรูป รวมทั้งการปฏิรูปสื่อด้วย เพราะการปฏิรูปสื่อต้องเกิดขึ้นในสถานการณ์ที่พิเศษ ภายใต้สถานการณ์ที่สังคมมีความขัดแย้ง แตกต่าง และมีความแตกแยกในความคิดทางการเมือง เพราะฉะนั้นการปิดสถานีวิทยุชุมชนภายใต้สิ่งที่ครอบจักรวาล และ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ที่มีอำนาจเบ็ดเสร็จนี้มันทำลายจิตสำนึกร่วมในการมาปฏิรูปประเทศไทย เพราะทำให้เห็นลักษณะของความเป็นฝักฝ่ายและการแบ่งแยกมากขึ้น คนที่มีความคิดต่างทางการเมือง และพยายามแสดงออกทางความคิดแต่กลับถูกข้อหาและถูกปิดสถานี จุดนี้จะทำให้เกิดแนวร่วมมุมกลับที่ทำให้คนต่อต้านรัฐมากขึ้น
 
นพ.นิรันดร์ กล่าวต่อมาถึงอุปสรรค์ 3 ด้านของวิทยุชุมชน ที่ต้องทำให้เกิดรูปธรรมในการจัดการ คือ 1.ทำอย่างไรจึงจะหลุดพ้นจากกรอบและอำนาจที่เข้ามาผูกขาดของระบบธุรกิจการ เมือง 2.ทำอย่างไรที่จะทำให้สื่อวิทยุชุมชนหลุดพ้นเกมส์แย่งชิงอำนาจและผลประโยชน์ ของกลุ่มการเมือง และ 3.เรากำลังเผชิญกับอำนาจเผด็จการภายใต้กฎหมายและนโยบายที่สร้างความชอบธรรม ว่าเป็นกฎหมายที่จะต่อต้านการก่อการร้าย ส่วนตัวยืนยันว่าไม่มีสิทธิและอำนาจที่จะละเมิดสื่อของภาคประชาชน
 
 
แนะ “ปฏิรูปสื่อ” ต้องแก้ 4 ฝ่าย ทั้งกฎหมาย รัฐ สื่อ และผู้รับสื่อ
 
สาวตรี สุขศรี อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวถึงการปฏิรูปสื่อว่า มี 2 มิติ คือในมิติโครงสร้างความเป็นเจ้าของสื่อที่จะกระจายสู่ชุมชน ซึ่งที่ผ่านมาในส่วนของรัฐได้ออกกฎหมายจำนวนมากเพื่อมารองรับในส่วนนี้ แต่อีกด้านที่ถูกละเลย คือมิติการประกันสิทธิเสรีภาพสื่อ ซึ่งในส่วนวิทยุชุมชน แม้เป็นสื่อที่มีมานานแต่ถือเป็นสื่อใหม่ในแง่การเปิดให้ประชาชนเข้ามาเป็น เจ้าของ 
 
ต่อปัญหาการปิดกันสื่อ สาวตรี กล่าวถึงปัจจัยแรกในเรื่องกฎหมาย โดยกฎหมายที่ว่าด้วยเรื่องความมั่นคงซึ่งควบคุมสื่อมีมากทั้งในสภาวะ สังคมปกติและไม่ปกติ กฎหมายสื่อของไทยเกือบทุกฉบับมีบัญญัติเกี่ยวกับการควบคุมเนื้อหาสื่อทั้ง สิ้น แต่ตัวอย่างในเยอรมัน มีกฎหมายควบคุมสื่อแต่คุมในเรื่องแหล่งทุน การนำเสนอที่หลากหลาย และจริยธรรมสื่อ แต่ไม่คุมเรื่องเนื้อหา การควบคุมเนื้อหาจะระบุอยู่ในกฎหมายอาญาอื่นๆ อย่างชัดเจน ส่วนเนื้อหาที่ห้ามเผยแพร่ ยกตัวอย่างเช่น การอนาจารเด็ก การหมิ่นประมาทตามที่ข้อกฎหมายบัญญัติ และการพนันที่ผิดกฎหมาย ไม่มีกฎหมายประเทศไหนที่ระบุถึงเนื้อหาที่ขัดต่อความมั่นคงแห่งรัฐ ศีลธรรมอันดีของประชาชน ซึ่งความมั่นคงเหล่านี้ทำให้เกิดคำถามถึงความไม่มั่นคนในหมู่ประชาชน เพราะไม่รู้ว่าจะทำอะไรได้หรือไม่ได้
 
สาวตรี กล่าวด้วยว่ากฎหมายในสถานการณ์ไม่ปกติ ควรคงให้มีการให้ข้อมูลข่าวสารอย่างรอบด้าน โดยเฉพาะอย่างยิงเมื่อมีปัญหา สังคม การเมือง ทั้งนี้ ในมาตรา 9 (3) พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ มีเงื่อนไขในการปิดกั้นสื่ออยู่ โดยระบุว่า “ห้ามการเสนอข่าว การจำหน่าย หรือทำให้แพร่หลายซึ่งหนังสือ สิ่งพิมพ์ หรือสื่ออื่นใดที่มีข้อความอันอาจทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัวหรือเจตนาบิด เบือนข้อมูลข่าวสารทำให้เกิดความเข้าใจผิดในสถานการณ์ฉุกเฉินจนกระทบต่อความ มั่นคงของรัฐ หรือความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ทั้งในเขตพื้นที่ที่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินหรือทั่วราชอาณาจักร” ซึ่งหากใครก็ตามที่จะปิดกันสื่อต้องอธิบายได้ว่าเนื้อหาตรงไหนผิดตาม เงื่อนไขข้อกฎหมาย แต่สิ่งที่เป็นอยู่ปัจจุบันสื่อถูกปิดทั้งหมด จึงถือเป็นปัญหาของการบังคับใช้กฎหมาย 
 
สาวตรี กล่าวต่อมาว่า ปัญหาผู้บังคับใช้กฎหมายคือฝ่ายรัฐ “ไม่ชัดเจน อธิบายไม่ได้” และ “ใช้อำนาจแล้วไม่มีใครตรวจสอบการใช้อำนาจของเขา” ทั้งนี้ที่ผ่านมามีตัวอย่างของสื่อเว็บไซต์ที่ฟ้อง ศอฉ.ใช้อำนาจปิดเว็บไซต์โดยขัดต่อกฎหมาย ซึ่งศาลตัดสินโดยระบุว่าไม่มีอำนาจเพราะกฎหมายได้ให้อำนาจรัฐในการใช้อำนาจ ตรงนี้แล้ว ทั้งนี้ แม้มีการให้อำนาจตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ แต่กฎหมายมีการให้อำนาจตรวจสอบการใช้อำนาจเสมอไม่ว่าสถานการณ์ปกติหรือผิด ปกติ นอกจากนี้ สาวตรี ยังกล่าวถึงการใช้อำนาจที่ไม่เป็นไปตามสัดส่วน ซึ่งเป็นปัญหาอีกข้อหนึ่งของการใช้อำนาจของรัฐ
 
อย่างไรก็ตามสื่อเองก็มีปัญหา เช่น สื่อที่บอกว่าตัวเองเป็นกลางแต่แอบเลือกข้าง ในส่วนสื่อที่เลือกข้าง คนสามารถเลือกบริโภคได้ ปัญหาสื่อบิดเบือน และปัญหาการแทรกแซงสื่อ ซึ่งสื่อที่ถูกแทรกแซงไม่มีความเข้มแข็งในการรวมตัวเพื่อต่อสู่กับอำนาจที่ แทรกแซงเพราะการสงวนท่าที ทำให้สื่อที่โดนเล่นงานต้องสู้เพียงลำพัง ทั้งนี้ในการรวมตัวหรือร่วมผลักดันกฎหมายต่างๆ ที่กำลังจะมีขึ้นต่อไป สาวตรี แนะว่าอย่าแสวงจุดร่วมสงวนจุดต่าง และอย่าใช้ระบบต่างตอบแทน เพราะผลคือจะทำให้เกิดการสอดไส้ข้อกฎหมายบางอย่างที่ไม่พึงประสงค์ 
 
สาวตรี กล่าวด้วยว่าคนรับสื่อก็เป็นอีกองค์ประกอบสำคัญในการปิดกันสื่อ ทั้งนี้ คนรับสื่อเองควรรับสื่อทุกด้านเพื่อชั่งน้ำหนัก แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันคนรับสื่อทนทานต่อการรับฟังความเห็นต่างน้อย มาก ไม่พร้อมเปิดรับ เนื่องจากเติบโตมาในสังคมที่มีการปิดกันและการเซ็นต์เซอร์ของรัฐ อย่างไรก็ตาม การปฏิรูปสื่อจำเป็นที่จะต้องแก้ทั้ง 4 ฝ่าย คือ กฎหมาย รัฐ สื่อ และผู้รับสื่อ การปฏิรูปจึงจะมีประสิทธิภาพและสัมฤทธิผลจริง
 
 
“ความมั่นคง” อยู่เหนือ “สิทธิเสรีภาพ” ปัญหาทางวัฒนธรรมคู่สังคมไทย แม้ไม่มีกฎหมายความมั่นคง
 
ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ นักวิชาการศูนย์สิทธิมนุษยชนศึกษาและการพัฒนาสังคม ม.มหิดล แสดง ความเห็นต่อ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ว่า จะยังคงอยู่กับสังคมไทยอีกนาน เนื่องจากเป็นการให้อำนาจคนหนุนรัฐบาลอย่างกว้างขวาง ตรวจสอบไม่ได้ และไม่สามารถเอาผิดย้อนหลังได้ ซึ่งการมีอำนาจเช่นนี้ในมือทำให้การยกเลิกเป็นไปได้ยาก ทั้งนี้ สิ่งสำคัญคือต้องทำความเข้าใจว่าสังคมจะอยู่ในสภาพอย่างนี้ไปอีกนาน จากตัวอย่างเช่นในฟิลิปปินส์ ที่ประธานาธิบดีเฟอร์ดินาน มากอส ปกครองประเทศภายใต้กฎหมายความมั่นคง ทำให้เขาสามารถมีอำนาจอยู่ในตำแหน่งยาวนานหลายสิบปี 
 
ศิโรตม์ กล่าวด้วยว่า การใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ปิดวิทยุชุมชน ถือเป็นการการละเมิดและจำกัดสิทธิ โดยที่กฎหมายเปิดช่องให้จากการใช้อำนาจตามหน้าที่โดยไม่มีความผิด เปิดให้วินิจฉัยอย่างกว้างขวาง และไม่มีการตรวจสอบการใช้อำนาจ หรือให้ตรวจสอบโดยบุคคลกลุ่มเดียวกันเอง อีกทั้งไม่มีมาตรการลงโทษย้อนหลัง สุดท้ายกฎหมายจึงไม่ได้เป็นเรื่องที่ชอบธรรมในตัวมันเอง เพราะถูกจัดทำขึ้นโดยบุคคลเพียงบางกลุ่ม และเป็นเครื่องมือในการละเมิดสิทธิได้มาก 
 
ศิโรตม์ กล่าวต่อมาถึงมุมมองของรัฐต่อประชาชนที่สะท้อนผ่านการดำเนินการของรัฐต่อ วิทยุชุมชนว่า รัฐมีแนวโน้มมองชุมชนเป็นส่วนหนึ่งของส่วนกลาง คือต้องอยูภายใต้การจำกัดของรัฐ ซึ่งครอบคลุมไปถึงเรื่องสังคม การเมือง และเศรษฐกิจ โดยรัฐมองชุมชนว่าควรพัฒนาโดยเอารายได้เข้าสู่ส่วนกลาง ดังนั้นวิทยุชุมชนก็เช่นเดียวกัน จะต้องทำตามมาตรฐานที่รัฐกำหนด โดยที่รัฐไม่ได้มองว่าสิทธิเสรีภาพเป็นพื้นที่ที่รัฐจะมาจัดการไม่ได้ หากเกิดความขัดแย้ง ความมั่นคงของรัฐจึงสำคัญกว่าสิทธิเสรีภาพเสมอ และรัฐจะหาวิธีให้คนอยู่ในอำนาจการควบคุมตลอดเวลา แต่คนมักไม่รู้สึก เพราะอยู่ในสังคมที่เชื่อว่าส่วนกลางต้องควบคุมชุมชนเสมอมา โดยไม่ได้คิดว่าชุมชนต้องอิสระจากรัฐส่วนกลาง และสิทธิเสรีภาพต้องอยู่เหนือความมั่นคง ตรงนี้ถือเป็นปัญหาทางวัฒนธรรม ซึ่งไม่ว่ากฎหมายความมั่นคงอยู่หรือไม่ แต่สิ่งเหล่านี้ก็จะยังคงมีอยู่
 
ส่วนการพูดว่าวิทยุชุมชนไม่ควรแสดงฝักฝ่ายทางการเมืองนั้น สื่อความหมายถึงการห้ามแสดงฝักใฝ่ในฝั่งที่รัฐไม่ต้องการ โดยจะถูกรัฐมองเป็นปัญหา แต่หากแสดงฝักฝ่ายทางการเมืองในฝั่งที่รัฐต้องการสามารถทำได้ นั่นคือฝักฝ่ายทางการเมืองมีได้แต่ต้องมีในกรอบที่รัฐต้องการ คนที่จะได้ประโยชน์ก็คือรัฐ และส่งผลให้ข้อจำกัดนี้กลายเป็นเครื่องมือที่รัฐจะใช้ปิดวิทยุชุมชนได้ 
 
“ถึงจุดหนึ่งคงต้องคิดแล้วว่าการที่วิทยุชุมชนจะมีฝักฝ่ายทางการเมือง เป็นเรื่องธรรมดา ต้องเชื่อว่าคนในชุมชนหรือคนในสังคมมีเสรีภาพ มีความสามารถที่จะเลือกเองได้ว่าจะมีความฝักใฝ่ทางการเมืองแบบไหน เพราะถ้าเริ่มต้นพูดเมื่อไหร่ว่าวิทยุชุมชนควรปราศจากฝักฝ่ายทางการเมือง ในที่สุดคนที่จะมาใช้อำนาจนี้แทนพวกเราก็คือรัฐ ซึ่งรัฐก็จะบอกว่าคนนั้นคนนี้มีฝักฝ่าย และคนที่อยู่ตรงข้ามกับรัฐก็จะถูกละเมิดตลอดเวลา” ศิโรตม์ กล่าว
 
ศิโรตม์ บอกต่อมาว่า คนในสังคมควรต้องมองวิทยุชุมชนในฐานะที่เป็นพื้นที่ซึ่งเป็นอิสระจากรัฐ เป็นอิสระจากส่วนกลางให้มากขึ้น ดังเช่นการกำเนิดของวิทยุชุมชนในประเทศอื่นๆ ซึ่งมีหลักการที่ว่าชุมชนเป็นพื้นที่ของประชาสังคม เป็นพื้นที่ของสิทธิเสรีภาพ การจำกัดสิทธิควรมีให้น้อยที่สุด และหากจะมีการจำกัดควรมีในเงื่อนไขน้อยที่สุด และต้องชัดเจน
 
“ปัญหาใหญ่นั่นก็คือ เราไม่ได้อยู่ในสังคมซึ่งรัฐพร้อมจะให้วิทยุชุมชน หรือสิทธิเสรีภาพ เป็นอิสระจากสิ่งต่างๆ ได้จริงๆ เราอยู่ในสังคมซึ่งรัฐพร้อมจะแทรกแซงได้ตลอดเวลา และคนในสังคมโดยส่วนใหญ่ก็ยอมรับว่าการแทรกแซงเหล่านี้เป็นเรื่องปกติด้วย” ศิโรตม์กล่าวในตอนท้าย   
 
ขณะที่ รศ.ดร.อุบลรัตน์  ศิริยุวศักดิ์ นักวิชาการอิสระด้านสื่อสารมวลชน และประธาน คปส.กล่าว ว่า ปัจจุบันภูมิทัศน์สื่อได้เปลี่ยนแปลงไปและรัฐไม่มีแนวทางในการจัดการ ซึ่งในส่วนนี้เป็นภาระกิจของทุกคนในการจัดการภูมิทัศน์ใหม่นี้ร่วมกัน โดยการจับมือไปด้วยกันว่าจะเดินต่อไปข้างหน้าได้อย่างไร หากไม่ทำ ศอฉ.อาจเข้ามาเป็นคนจัดการแทน ซึ่งการจัดการในแบบ ศอฉ.โดยการปิดแบบเหวี่ยงแหไม่ใช่ทางออกของการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของสื่อ เลย 
 
“ในสังคมอำนาจนิยมแบบไทยๆ ทางออกทางอื่น เพื่อไปสู่การจัดการสิทธิเสรีภาพเป็นสิ่งที่ต้องช่วยกัน”  

http://www.prachatai3.info/journal/2010/07/30329


--
http://thaipoliticalprisoners.wordpress.com/2010/05/16/the-king-fades
http://thaiuknews.wordpress.com
http://redphanfa2day.wordpress.com
http://liberalthai.wordpress.com,
http://asiapacific.anu.edu.au/newmandalahttp://www.notthenation.com,
http://wdpress.blog.co.uk,
http://www.youtube.com/user/iheredottv,
http://redsiam.wordpress.com,
http://siamrd.blog.co.uk,http://thaienews.blogspot.com,
http://thaipoliticalprisoners.wordpress.com,
http://thaiuknews.wordpress.com,
http://redphanfa2day.wordpress.com,
http://liberalthai.wordpress.com,
http://lmwatch.blogspot.com/ศูนย์ข้อมูลและเฝ้าระวังกรณีผลกระทบจาก"กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ"และข้อกล่าวหาที่เกี่ยวข้อง,
http://horriblethailand.wordpress.com/category/red-songs,
http://www.filmint.nu
http://filmjournal.net/kinoblog

221 ปีปฏิวัติฝรั่งเศส บทเรียนสำหรับไทย

221 ปีปฏิวัติฝรั่งเศส บทเรียนสำหรับไทย


'เกิดขบถขึ้นรึ?'พระเจ้าหลุยส์ที่16ทรงถาม...'หามิได้พระเจ้าค่ะ มันคือการปฏิวัติ'มหาดเล็กตอบ
โดย Pegasus


สรุป แล้วการปฏิวัติฝรั่งเศสตั้งแต่ ๑๗๘๙-๑๘๗๕ ใช้เวลาทำให้ประชาชนตัดสินใจได้ในการยกเลิกระบอบกษัตริย์โดยสิ้นเชิงใช้เวลา ทั้งหมด ๘๖ ปี และการล่มสลายของระบอบกษัตริย์ในฝรั่งเศส เกิดจากกลุ่มนิยมสถาบันกษัตริย์อย่างบ้าคลั่งที่แอบอิง และอาศัยประโยชน์จากสถาบันพระมหากษัตริย์นั่นเอง ไม่ใช่จากประชาชนหรือใครอื่นใดเลย ..ที่สำคัญคือเหตุการณ์ต่างๆช่างคล้ายคลึงกับประเทศไทยในปัจจุบัน


*หมายเหตุผู้เขียน:ที่ มาของเนื้อหาได้มาจากหลายแหล่ง ขออภัยที่ไม่สามารถระบุได้ครบถ้วนในคราวนี้ เป็นเพียงต้องการลำดับเรื่องเพื่อความเข้าใจในภาพสำคัญในการปฏิวัติฝรั่งเศส ที่อาจมีเหตุการณ์เกิดขึ้นในประเทศไทยคล้ายคลึงกัน เนื่องจากสถานการณ์ต่างๆได้พัฒนาไปในแนวทางเดียวกัน เพียงแต่ตัวละครจะเปลี่ยนจากระบอบกษัตริย์ เป็นระบอบอำมาตย์เท่านั้น จะเหมือนหรือแตกต่างอย่างไรอยู่ที่ท่านผู้อ่านแต่ละท่านจะนำไปคิดไตร่ตรอง ต่อไป ประการสำคัญคือเมื่อประชาชนเหลืออด การนำด้วยกลุ่มหัวรุนแรงจะเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แม้แต่ฝ่ายเป็นกลางก็จะถูกขจัดไปในที่สุด การหลีกเลี่ยงเหตุการณ์นี้คงอยู่ที่ฝ่ายอำมาตย์เท่านั้นที่หากมีโอกาสอ่าน เอกสารนี้ขอให้คิดใหม่ และยุติปัญหาต่างๆเสียเมื่อยังทำได้

การปฏิวัติฝรั่งเศส ค.ศ. 1789 มีผลต่อยุโรปโดยรวมอย่างมาก เพราะฝรั่งเศสเป็นประเทศมหาอำนาจของยุโรปในขณะนั้น (การปฏิวัติฝรั่งเศสแสดงให้เห็นว่ามนุษย์พร้อมที่จะกำหนดชะตาชีวิตและแสวงหา ความสุขของตนเองได้ด้วยการได้มาซึ่งเสรีภาพ และด้วยเสรีภาพนี้เองมนุษย์จะสร้างชุมชนที่อยู่ด้วยกันได้โดยสงบสุข สันติและเจริญรุ่งเรืองโดยไม่ต้องพึ่งพาอำนาจพิเศษจากสวรรค์หรือตัวแทนจาก สวรรค์ใดๆ...Pegasus)


พระเจ้าหลุยส์ที่16

สาเหตุของการปฏิวัติ

1. สถานการณ์ทางเศรษฐกิจ การที่ฝรั่งเศสพัวพันกับการทำสงครามหลายครั้งตั้งแต่พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 มาจนกระทั่งถึงสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 ก็แพ้สงคราม 7 ปีกับอังกฤษในอเมริกา และต่อมาสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ก็ส่งกองทัพไปแก้แค้นอังกฤษด้วยการส่งกองทัพไปช่วยชาวอเมริกันประกาศอิสรภาพ แต่ก็ทำให้เป็นหนี้จำนวนมหาศาล

ฝรั่งเศสกู้เงินเป็นจำนวนมากมาช่วย ชาวอาณานิคมอเมริกันทำสงครามต่อต้านอังกฤษ ทำให้ประชาชนชาวฝรั่งเศสมีแต่ความยากจนและหิวโหยไปทั่ว ในขณะที่จำนวนประชากรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่วนพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ไม่รู้สึกพระองค์ว่าพร้อมในการปกครองแม้ว่าจะได้รับการศึกษามาอย่างดีเนื่อง จากมีพระชนม์เพียง 20 ชันษา

(ดูการกู้เงิน การล้มละลายของระบบเศรษฐกิจ และ ความไร้เดียงสาของผู้บริหารประเทศแล้วคล้ายคลึงกัน...Pegasus)


พระนางมารีอังตัวเน็ตต์

2. สถานการณ์ทางสังคมและการเมือง ใน ปีหนึ่งเกิดการเสียหายในผลผลิตทางการเกษตรทำให้เกิดการขาดแคลนอาหารโดยเฉพาะ อย่างยิ่งขนมปังที่เป็นอาหารหลักของชาวฝรั่งเศส ในขณะที่ในพระราชวังยังคงมีความหรูหราฟุ่มเฟือยกันอยู่

จนมีผู้ เสนอฎีกากล่าวหาว่า ความฟุ่มเฟือยของราชสำนักเป็นสาเหตุของความยากจนของประชาชนโดยมีการกล่าวว่า อาหารในวังเพียงหนึ่งวันก็สามารถเลี้ยงประชาชนได้เป็นพันคน

โรแบสปิแอร์

ผู้อยู่เบื้องหลังฎีกาฉบับนี้คือ แมกซิมิลเลียน โรแบสปิแอร์ ซึ่งจะมีบทบาทสำคัญในการปฏิวัติฝรั่งเศสต่อไป

ส่วน พระเจ้าหลุยส์ฯได้รับคำแนะนำที่ผิดให้สร้างฐานะความเข้มแข็งของฝรั่งเศสด้วย การขึ้นภาษีกับฐานันดรที่ 3 ได้แก่ประชาชนโดยที่ ฐานันดรอื่นไม่ได้รับผลกระทบอะไรเลย

นอกจากความโกรธแค้นนี้แล้ว ธรรมชาติก็ได้ลงโทษชาวฝรั่งเศสเหมือนจะเร่งให้เกิดการปฏิวัติเร็วขึ้นด้วย การทำให้เกิดฤดูหนาวยาวนานผิดปกติตามมาเป็นเหมือนเหตุร้ายต่อประเทศฝรั่งเศส

ต่อมาฤดูร้อน ค.ศ.1788 เกิดความแห้งแล้งขาดแคลนอาหารมากขึ้นอีก ขนมปังจึงมีราคาสูงขึ้นทำให้เกิดการกักตุนอาหาร คนต้องใช้รายได้ทั้งเดือนมาหาซื้อขนมปังในวันเดียว ทำให้เกิดจลาจลขึ้นทั่วไปเพื่อปล้นขนมปัง

ด้วยความจำเป็นฝรั่งเศสจึงได้จ้างรัฐมนตรีการคลังที่มีความสามารถมาบริหารกระทรวงการคลังชื่อว่าจ้าค เนกเกอร์

ตลอด ปี 1789 เนกเกอร์กล่าวว่าเป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะต้องหาขนมปังและข้าวสาลีมาให้ ประชาชนให้เพียงพอ ดังนั้นจึงได้เสนอให้มีการเรียกประชุมสภาฐานันดรเป็นครั้งแรกในรอบ 175 ปี ในวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 1789 ณ พระราชวังแวร์ซายส์

เนกเกอร์เสนอ ให้เก็บภาษีที่ดินจากพลเมืองทุกคน แต่ถูกฐานันดรที่ 1(พระ) และฐานันดรที่ 2 (ขุนนางทั่วไป) ต่อต้าน ฐานันดรที่ 3 (ประชาชนทั่วไปร้อยละ97 แต่มีจำนวนสมาชิกเพียงหนึ่งในสาม) จึงเรียกร้องให้เพิ่มจำนวนผู้แทนของตนขึ้นอีกเท่าตัวเพื่อจะได้มีจำนวนเท่า กับผู้แทนฐานันดรที่ 1 และ 2 รวมกัน

ในครั้งนั้นโรแบสปิแอร์ได้นำ เหล่าฐานันดรที่ 3 เรียกร้องให้พระและขุนนางจ่ายภาษี พระเจ้าหลุยส์ฯรู้สึกว่าถูกคุกคามจากฐานันดรที่ 3หัวรุนแรง

สภา ฐานันดรแห่งชาติเปิดประชุมในวันที่ 5 พฤษภาคม ค.ศ. 1789 แต่ละฐานันดรถูกจัดให้แยกกันประชุม ฐานันดรที่ 3 เรียกร้องให้เปิดประชุมร่วมกัน แต่พอไปถึงพบประตูปิด เลยออกไปประกาศตนเป็นสมัชชาแห่งชาติ

ในวันที่ 20 มิ.ย. สมัชชาแห่งชาติได้จัดประชุมขึ้นบริเวณสนามเทนนิส (ที่จริงเป็นสนามแฮนด์บอลล์) ของพระราชวังแวร์ซายส์ และเรียกร้องว่าจะไม่หยุดประชุมกันจนกว่าจะได้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และประกาศตัวเองว่าเป็นตัวแทนของประชาชนฝรั่งเศสที่แท้จริงและเริ่มเห็น โอกาสที่จะท้าทายกษัตริย์ฝรั่งเศสได้แล้วในขณะนั้น แม้ว่าความเป็นจริงจะไม่ง่ายอย่างนั้น

เพราะในที่สุดตัวแทนเหล่านี้ก็ถูกทหารปราบปรามและกำจัดในที่สุด

(ปัญหา ความอดอยาก การตกงาน ความแตกต่างทางชนชั้น หรือการครองชีพได้ปรากฏชัดขึ้นทุกขณะในสังคมไทย ฝ่ายที่มีเส้นครอบครองเศรษฐกิจสำคัญๆและผูกขาดไว้จำนวนมากอย่างไม่น่าเชื่อ ในขณะเดียวกันก็ทำให้ประชาชนยากจน เจ็บป่วยและพอใจให้ไร้การศึกษาเพื่อให้ยอมอยู่ใต้การปกครองตลอดไป ...Pegasus)


ดันตอง

3. พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 มีความผิดปกติทางสรีระบางประการทำให้ไม่สามารถมีเพศสัมพันธ์กับพระนางมารี อังตัวเนตได้ ก่อ ให้เกิดข่าวลือและการเหยียดหยามตลอดจนการว่าร้ายความฟอนเฟะในราชสำนักอย่าง แพร่หลาย แม้ว่าในภายหลังพระเจ้าหลุยส์ฯจะทรงได้รับการรักษาและทรงมีรัชทายาทได้แต่ ความเสียหายได้กระจายไปจนทั่วแล้ว

(ระบอบอำมาตย์ของไทยและบริวารทั้งที่เป็นข้าราชการและนักการเมืองก็มีเรื่องให้เป็นข่าวลือมากมายสุดที่จะบรรยาย...Pegasus)


4. ความแพร่หลายของความคิดใหม่ในศตวรรษที่ 18 ที่ถือกันว่าเป็นยุคแห่งความรอบรู้และเหตุผล ซึ่งกระแสความคิดเช่นนี้เองท้าทายความเชื่อเดิมเรื่องอำนาจของศาสนจักรและกษัตริย์

จิต ใจของประชาชนเอนเอียงออกจากฐานันดรของฝ่ายปกครองมากขึ้นเรื่อยๆ ระบบคิดทางวิทยาศาสตร์ให้ความสำคัญกับการค้นคว้าหาเหตุผลด้วยตัวเองและไม่ เชื่อในสิ่งที่ผู้อื่นบอกเล่าเสมอไป

ประเพณีเดิมที่ส่งเสริมให้ เชื่อศาสนจักรและกษัตริย์จึงเริ่มถูกท้าทายขึ้นเรื่อยๆในความคิดของคนทั่วไป สิ่งนี้ถือได้ว่าเป็นการปฏิวัติที่เริ่มต้นจากความคิดนั่นเอง

การ ที่ทุกคนมีเหตุผลได้ การเรียกร้องความเท่าเทียมกัน การไม่เชื่อ ไม่นับถือสถานะพิเศษใดๆ จึงเกิดขึ้นอย่างกว้างขวางก่อนที่จะเกิดการปฏิวัติขึ้นจริงๆ และกลายเป็นอันตรายต่ออภิสิทธิชนในที่สุด

เพราะประชาชนเชื่อเสียแล้วว่ามนุษย์เกิดมาไม่แตกต่างกัน แนวความคิดของวอลแตร์ มองเตสกิเออร์ และสงครามประกาศอิสรภาพอเมริกันซึ่งอยู่ในสมัยปลายกรุงศรีอยุธยา กระตุ้นให้ชาวยุโรปตื่นตัวในเรื่องเสรีภาพ มาควิส เดอ ลา ฟาแยตต์นำความนิยมในระบอบประชาธิปไตยจากการประกาศอิสรภาพอเมริกันมาเผยแพร่

มองเตสกิเออร์

{ มองเตสกิเออร์(1689-1755) เจ้า ของแนวคิด การแบ่งและคานอำนาจระหว่าง นิติบัญญัติ บริหารและตุลาการ เพื่อมิให้ฝ่ายใดมีอำนาจกดขี่ได้ อำนาจทั้งสามไม่ควรอยู่ในมือคนๆเดียวหรือคณะเดียวแต่เป็นการถ่วงดุลระหว่าง กษัตริย์ ขุนนางและประชาชนโดย มองเตสกิเออร์เห็นว่าขุนนางควรมีอำนาจออกและยับยั้งกฎหมายร่วมกับสภาจาก ประชาชน รวมถึงการกำหนดงบประมาณแต่ไม่ควรเข้ามาทำงานด้านอำนาจบริหาร ส่วนกษัตริย์ไม่มีอำนาจออกกฎหมายมีแต่อำนาจยับยั้ง แต่สภาก็ยังตรวจสอบได้ว่าการใช้อำนาจบริหารเป็นอย่างไร กล่าวหาและเอาผิดที่ปรึกษาของกษัตริย์และเสนาบดีในฐานะฝ่ายบริหารแทน กษัตริย์ได้

(แนวคิดนี้สหรัฐอเมริกาได้นำไปใช้มากเรียกว่าระบบถ่วงดุลอำนาจ...Pegasus)


ใน ส่วนของเสรีภาพนั้นเห็นว่าเสรีภาพคือการที่จะทำในสิ่งที่ต้องการและไม่ บังคับให้กระทำในสิ่งที่ไม่ต้องการ จะต้องมีกฎหมายมาเป็นคนกลางกำหนดว่า ประชาชนควรทำหรือไม่ควรทำอะไร เพื่อมิให้เสรีภาพของคนหนึ่งไปรบกวนเสรีภาพของคนอื่น และระบบกฎหมายนี้จะไม่เกิดกับระบอบทรราชที่ใช้กำลังอำนาจทำให้ประชาชนหวาด กลัว

(แนวคิดนี้สหรัฐอเมริกาและบางประเทศในยุโรปถือว่า มนุษย์มีเสรีภาพจะทำอะไรก็ได้ ตราบเท่าที่ไม่ไปรบกวนเสรีภาพของผู้อื่น รัฐจะเข้ามายุ่งกับประชาชนให้น้อยที่สุดเท่าที่จำเป็น...Pegasus)


วอลแตร์

วอลแตร์ (1694-1778) เป็นนักเหตุผลนิยม และใช้วิทยาศาสตร์ในการวิจารณ์ประวัติศาสตร์ ชักชวนให้ประชาชนใช้หลักเหตุผลในการวิเคราะห์สิ่งต่างๆดังตัวอย่าง จดหมายจากอังกฤษ ดังนี้ จดหมายจากอังกฤษ (หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า จดหมายปรัชญา) ซึ่งเป็นผลงานชิ้นแรกที่สร้างชื่อให้วอลแตร์นั้น เขียนในรูปจดหมายสมมุติ ๒๕ ฉบับ เนื้อหาเล่าถึงสังคมอังกฤษผ่านสายตาของผู้เขียน โดยที่วอลแตร์ใช้สังคมดังกล่าว เป็นเครื่องกระตุ้นให้ผู้อ่านคิดเปรียบเทียบกับสังคมฝรั่งเศส จึงเป็นธรรมดาที่ดินแดนอังกฤษ ตามบทพรรณนาในจดหมาย จะเลอเลิศไปด้วยเสรีภาพในการนับถือศาสนา ความสมดุลของอำนาจทางการเมือง สภาพปลอดอภิสิทธิในที่ดิน ความเสมอภาคในการเสียภาษี ฯลฯ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนตรงกันข้ามกับสภาวะที่เป็นอยู่ในฝรั่งเศส (และแน่นอนว่า ผู้เขียนจดหมายย่อมมองข้ามข้อบกพร่องทั้งหลาย ของสังคมอังกฤษ เพื่อขับเน้นแต่ด้านที่เป็นอุดมคติ) วอลแตร์ได้สอดแทรกการโจมตีการเอารัดเอาเปรียบประชาชน ในระบอบศักดินาเอาไว้ไม่น้อย เราลองมาฟังตัวอย่างคารมของเขาดังต่อไปนี้

"สามัญชนอันเป็นคนจำนวนมากที่สุด มีคุณธรรมที่สุด และควรแก่การเคารพยกย่องที่สุด อันประกอบไปด้วยผู้ศึกษากฎหมาย และวิทยาศาสตร์ พ่อค้า ช่างฝีมือ และชาวนา ผู้ประกอบอาชีพอันสูงส่งแต่ไร้เกียรติ สามัญชนเหล่านี้ เคยได้รับการเหยียดหยามจากเจ้า และพระราวกับว่าเป็นสัตว์ (...) ต้องใช้เวลานับเป็นศตวรรษทีเดียว ที่จะสร้างความยุติธรรมให้แก่มนุษยชาติ ในอันที่จะทำให้ประจักษ์ว่า เป็นความสยดสยองยิ่ง ที่คนส่วนใหญ่เป็นผู้หว่านไถ แต่คนส่วนน้อย เป็นผู้ชุบมือเปิบเอาพืชผลนั้นไป" }

(สังคมไทยปัจจุบัน ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างมากมาย แสวงหาข้อมูลและเหตุผลต่างๆอย่างเอาเป็นเอาตาย เกิดโรคตาสว่างระบาดโดยทั่วไป มีการค้นคว้าหาคำตอบจากอินเตอร์เนท การสื่อสารทางเลือก ดาวเทียม วิทยุชุมชนและจากการพบปะพูดคุยอย่างกว้างขวางและทุกหนทุกแห่ง ประชาชนไม่ยอมเชื่อฟังผู้ที่อ้างว่าตนเองมีคุณธรรมหรือมีบุญแบบพระและ กษัตริย์ในยุโรปอีกต่อไป...Pegasus)


มองเตสกิเออร์และวอลแตร์ เป็นสองผู้มีอิทธิพลต่อการปฏิวัติฝรั่งเศสเป็นอย่างมาก จากแนวคิดดังกล่าวส่งผลให้เกิดการเรียกร้องสิทธิของพลเมืองและการปฏิวัติตาม มา

(แนวความคิดของ จอห์น ล๊อค ว่าด้วยเรื่อง ชีวิต เสรีภาพและทรัพย์สินและ จัง จาค รุสโซ ว่าด้วยสัญญาประชาคมก็มีความสำคัญไม่น้อย...Pegasus)


การปะทะกันเริ่มในเดือนกรกฎาคม ค.ศ.1789 หลังจากตัวแทนฐานันดรที่ 3 ได้เริ่มการปฏิวัติในที่ประชุมสภาฐานันดรแล้ว พระเจ้าหลุยส์ฯได้ส่งทหารจำนวน 3 หมื่นนายมาล้อมกรุงปารีสและไล่รัฐมนตรี จ้าค เนกเกอร์ออก

(ของไทยกองกำลังทหารในแต่ละกองทัพ คำนวณจากแถลงการณ์ว่ามีขั้นต้น 33 กองร้อย รวมแล้วจึงควรมีกำลัง 100 กองร้อยๆละ ไม่เกิน 150 คนรวมเป็นกำลังติดอาวุธ 15,000 คน แต่อาวุธทันสมัยกว่าสมัยฝรั่งเศสมาก แต่ประชาชนที่จะแปรสภาพเป็นมวลชนของไทยมีมหาศาลกว่ามาก...Pegasus)


ข่าวลือเรื่องกษัตริย์จะใช้กำลังทหารสลายการประชุมสมัชชาแห่งชาติก็ทำให้ เกิดความโกลาหล เฉพาะในหมู่ชาวปารีสหัวรุนแรง ที่เรียกว่าพวกซองกูลอต (sans-culottes) ได้มีการปล้นปืนมาได้จำนวน 28,000 กระบอก แต่ขาดดินปืน

ในวันที่ 14 กรกฎาคม ค.ศ. 1789 จึงยกขบวนประมาณ 800 คนไปที่คุกบาสตีย์ (Bastille) ซึ่งใช้เป็นที่ขังนักโทษการเมือง เหตุการณ์การทลายคุกบาสตีย์ (Fall of the Bastille) นี้ซึ่งต่อมาถือเป็นวันเริ่มต้นเหตุการณ์ปฏิวัติฝรั่งเศสเป็นวันชาติ ฝรั่งเศสในปัจจุบัน พร้อมกับธงไตรรงค์คือสีแดง น้ำเงิน และขาว เข้าฆ่าทหารในคุกด้วยมีดและหอก และนำหัวของผู้คุมคุกมาเสียบประจานบนหอก

ความ รุนแรงนี้สมาชิกสภาฐานันดรที่ 3ที่เรียกว่าสมัชชาแห่งชาติไม่ได้ห้ามปราม แต่ได้ให้การสนับสนุนและการเพิกเฉยนี้จะทำให้เกิดผลตามมาอีกมากมายในภายหลัง

ในวันเดียวกันนั้นพระเจ้าหลุยส์ฯเสด็จกลับมาจากการล่าสัตว์ มหาดเล็กได้ไปกราบทูลว่าเกิดเหตุที่คุกบาสตีย์
พระองค์ถามว่ามีกบฏใช่ไหม แต่มหาดเล็กทูลตอบว่าไม่ใช่ มันคือการปฏิวัติ


การ บุกคุกบาสตีย์ ทำให้การปฏิวัติไม่มีการหันหลังกลับ แต่เป็นการปลดปล่อยประชาชนออกจากอดีตและเป็นการโค่นล้มทรราช ประชาชนทำการพังคุกนี้ด้วยมือเปล่า ขนหินแต่ละก้อนออกมาเพื่อทำลายสัญลักษณ์แห่งการกดขี่ทั้งมวล

(ความสยดสยองเช่นนี้ไม่ควรเกิดขึ้นในไทย หากฝ่ายอำมาตย์ยอมรามือ...Pegasus)


หลังจากนั้นไม่กี่วัน ได้มีกฎหมายชื่อว่า คำประกาศแห่งสิทธิของมวลมนุษย์ ซึ่งประกอบด้วยหลักการสำคัญ 3 ข้อที่เป็นอุดการณ์ของการปฏิวัติฝรั่งเศส คือ เสรีภาพ (liberty) เสมอภาค (equality) และภราดรภาพ (fraternity)

เพื่อ ยกเลิกการมีชนชั้นลง ประกาศนี้ระบุว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนทั้งชาติ และไม่มีการกล่าวถึงระบอบกษัตริย์อีก เท่ากับว่าสมัชชาแห่งชาติได้ยึดอำนาจไว้กับกลุ่มของตนได้ ประกาศดังกล่าวย้ำข้อเรียกร้องฐานันดรที่ 3 เช่น มนุษย์เกิดมาเป็นอิสระ และมีสิทธิเท่าเทียมกัน การจับกุมกล่าวหาและหน่วงเหนี่ยวบุคคลใดๆจะกระทำได้เฉพาะตามที่กฎหมายกำหนด และทุกคนต้องเสียภาษีตามสัดส่วนของรายได้ที่ได้รับ ชาวฝรั่งเศสต้องการให้กษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ มีการปกครองที่มีเหตุผล และมนุษย์มีเสรีภาพโดยเท่าเทียมกัน โดยเฉพาะเสรีภาพของสื่อมวลชนที่ถูกปิดปากมาโดยตลอด

(เป็นความหวังของประชาชนไทยเมื่อประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ได้เกิดขึ้น...Pegasus)


ขณะนั้นนายแพทย์ที่ผิดหวังกับสังคม มีชื่อว่า ฌัง ปอล มารา ซึ่ง ต่อมาได้ทำหนังสือพิมพ์และเป็นนักปลุกระดมอารมณ์ร้าย 5 ตุลาคม 1789 ทำให้ผู้หญิงแม่ค้าขายปลาที่แข็งแรงมากม าชุมนุมด้วยความโกรธแค้นว่า ขาดแคลนขนมปัง ขณะที่ในวังมีการจัดงานเลี้ยงจึงได้มาที่วังพร้อมปืนและหอก เพื่อถวายข้อเรียกร้องต่อพระราชา โดยมีคนมาล้อม 2 หมื่นคนเรียกร้องให้กษัตริย์กลับไปกรุงปารีส และเมื่อไม่ได้สิ่งที่ต้องการ ผู้หญิงก็บุกเข้ามาเพื่อปลงพระชนม์พระนาง มารี อังตัวเนต เมื่อพบทหารก็ฆ่านำมาเสียบปลายหอก 6 ตุลาคม 1789 ฝูงชนหกหมื่นคนเข้ามาบังคับให้พระราชาและพระราชินีกลับมากรุงปารีสเพื่อแก้ ปัญหาเศรษฐกิจ พร้อมกับหัวของเหล่าทหารราชองครักษ์และข้าราชบริพาร ตามด้วยรถของพระราชา พระราชินี และกลายเป็นนักโทษในปารีสอย่างสิ้นเชิง และมีการปล้นเอาข้าวสาลีจำนวนมากออกจากพระราชวังแวร์ซายร์


เพื่อรักษาความสงบทั้งในเมืองและชนบทระหว่างที่ 5-11 สิงหาคม 1789 สภาร่างรัฐธรรมนูญแห่งชาติออกพระราชกฤษฎีกาหลายฉบับรวมเรียกว่า"พระราชกฤษฎีกาเดือนสิงหาคม" (August Decrees) ระบุถึงการยกเลิกระบบฟิวดัล ศาลต่างๆ มีการปรับปรุงกฎหมายอาญาโดยใช้หลักมนุษยธรรมมากขึ้นด้วยการยกเลิกการทรมานและตัดอวัยวะ

นับตั้งแต่เดือนมีนาคม ค.ศ. 1792 รัฐเริ่มนำเครื่องกิโยติน(guillotine) มาใช้เป็นเครื่องประหารเพื่อให้สิ้นชีวิตโดยเร็วและเจ็บปวดน้อยที่สุด สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญแห่งชาติต้องการให้คริสตจักรฝรั่งเศสพ้นจากการควบ คุมดูและของสำนักสันตะปาปาที่ปรุงโรม และประกาศใช้ พระราชบัญญัติธรรมนูญสงฆ์ในค.ศ. 1790 บังคับให้พระปฏิญาณว่าจะรับรองรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ของประเทศ

(ใน ยุโรปศาสนาจักรเกี่ยวข้องกับการเมือง ของไทยก็เห็นชัดเจนว่าได้เกิดขึ้นแล้ว และจะเป็นสาเหตุสำคัญของการล่มสลายของศาสนาด้วยในที่สุด...Pegasus)


พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ทรงเป็นบุคคลที่ยึดมั่นในศาสนา จึงไม่สบายพระทัยที่ต้องยอมรับพระราชบัญญัติธรรมนูญสงฆ์ ทรงวางแผนเสด็จหนีในวันที่ 20 มิถุนายน ค.ศ. 1791 ด้วยการปลอมตัวเป็นคนใช้และหนีห่างจากปารีสไป 100 ไมล์เกือบจะถึงออสเตรียในอีกไม่กี่ไมล์ แต่ก็ถูกเจ้าหน้าที่จับได้เมื่อถึงเมืองวาแรน (Varennes) ก็ทรงถูกจับ และถูกส่งกลับกรุงปารีส เพราะไม่มีใครคอยช่วยอีกต่อไป และอำนาจของพระมหากษัตริย์ก็หมดไป โรแบสปิแอร์ได้เข้ามามีอำนาจแทน

(จะ เห็นได้ว่าในการปฏิวัติทุกแห่งฝ่ายหัวรุนแรงจะได้รับการยอมรับ และมักจะนำมาซึ่งความพินาศเสมอ ของไทยก็เริ่มปรากฏร่องรอยแล้ว...Pegasus)


ฝรั่งเศสประกาศสงครามต่อออสเตรียซึ่งมีจักรพรรดิเป็นพระเชษฐาของสมเด็จพระ ราชินีมารี อังตัวเนต ในวันที่ 20 เมษายน ค.ศ. 1792 ในเดือนต่อมาปรัสเซียจึงประกาศสงครามต่อฝรั่งเศส นับเป็นการเริ่มต้น สงครามการปฏิวัติฝรั่งเศส (French Revolutionary Wars, ค.ศ. 1792 – 1799)

ในวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1792 ออสเตรีย-ปรัสเซียได้ออกแถลงการณ์บรันสวิก (Brunswick Manifesto) เพื่อขู่ฝรั่งเศสว่า ถ้ากษัตริย์ฝรั่งเศสตกอยู่ในภาวะอันตราย พันธมิตรจะโจมตีกรุงปารีสทันที

10 สิงหาคม ค.ศ. 1792 ฝูงชนจำนวนหนึ่งด้วยการถูกกระตุ้นดังกล่าว และกองกำลังป้องกันชาติแห่งกรุงปารีสได้พากันไปที่พระราชวังตุยเลอรี เกิดการปะทะกับทหารรับจ้างชาวสวิส มีผู้เสียชีวิต 800 คน ทหารรับจ้างชาวสวิสประมาณ 1,000 คน และพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ต้องเสด็จไปหลบภัยในสภาสมัชชาแห่งชาติ

แต่ระบอบกษัตริย์ได้จบสิ้น แล้วโดยพระเจ้าหลุยส์ฯได้ถูกถอดออกจากฐานันดรกษัตริย์อย่างเป็นทางการ ทหารรักษาพระองค์ที่เหลืออยู่ได้ถูกประหารด้วย กีโยตีนทั้งหมด พระราชวงศ์ถูกนำไปกักบริเวณที่เรือนจำเทมเปิล (Temple)

สภากงวองซิงยง (Convention) ซึ่งจัดตั้งขึ้นเพื่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เปิดประชุมครั้งแรกวันที่ 20 กันยายน ค.ศ. 1792 และในวันรุ่งขึ้นก็ประกาศล้มเลิกระบอบกษัตริย์ฝรั่งเศสจึงเข้าสู่สมัย สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 1 (First Republic of France) ชายฝรั่งเศสทุกคนที่อายุ 21 ปีขึ้นไปมีสิทธิออกเสียง

ในเดือน ธันวาคม ค.ศ. 1792 มีการพิจารณาไต่สวนความผิดของพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 พวกซองกูลอตถือว่าพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ต้องรับผิดชอบต่อการเสียชีวิตจำนวนมากของชาวฝรั่งเศสที่พระราชวังตุยเลอรี พระเจ้าหลุยส์สที่ 16 จึงถูกประหารด้วยกิโยตีนเมื่อวันที่ 21 ม.ค. 1793

(พวกจิโรแดงสายกลางไม่ต้องการให้ประหารชีวิตแพ้เสียงพวก จาโคแบงโดย โรแบส ปิแอร์ ฝ่ายหัวรุนแรง) และพระนางแมรี อังตัวเนทถูกประหารชีวิตด้วยกิโยตีน 16 ตุลาคม 1793 ด้วยข้อหาเป็นชู้กับพระโอรสซึ่งไม่มีใครเชื่อว่าเป็นความจริง)

สมัยแห่งความหวาดกลัว

สภากงวองซิยง (มี 12 ผู้ปกครอง) อ้างว่า สภาวะบ้านเมืองกำลังมีศึกทั้งภายนอกและภายใน จำต้องมีรัฐบาลปฎิวัติบริหารบ้านเมืองอย่างเฉียบขาด ซึ่งทำให้สังคมฝรั่งเศสปั่นป่วน และหวาดระแวงกันเองจนกลายเป็นช่วงเวลาของการมีชีวิตใน สมัยแห่งความน่าสะพรึงกลัว (Reign of Terror) ระหว่างมี.ค 1793 ถึงก.ค. 1794 มีประชาชนถูกประหารด้วย กีโยตีนนับพันคน

ช่วงเวลาแห่งความน่าสะพรึงกลัวสูงสุด (Great Terror) ของสมัยปฏิวัติฝรั่งเศสเกิดขึ้นเมื่อมีการออกกฎหมายเดือนมิ.ย. 1794 ระบุว่าศัตรูของประชาชนจะต้องถูกนำตัวขึ้นศาลปฏิวัติแห่งกรุงปารีส และถูกพิพากษาตามความพอใจของคณะลูกขุนมากกว่าหลักฐานอื่นใด จำเลยจะไม่ได้รับสิทธิของคำปรึกษา แก้คดีและคำตัดสินก็มีเพียงให้ปล่อยตัวหรือให้ประหารเท่านั้น(นักโทษ นักโทษการเมือง พระ ชนชั้นสูง)

ภายใน 9 สัปดาห์ที่ใช้กฎหมายนี้จำนวนพลเมืองที่ถูกศาลปฏิวัติตัดสินประหารมีจำนวน 1,600 คนสตรีถูกข่มขืนอย่างทารุณ การกระทำนี้ถูกประณามไปทั่วยุโรป

ความตายของมารา

ต่อ มาเมื่อ ฝ่ายจิโรแดงซึ่งมีตัวแทนพื้นเพมาจากรากหญ้าชนบทเห็นว่าการปฏิวัติจะนำไปสู่ ความรุนแรงมากเกินไป นายแพทย์นักหนังสือพิมพ์หัวรุนแรงคือ ฌัง ปอล มารา ได้โจมตีฝ่ายจิโรแดงอย่างรุนแรง เนื่องจากอิทธิพลในการใช้สื่อนำให้มีการประหารด้วยกีโยตีนมาไม่น้อยกว่าสอง รัอยศพ แล้วยังต้องการให้มีการประหารต่อไปด้วยข้อหาภัยต่อการปฏิวัติ ชาลอตต์ กอเดย์ หญิงสาวชาวชนบทได้รับทราบข่าวว่า เป็นหนังสือพิมพ์ชี้นำให้ฆ่าคนไม่เลิก เธอได้มาที่ปารีสพร้อมรายชื่อที่อ้างว่าผู้ทรยศ มาราหลงเชื่อจึงถูก ชาลอตต์ฯ แทงเสียชีวิตในอ่างอาบน้ำ และกล่าวโทษว่าหนังสือพิมพ์นี้เป็นต้นเหตุของการฆ่าคนบริสุทธิ์

ในการพิจารณาคดี เธอไม่ยอมสำนึกผิด โดยอ้างว่าต้องการสันติภาพ แต่เธอกลับทำให้มารากลายเป็นนักบุญ และสันติภาพไม่เคยได้มาอีกเลย

ชน ชั้นกษัตริย์ยังถูกประหารต่อไป แม้สมาชิกในสมัชชาฯก็ถูกประหารชีวิตคนแล้วคนเล่าและเกิดกบฏต่อต้านการ ปฏิวัติและการโจมตีจากประเทศในยุโรป คณะปฏิวัติยกเลิกสิทธิของประชาชน มีตำรวจลับทั่วไปโดยใช้กฎหมายพิเศษเมื่อ 17 กันยายน 1793 ทำให้มีการประหารชีวิต การปิดปากสื่อ มีการปรักปรำ และศพเกลื่อนกลาด แม้แต่คำพูดที่ดูเป็นการวิจารณ์ใดๆก็ตาม

(กฎหมายความมั่นคง และกฎหมายหมิ่นฯของไทยน่าจะคล้ายคลึงกัน...Pegasus)


ด้วย ศาลคณะปฏิวัติ โดยคณะกรรมาธิการเพื่อความปลอดภัยของสาธารณชนจำนวน 12 คน (กงวองซิยง) ดังกล่าวมาแล้ว นำโดยโรแบสปิแอร์ ศาสนจักร รูปนักบุญถูกทำลายและแทนที่ด้วยรูปปั้นของมารา ปฏิทินยกเลิกปฏิทินของศาสนาคริสต์ และต่อต้านศาสนาคริสต์ มีการสังหารหมู่กบฏและพระนับร้อยคนด้วยวิธีการต่างๆ

นโปเลียน

ต่อมากองทัพฝรั่งเศสนำโดยนายทหารชื่อ นโปเลียน โบนาปาร์ต ขับไล่อังกฤษออกไปได้ ทำให้สงครามสงบลง 5 กุมภาพันธ์ 1794 โรเบสปิแอร์ได้กล่าวว่าความกลัวและความดีงามขาดกันและกันไม่ได้ ดังตอง เพื่อนของโรเบสปิแอร์ และคนสนิทผู้นำในการต่อสู้ป้องกันประเทศถูกจับกุมและถูกประหารเป็นพันคน

ดัง ตองก่อนตายกล่าวว่า เสียใจที่ไปก่อนโรเบสปิแอร์ หลังจากนั้น ในหน้าร้อนเมื่อ 11 มิถุนายน 1794 เริ่มการปราบปรามใหญ่มีการประหารเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณถึง เดือนละกว่า 800 ครั้งในปารีส

มิถุนายน 1794 ได้มีพิธีแห่งความดีเลิศด้วยการใช้เหตุผล ทำให้สมาชิกสมัชชาเริ่มคิดว่า โรเบสปิแอร์เสียสติ ในวันที่ 27 มิถุนายน โรเบสปีแอร์ ได้ปราศรัยถึงภัยคุกคามว่า มีรายชื่อศัตรูใหม่ของการปฏิวัติ โดยจะนำมาเปิดเผยในวันรุ่งขึ้น ดังนั้นด้วยความกลัวว่าตัวเองจะมีชื่อ วันรุ่งขึ้น โรเบสปิแอร์จึงถูกจับ ในที่สุดแมกซิมิเลียน โรแบสปิแอร์ (Maximillen Robespierre) ผู้นำการปฏิวัติคนสำคัญถูกสภาประกาศให้เป็นบุคคลนอกกฎหมาย

หลังจาก พยายามฆ่าตัวตายจนบาดเจ็บสาหัส ต่อมาจึงถูกประหารด้วยเครื่องกิโยตินในวันที่ 28 ก.ค. 1794 ก็นับเป็นการสิ้นสุดสมัยแห่งความน่าสะพรึงกลัว

หลังจากนั้นอีก 5 ปีอำนาจได้ตกมาสู่นโปเลียน โบนาปาร์ต การปฏิวัติจึงสิ้นสุดลง

(หวัง ว่าประเทศไทยคงไม่เกิดเหตุการณ์เช่นเดียวกัน ถ้าฝ่ายประชาธิปไตยจะระมัดระวังด้วยเสียงของมวลชนจำนวนมหาศาลไม่ยอมให้ฝ่าย ซ้ายหรือฝ่ายหัวรุนแรงหรือขวาปฏิกิริยาเผด็จการทำลายล้างกระบวนการ ประชาธิปไตยได้ ไทยก็จะได้ประชาธิปไตยที่สมบูรณ์และน่าชื่นชม ไม่ต้องเสียเวลาทอดยาวออกไปอีก...Pegasus)



เนื้อหาต่อไปปรับปรุงจากบทความของปิยบุตร แสงกนกกุล เรื่อง Ultra-royalisteกับการฟื้นฟูและล่มสลายของกษัตริย์ฝรั่งเศส โดยนำมาเสนอเฉพาะเหตุการณ์สำคัญเพื่อให้เห็นการต่อสู้ระหว่างฝ่ายขวาจัดนิยม เจ้ากับฝ่ายประชาธิปไตยที่ต้องมีต่อมาอีกยาวนาน

คณะราษฎร์ ปฏิวัติ พ.ศ.2475

Ultra-royaliste หรือที่ท่านปรีดี พนมยงค์ แปลว่า "ผู้เกินกว่าราชา" คือ กลุ่มการเมืองที่มีแนวคิดนิยมเจ้าอย่างสุดโต่งในฝรั่งเศสมุ่งหมายจะรื้อฟื้น สถาบันกษัตริย์กลับมาใหม่ ต้องการให้กษัตริย์มีอำนาจมาก ทั้งในทางความเป็นจริงและในทางสัญลักษณ์ มุ่งให้อภิสิทธิ์แก่พวกขุนนางรายล้อมกษัตริย์ มองประชาชนเป็นเพียง "ข้าแผ่นดิน" (Sujet) มากกว่าเป็น "พลเมือง" (Citoyen) หลายกรณี พวก Ultra-royaliste เรียกร้องอำนาจและอภิสิทธิ์ให้กษัตริย์มากกว่าที่กษัตริย์ต้องการเสียอีก

(เสื้อเหลืองที่คุ้มคลั่งน่าจะจัดเป็นกลุ่มนี้ได้...Pegasus)


ภายหลังการล่มสลายของระบอบโบนาปาร์ต ฝรั่งเศสเข้าสู่ช่วงฟื้นฟูกษัตริย์ หลุยส์ที่ ๑๘ ขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๑๘๑๕ ในยุคนี้ คือ อำนาจอธิปไตยเป็นของกษัตริย์ กษัตริย์มีอำนาจการบริหารประเทศอย่างแท้จริงโดยทรงแต่งตั้งรัฐมนตรีเอง มี ๒ สภา คือ สภาขุนนางมาจากการแต่งตั้งของกษัตริย์ดำรงตำแหน่งตลอดชีพและสืบทอดตำแหน่ง ทางสายเลือด ส่วนสภาล่างมาจากการเลือกตั้งที่กำหนดให้เฉพาะผู้เสียภาษีมากๆเท่านั้นจึงจะ มีสิทธิเลือกตั้ง ประเมินกันว่าผู้มีสิทธิเลือกตั้งเป็นจำนวนเพียง ๑ ใน ๒๐๐ ของประชาชนทั้งประเทศ

(สรุปคือชนชั้นนำ ชนชั้นสูงที่เป็นมิตรกับระบอบกษัตริย์ ของไทยก็คงเป็นกลุ่มข้าราชการเก่า หรือชนชั้นนำ ทุนผูกขาดต่างๆที่อิงแอบกับอำมาตย์ โดยสังเกตง่ายๆจากกลุ่มสนับสนุนเหลือง และต่อต้านการถวายฎีกา...Pegasus)


กลุ่ม Ultra-royaliste ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในยุค Restauration ผ่านทางสภานิติบัญญัติซึ่งประกอบไปด้วยกลุ่มการเมืองนิยมเจ้าทั้งสิ้น

(เปรียบเทียบเหมือนไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2490-94 ที่ได้มีการยึดอำนาจและเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญในสาระสำคัญใหม่หมดมาจนปัจจุบัน...Pegasus)


กลุ่ม Ultra-royaliste ออกกฎหมายลิดรอนเสรีภาพทางการเมืองและปราบปรามขั้วตรงข้ามทางการเมืองของตน

(ใช่กฎหมายหมิ่นฯ กฎหมายขององค์กรอิสระหรือไม่...Pegasus)


โดยเฉพาะการออกมาตรการความน่าสะพรึงกลัวสีขาว หรือ "Terreur blanche" (สีขาวเป็นสีของกษัตริย์ฝรั่งเศส) เพื่อทำลายกลุ่มนิยมสาธารณรัฐ กลุ่มนิยมระบอบโบนาปาร์ต และกลุ่มนิยมนิกายโปรเตสแตนท์

(ของไทยก็คงเป็นความน่าสะพรึงกลัวสีเหลืองที่ทำผิดร้ายแรงได้โดยไม่ต้องกลัวกฎหมาย...Pegasus)


มาตรการ Terreur blanche นำมาซึ่งการลอบสังหารนักการเมืองฝ่ายตรงข้าม

(คาร์บอมบ์...Pegasus)


การปิดสื่อ การจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลและเรียกร้องให้กษัตริย์มีอำนาจมากขึ้นภายใต้การ "อำนวยการ" ของกลุ่ม Ultra-royaliste

(การเมืองใหม่ทั้งระบบใช่เลยอย่าลืมว่าผู้นำเป็นนักประวัติศาสตร์...Pegasus)


๑ ปีผ่านไป หลุยส์ที่ ๑๘ จำเป็นต้องยุบสภาเพื่อลดความขัดแย้งทางการเมือง ผลจากความล้มเหลวของมาตรการ Terreur blanche ทำให้กลุ่ม Ultra-royaliste เสียที่นั่งในสภาให้กับกลุ่ม Royaliste libérale

(เปรียบเทียบได้กับไทยรักไทยเดิมหรือไม่...Pegasus)


เมื่อกลุ่ม Royaliste libérale เข้ามาเป็นรัฐบาล ก็รีบยกเลิกมาตรการ Terreur blanche ทันที และเร่งรัดออกกฎหมายปฏิรูปหลายฉบับ ต่อมา ๑๓ กุมภาพันธ์ ๑๘๒๐ Duc de Berry หลานของหลุยส์ที่ ๑๘ ถูกลอบสังหารหน้าโรงละครโอเปร่า พวกนิยมเจ้าเชื่อว่าการลอบสังหารนี้เป็นผลต่อเนื่องมาจากนโยบายของกลุ่ม Royaliste libérale ที่เอียงไปทางเสรีนิยมมากเกินไป จนทำให้ผู้นิยมสาธารณรัฐมีโอกาสตีโต้กลับ

ผลพวงของการตายของ Duc de Berry ทำให้กลุ่ม Ultra-royaliste กลับมาเป็นเสียงข้างมากในสภาอีกครั้ง และจัดการยกเลิกนโยบายเสรีนิยมทั้งหมด หันกลับไปออกกฎหมายเซ็นเซอร์สิ่งพิมพ์และกฎหมายจำกัดเสรีภาพของประชาชน กลุ่ม Ultra-royaliste ยังต้องการขจัดเสียงของกลุ่ม Royaliste libérale จึงออกกฎหมายอนุญาตให้ผู้เสียภาษีมากมีสิทธิเลือกตั้ง ๒ รอบ

(ของไทยคงใช้องค์กรอิสระดูจะได้ผลกว่า...Pegasus)


รอบแรกเลือกสมาชิกสภา ๒๕๘ คน จากนั้นผู้เสียภาษีมากที่สุดจำนวน ๑ ใน ๔ ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งเลือกอีก ๑๗๒ คนในรอบที่สองที่ทำเช่นนี้ก็เพราะว่าผู้มีสิทธิเลือกตั้งกลุ่มนี้สนับสนุน กลุ่ม Ultra-royaliste นั่นเอง

(เทียบได้กับ สว.ลากตั้งใช่หรือไม่...Pegasus)


๑๖ กันยายน ๑๘๒๔ หลุยส์ที่ ๑๘ เสียชีวิต กลุ่ม Ultra-royaliste ได้ผลักดันน้องชายของหลุยส์ที่ ๑๘ ขึ้นครองราชย์แทนในนามชาร์ลส์ที่ ๑๐ กลุ่ม Ultra-royaliste และชาร์ลส์ที่ ๑๐ ร่วมมือกันสร้างความชอบธรรมให้กับระบอบเก่าด้วยการรื้อฟื้นสัญลักษณ์ของ สถาบันกษัตริย์ก่อนปฏิวัติ ๑๗๘๙ กลับมาใหม่ ไม่ว่าจะเป็นพิธีราชาภิเษก การก่อสร้างอนุสาวรีย์พระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๖ ซึ่งโดนคณะปฏิวัติประหารด้วยเครื่องกีโยติน การออกกฎหมายชดเชยค่าเสียหายให้แก่เจ้าและขุนนางที่ได้รับผลกระทบจากการ ปฏิวัติฝรั่งเศส ๑๗๘๙ ซึ่งคำนวณกันว่าต้องใช้งบประมาณถึง ๖๓๐ ล้านฟรังค์ ตลอดจนการออกกฎหมายกำหนดโทษแก่ผู้หลบหลู่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ โดยเฉพาะผู้ที่ขโมยหรือทำลายสิ่งศักดิ์สิทธิ์จะมีโทษถึงประหารชีวิต นอกจากนี้ยังเพิ่มความเข้มงวดการเซ็นเซอร์สื่อและการจำกัดเสรีภาพการพิมพ์ อีกด้วย

(ยุคแห่งความกลัวฝ่ายกษัตริย์กลับมาอีกครั้ง...Peasus)



ด้วยปัญหาทางเศรษฐกิจบีบบังคับให้ชาร์ลส์ที่ ๑๐ ต้องยุบสภา (ปกครองด้วยวิธีการเผด็จการและขวาจัดมักจัดการบริหารไม่ได้เนื่องจากไม่สอด คล้องกับระบบอุตสาหกรรมสมัยนั้น) ผลการเลือกตั้งทำให้ได้สภาที่มีสมาชิกสายปฏิรูปมากขึ้น ชาร์ลส์ที่ ๑๐ จึงจำใจต้องตั้ง Martignac นักการเมืองนิยมเจ้าสายปฏิรูป เป็นหัวหน้ารัฐบาล การดำเนินนโยบายของรัฐบาลไม่เป็นที่สบอารมณ์ของชาร์ลส์ที่ ๑๐ และกลุ่ม Ultra-royaliste ที่เห็นว่ารัฐบาลโน้มเอียงไปทางเสรีนิยม

ในขณะที่ กลุ่มเสรีนิยมก็มองว่ารัฐบาลดำเนินนโยบายปฏิรูปแบบกระมิดกระเมี้ยน ในที่สุด Martignac จึงลาออกจากตำแหน่ง ชาร์ลส์ที่ ๑๐ ตัดสินใจตั้ง Prince de Polignac นักการเมืองกลุ่ม Ultra-royaliste ขึ้นเป็นหัวหน้ารัฐบาลแทน แต่ด้วยนโยบายแข็งกร้าว ทำให้อยู่ได้ไม่นานชาร์ลส์ที่ ๑๐ ก็ต้องยุบสภา

ผลการเลือกตั้งปรากฏว่าฝ่ายค้านได้สมาชิกสภาเพิ่มเป็น ๒๗๐ ที่นั่งจากเดิม ๒๒๑ ที่นั่ง ในขณะที่รัฐบาลเก่าได้เสียงลดลงเหลือ ๑๔๕ ที่นั่งจากเดิม ๑๘๑ ที่นั่ง ชาร์ลส์ที่ ๑๐ จึงตัดสินใจออกประกาศ ๔ ฉบับทันที ได้แก่ ประกาศยุบสภา (ห่างจากยุบสภาครั้งก่อนครั้งก่อนเพียง๗๐ วันและหลังเลือกตั้งไม่ถึงเดือน) ประกาศยกเลิกเสรีภาพการพิมพ์ ประกาศจำกัดผู้มีสิทธิเลือกตั้งให้เฉพาะคนที่เสียภาษีเกิน ๓๐๐ ฟรังค์และประกาศให้มีการเลือกตั้งใหม่ในเดือนกันยายน

กล่าวกันว่า ประกาศทั้ง ๔ ฉบับเสมือนเป็นการรัฐประหารโดยชาร์ลส์ที่ ๑๐ และกลุ่ม Ultra-royaliste ซึ่งสร้างความไม่พอใจแก่ประชาชนจำนวนมาก ในที่สุดนักหนังสือพิมพ์ กรรมกร ชนชั้นกฎุมพี จึงรวมตัวกันล้มล้างการปกครองของชาร์ลส์ที่ ๑๐ โดยใช้เวลาเพียง ๓ วัน ตั้งแต่ ๒๗ – ๒๙ กรกฎาคม ๑๘๓๐

เมื่อพระเจ้าชาร์ลส์ที่ ๑๐ ถูกเนรเทศ กลุ่มการเมืองนิยมเจ้าสายปฏิรูปยืนยันให้มีกษัตริย์ต่อไป แต่ต้องการกษัตริย์ประนีประนอม ไม่เอนเอียงไปกับกลุ่ม Ultra-royaliste เพื่อปูทางปฏิรูปประชาธิปไตย จึงตัดสินใจเอาเจ้าสายราชวงศ์ออร์เลอองอย่างหลุยส์ ฟิลิปป์ขึ้น เป็นกษัตริย์พร้อมกับออก Charte ลงวันที่ ๑๘๓๐ ใช้เป็นธรรมนูญการปกครองแทน โดยลดอำนาจของกษัตริย์ไม่ให้มีอำนาจในการเสนอกฎหมาย และให้อำนาจอธิปไตยเป็นของชาติ

เราเรียกยุคนี้ว่า " Monarchie de Juillet" เพราะเหตุการณ์ที่ประชาชนร่วมกันขับไล่พระเจ้าชาร์ลส์ที่ ๑๐ เกิดขึ้นในเดือนกรกฎาคม (Juillet) นั่นเอง

(เป็นการ ตัดสินใจนำอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนกลับมาอีกครั้งหนึ่ง หลังจากพลาดท่าเพราะมีการปฏิวัติที่หวาดกลัวสมัย แมกซิมิลเลียน โรแบสปิแอร์...Pegasus)


รัฐบาลเริ่มนโยบายก้าวหน้าขึ้น ตั้งแต่การยกเลิกระบบสืบทอดตำแหน่งสภาขุนนางทางสายเลือด

(ของไทยเปรียบเทียบเป็นระบบลากตั้ง หรือข้าราชการ หรือกลุ่มอนุรักษ์ กลุ่มจารีต ทุนผูกขาด...Pegasus)


การ ขยายสิทธิเลือกตั้งและสมัครรับเลือกตั้งออกไป (ผู้มีสิทธิเลือกตั้งต้องเป็นผู้ชายอายุ ๒๕ ปีขึ้นไปและเสียภาษีเกิน ๒๐๐ ฟรังค์ จากเดิมที่ให้เฉพาะผู้ชายอายุ ๓๐ ปีขึ้นไปและเสียภาษีเกิน ๓๐๐ ฟรังค์ ส่วนผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งก็เปลี่ยนเป็นผู้ชายอายุ ๓๐ ปีขึ้นไปและเสียภาษีเกิน ๕๐๐ ฟรังค์ จากเดิมต้องเป็นผู้ชายอายุ ๔๐ ปีขึ้นไปและเสียภาษีเกิน ๑๐๐๐ ฟรังค์)

การยกเลิกการปิดกั้นเสรีภาพ ในการพิมพ์ ศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิกไม่เป็นศาสนาประจำชาติอีกต่อไป ตลอดจนการนำธงไตรรงค์ "น้ำเงิน ขาว แดง" จากเดิมที่มีแต่สีขาว มาใช้เป็นธงประจำชาติแม้หลุยส์ ฟิลิปป์จะได้การยอมรับจากประชาชนมากถึงขนาดที่ชาวฝรั่งเศสขนานนามว่าเป็น "กษัตริย์ของพลเมือง" แต่การดำเนินนโยบายของรัฐบาล Guizot ก็ยังโน้มเอียงไปทางอนุรักษ์นิยมอยู่มาก

ประกอบ กับวิกฤติเศรษฐกิจในช่วงปี ๑๘๔๖ ถึง ๑๘๔๘ และอุดมการณ์ประชาธิปไตยตลบอบอวล ยิ่งกระตุ้นให้กลุ่มนิยมสาธารณรัฐเริ่มรวมตัวจัดตั้งองค์กรปฏิวัติกษัตริย์ ด้วยการจัดงานเลี้ยงตามหัวเมืองใหญ่ๆเพื่อรณรงค์ทางการเมือง เช่น การเรียกร้องให้ขยายสิทธิเลือกตั้งออกไปให้ทั่วถึงไม่ใช่จำกัดเฉพาะผู้เสีย ภาษีมาก

การชุมนุมทางการเมืองเริ่มขยายตัวกว้างขวางขึ้น รัฐบาล Guizot ไม่สนองตอบต่อข้อเรียกร้อง ตรงกันข้ามกลับปราบปรามการชุมนุม ยิ่งทำให้คะแนนนิยมตกต่ำลง

กว่าหลุยส์ ฟิลิปป์จะตัดสินใจเปลี่ยนหัวหน้ารัฐบาลและสัญญาว่าจะดำเนินการปฏิรูปให้เข้ม ขึ้นก็สายเกินไปเสียแล้ว ในที่สุด กลุ่มนิยมสาธารณรัฐได้โอกาสเข้ายึดอำนาจจากหลุยส์ ฟิลิปป์ และประกาศให้ฝรั่งเศสเป็นสาธารณรัฐเมื่อวันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๑๘๔๘

ฝรั่งเศสเข้าสู่สาธารณรัฐที่ ๒ ได้ไม่นาน หลุยส์ นโปเลียน หลานของนโปเลียน โบนาปาร์ตขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี และจัดการรวบอำนาจไว้กับตนเอง เปลี่ยนกลับไปปกครองแบบจักรวรรดิเหมือนโปเลียน

(สมัยปัจจุบัน ระบอบนโปเลียนฯ อาจถือได้ว่าเป็นรูปแบบของเผด็จการทหารได้...Pegasus)


พร้อม กับตั้งตนเป็นจักรพรรดิตลอดชีพในนาม นโปเลียนที่ ๓ จักรวรรดินี้ดำรงอยู่ได้ ๑๘ ปี จนกระทั่งเกิดสงครามกับปรัสเซีย นโปเลียนที่ ๓ และจักรววรดิที่ ๒ ก็ล่มสลายไป

หลังนโปเลียนที่ ๓ พ่ายแพ้สงครามกับปรัสเซีย ฝรั่งเศสเปลี่ยนมาปกครองแบบสาธารณรัฐ ฝ่ายนิยมเจ้าเรียกร้องให้เพิ่มคำว่า "ชั่วคราว" ต่อท้ายคำว่า "สาธารณรัฐ" ในขณะที่ฝ่ายนิยมสาธารณรัฐก็เกรงว่าหากให้พวก Ultra-royaliste ปกครองประเทศก็หนีไม่พ้นการจำกัดเสรีภาพของประชาชนและเข้าข้างอภิสิทธิ์ชน ดังที่เคยเป็นมา

การต่อสู้ทางการเมืองระหว่างกลุ่มนิยมเจ้ากับกลุ่มนิยมสาธารณรัฐดำเนินไปอย่างเข้มข้น

(การ ต่อสู้ของไทยระหว่างกลุ่มนิยมเจ้า กับกลุ่มประชาธิปไตยก็เทียบเคียงได้โดยเปรียบเทียบได้ตั้งแต่ การยึดอำนาจครั้งแรกของฝ่ายนิยมเจ้าด้วยพรรคการเมืองและทหารในปี พ.ศ. 2490 และการยึดอำนาจทุกครั้งอำนาจของฝ่ายนิยมเจ้าจะเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ ...Pegasus)


อยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อว่าจะเลือกปกครองในระบอบใดระหว่างสาธารณรัฐหรือประชาธิปไตยที่มีกษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ

(ประเทศไทยอยู่ที่ว่าจะเป็นระบอบประชาธิปไตยแบบแอบแฝงเผด็จการหรือประชาธิปไตยเต็มใบ...Pegasus)


จนกระทั่งเกิดกรณี "ธงขาว" ซึ่งเริ่มจาก Comte de Chambord ออกมาเรียกร้องให้ฝรั่งเศสนำธงสีขาวที่มีดอกไม้สัญลักษณ์ประจำราชวงศ์บู ร์บ็อง (Fleur de lys) กลับมาใช้เป็นธงชาติแทนที่ธงไตรรงค์ ข้อเรียกร้องดังกล่าวเป็นสัญลักษณ์ปลุกให้กลุ่ม Ultra-royaliste กลับมาร่วมมือกันรื้อฟื้นสถาบันกษัตริย์อีกครั้ง

(ยัง ไม่มีการเรียกร้องให้ใช้ธงเหลืองแทนธงไตรรงค์ในไทย นับว่าปราณีอยู่มาก อย่างไรก็ตามกรณีธงขาว อาจเทียบได้กับกรณี สงกรานต์เลือดที่ฝ่ายใช้เสื้อเหลือง เสื้อฟ้า สร้างสถานการณ์และทำร้ายประชาชนโดยมีทหารคอยป้องกันไม่ให้หนีก็น่าคิดเช่น กัน...Pegasus)


ความจริงแล้ว แนวโน้มที่ฝรั่งเศสจะปกครองแบบประชาธิปไตยที่มีกษัตริย์เป็นประมุขก็ยังพอมี อยู่บ้าง ประชาชนบางส่วนยังคงถวิลหาให้กษัตริย์เป็นประมุขเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของ ประเทศและแสดงถึงความเป็น มาทางประวัติศาสตร์ ประธานาธิบดีแม็คมานเองก็มีแนวโน้มจะช่วยฟื้นฟูให้กษัตริย์กลับมาเป็นประมุข ของรัฐอีกครั้ง แต่ด้วยความแข็งกร้าวของ Ultra-royaliste โดยเฉพาะกรณี "ธงขาว" ซึ่งแสดงให้ เห็นว่าแม้เพียงเรื่องเท่านี้ พวก Ultra-royaliste ยังไม่ยอมประนีประนอม

(ของไทยเปรียบเทียบได้กับการค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตยยิ่งขึ้นอย่างหัวชนฝา...Pegasus)


หากปล่อยให้ Ultra-royaliste ครองอำนาจเห็นทีคงหนีไม่พ้นการปกครองแบบระบอบเก่าเป็นแน่ ดังนั้น Henri Wallon นักการ เมืองนิยมสาธารณรัฐจึงชิงตัดหน้าด้วยการเสนอร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ กำหนดว่า "ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐมาจากการเลือกโดยเสียงข้างมากเด็ดขาด

(เสียงเกินกึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกไม่ใช่องค์ประชุม...Pegasus)


ของวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร มีวาระ ๗ ปี และสามารถถูกเลือกได้อีกครั้ง"

ผลการลงมติเมื่อวันที่ ๓๐ มกราคม ๑๘๗๕ ปรากฏว่า ฝ่ายที่เห็นควรให้ฝรั่งเศสเป็นสาธารณรัฐเฉือนชนะไปอย่างหวุดหวิดด้วยคะแนน เสียง๓๕๓ ต่อ ๓๕๒ จากนั้นความนิยมในสถาบันกษัตริย์ก็ลดน้อยถอยลงตามลำดับ จนกลุ่มนิยมกษัตริย์ไม่มีโอกาสกลับมามีบทบาททางการ เมืองอีกต่อไป

(ถือ ว่าเป็นโชคดีของชาวฝรั่งเศส จะเห็นได้ว่าการเฉลิมฉลองวันปฏิวัติของฝรั่งเศสนั้น ชาวฝรั่งเศสจะแสดงออกถึงการรังเกียจกลุ่มหัวรุนแรงนิยมเจ้าอย่างรุนแรงเพราะ ประวัติศาสตร์ของฝรั่งเศสขมขื่นอย่างมาก...Pegasus)


เป็นอันว่าฝรั่งเศสเป็นสาธารณรัฐโดยเด็ดขาด และกลุ่ม Ultra-royaliste ก็ปลาสนาการไปจากเวทีการเมืองพร้อมๆกับสถาบันกษัตริย์

(ประเทศ ไทยคงจะหวังให้ได้ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข หวังว่าเหตุการณ์เสื้อเหลืองจะไม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเหมือนประเทศ ฝรั่งเศสในที่สุด สำหรับผู้ที่กล่าวถึงระบอบประธานาธิบดีบ่อยๆในทำนองใส่ร้ายป้ายสีฝ่าย ประชาธิปไตย ควรระวังว่าจะทำให้สาธารณชนสนใจศึกษาระบอบนี้มากขึ้น และจะนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงไปเป็นระบอบที่พูดถึงได้ในที่สุด การไม่พูดถึงเลยและพยายามรักษาสถาบันด้วยการกล่าวถึงแต่เพียงระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตรยิ์ทรงเป็นประมุขจะเหมาะสมกว่า...Pegasus)


การปฏิวัติฝรั่งเศส ค.ศ. 1789 ได้ปลุกกระแสการสร้างสำนึกทางสังคมและการเมืองให้แก่ชาวยุโรปในคริสต์ศตวรรษ ที่ 19 การปฏิวัติฝรั่งเศสมีอิทธิพลอย่างมากต่อการปฏิวัติในหลายประเทศ การปฏิวัติฝรั่งเศสเป็นการทำลายความอยุติธรรม และทดแทนด้วยความยุติธรรมที่ทุกคนคิดว่าดีกว่าและยังมีการแสวงหามาจน ปัจจุบัน การทดลองระบอบประชาธิปไตยของฝรั่งเศสได้ก่อให้เกิดระบอบประชาธิปไตยไปทั่ว โลกเพื่อเรียกร้องหา เสรีภาพ เสมอภาค และภราดรภาพด้วยการปฏิวัติ

สรุปแล้วการปฏิวัติฝรั่งเศสตั้งแต่ ๑๗๘๙-๑๘๗๕ ใช้เวลาทำให้ประชาชนตัดสินใจได้ในการยกเลิกระบอบกษัตริย์โดยสิ้นเชิงใช้เวลา ทั้งหมด ๘๖ ปี และการล่มสลายของระบอบกษัตริย์ในฝรั่งเศส เกิดจากกลุ่มนิยมสถาบันกษัตริย์อย่างบ้าคลั่งที่แอบอิง และอาศัยประโยชน์จากสถาบันพระมหากษัตริย์นั่นเอง ไม่ใช่จากประชาชนหรือใครอื่นใดเลย

ที่ สำคัญคือเหตุการณ์ต่างๆช่างคล้ายคลึงกับประเทศไทยในปัจจุบันจนเกือบเชื่อว่า ทุกอย่างจะลงเอยเช่นเดียวกัน สิ่งนี้ไม่เป็นที่พึงปรารถนาแต่ประการใด


--
http://www.prachataiboard1.info/board/id/50088
http://hotspotshield.com
http://99it.blogspot.com/p/blog-page_21.html
http://www.redshirtinternational.org
http://norporchorusa.com/html/media/npcusa_radios.html
http://www.unblockanything.com
http://www.youtube.com/watch?v=Dyw-L8JSE2U
http://sanamluang.tv
http://thaitvnews2.blogspot.com
http://112victims.org
http://nonlaw.7forum.net/forum-f1/topic-t1169.htm